Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

พจน์ สารสิน

พจน์ สารสิน
พจน์ใน พ.ศ. 2498
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 9
ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501[1]
(0 ปี 102 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(หัวหน้าคณะปฏิวัติ)
ถัดไปถนอม กิตติขจร
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
(2 ปี 253 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
จอมพลประภาส จารุเสถียร
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ถัดไปจอมพลประภาส จารุเสถียร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2493
(0 ปี 139 วัน)
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าแปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 26 กันยายน พ.ศ. 2500
(0 ปี 3 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้านายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
ถัดไปเสริม วินิจฉัยกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
(7 ปี 341 วัน)
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 – 7 มีนาคม​ พ.ศ. 2512
(1 ปี 26 วัน)
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าสุนทร หงส์ลดารมภ์
ถัดไปบุญชนะ อัตถากร
อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดำรงตำแหน่ง
14 มิถุนายน พ.ศ. 2509 – 9 เมษายน พ.ศ. 2512
(2 ปี 300 วัน)
ถัดไปศาสตราจารย์พิมล กลกิจ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
พจน์

25 มีนาคม พ.ศ. 2448
เมืองพระนคร
ประเทศสยาม
เสียชีวิต28 กันยายน พ.ศ. 2543 (95 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองสหประชาไทย
คู่สมรสศิริ โชติกเสถียร
บุตร
บุพการี

พจน์ สารสิน ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ภ.ป.ร. ๓ (25 มีนาคม พ.ศ. 2448 – 28 กันยายน พ.ศ. 2543) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 9 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังได้ลาออกเนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลเกี่ยวกับการรับรองรัฐบาลจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งประเทศเวียดนามใต้ และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา

ประวัติและครอบครัว

พจน์ สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2449 (นับแบบใหม่) ที่บ้านพักถนนสุรศักดิ์ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก เมืองพระนคร (ในปัจจุบันคือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้ สารสิน) กับคุณหญิงสุ่น สารสินสวามิภักดิ์ เริ่มศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ต่อจากนั้นถูงส่งไปเรียนที่สหรัฐ เมื่อกลับสู่ประเทศสยาม ได้ศึกษาวิชากฎหมายจนสอบได้เนติบัณฑิตไทยเมื่อปี พ.ศ. 2472 และศึกษาวิชากฎหมายต่อในประเทศอังกฤษ

โดยที่บิดา คือ พระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้; จีน: 黄天喜)[2] เป็นแพทย์ชาวจีนอพยพเชื้อสายไหหลำที่เดินทางมาอาศัยยังประเทศสยามตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2443 และรับราชการเป็นแพทย์หลวงประจำราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตระกูลสารสินถือเป็นตระกูลนักธุรกิจที่มั่งคั่งและมีชื่อเสียงตระกูลหนึ่ง และมีสายสัมพันธ์อันดีกับทางราชการมาโดยตลอด[3]

พจน์ สารสิน สมรสกับท่านผู้หญิงสิริ สารสิน (สกุลเดิม โชติกเสถียร) มีบุตรธิดาทั้งหมด 5 คน คือ เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองที่มีชื่อเสียง พลตำรวจเอกเภา สารสิน เป็นอดีตอธิบดีกรมตำรวจ บัณฑิต บุณยะปาณะ เป็นอดีตปลัดกระทรวงการคลัง อาสา สารสิน เป็นอดีตราชเลขาธิการใน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[4][5][6]

ชีวิตการเมือง

พจน์ สารสิน เริ่มบทบาททางการเมืองด้วยการสนับสนุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม โดยการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2490 และเข้าร่วมรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี พ.ศ. 2491[7] ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[8] แต่ภายหลังได้ลาออก[9] เนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลเกี่ยวกับการรับรองรัฐบาลจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งประเทศเวียดนามใต้

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2500 เวลา 23.00 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการให้เลิกประกาศกฎอัยการศึกในบางจังหวัด โดยทรงยกเลิกกฎอัยการศึกทั้งหมด 46 จังหวัด และให้คงกฎอัยการศึกไว้ทั้งหมด 26 จังหวัด จากทั้งหมด 72 จังหวัด โดยพจน์ สารสิน นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ[10]

ในปี พ.ศ. 2506 พจน์ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ[11]

งานระหว่างประเทศ

พจน์ สารสิน ขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐเอมริกา

ระหว่างปี พ.ศ. 2495-2500 พจน์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและทำหน้าที่ผู้แทนของประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.)

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พจน์ สารสิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500[12] หลังจากการทำรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภารกิจสำคัญของรัฐบาลคือจะต้องเร่งจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้บริสุทธิ์และยุติธรรมอันเป็นสิ่งที่ประชาชนเรียกร้อง และเป็นเหตุผลที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้เป็นข้ออ้างในการยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดเก่า หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว พจน์ สารสินก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ส.ป.อ. ตามเดิม หลังชีวิตราชการพจน์พำนักอยู่ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร และยุติบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิง [13]

ถึงแก่อสัญกรรม

พจน์ สารสิน ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2543 เวลา 11.40 น. ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร รวมอายุได้ 95 ปี 187 วัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

  • บุญพิสิฐ ศรีหงส์. “ถ้าเราไม่เริ่มกระทำในสิ่งที่ถูกกันแล้ว ก็คงจะไม่มีโอกาสทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไปในอนาคต.” ใน วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย (บรรณาธิการ), สารสิน: อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ นายพงส์ สารสิน. หน้า 106-179. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2564.

อ้างอิง

  1. นายกรัฐมนตรีไทย (พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) เก็บถาวร 2015-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 30 มิถุนายน 2557
  2. [泰国] 洪林, 黎道纲主编 (April 2006). 泰国华侨华人研究. 香港社会科学出版社有限公司. p. 17. ISBN 962-620-127-4.
  3. Chris Baker, Pasuk Phongpaichit. A History of Thailand. Cambridge University Press. p. 98. ISBN 0-521-81615-7.
  4. "Pao Sarasin dies at 83". Bangkok Post. 2013-03-08. สืบค้นเมื่อ 2013-03-30.
  5. "Former deputy PM Pao Sarasin dies". The Nation (Thailand). 2013-03-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-04. สืบค้นเมื่อ 2013-03-30.
  6. Menues chroniques d'un séjour en Thaïlande (1989-1992)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ลาออก โดยแต่งตั้ง จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และนายพจน์ สารสิน)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายพจน์ สารสิน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ แต่งตั้ง นายวรการบัญชา เป็นรัฐมนตรีว่าการ ฯ แทน)
  10. ราชกิจจานุเบกษา พระบรมราชโองการให้เลิกประกาศกฎอัยการศึก
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกรัฐมนตรี (นายพจน์ สารสิน) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอนพิเศษที่ 79ก วันที่ 21 กันยายน 2500
  13. "ชีวประวัติจากสำนักนายกรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-05.
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๔๑, ๗ มกราคม ๒๕๐๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๑๑๕, ๒๘ กันยายน ๒๔๙๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๗๗๗, ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
ก่อนหน้า พจน์ สารสิน ถัดไป
แปลก พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 9
(21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501)
ถนอม กิตติขจร
ประภาส จารุเสถียร
รองนายกรัฐมนตรีไทย
(9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514)
ประภาส จารุเสถียร
แปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2493)
นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
สุนทร หงส์ลดารมภ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512)
บุญชนะ อัตถากร
นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(23 – 26 กันยายน พ.ศ. 2500)
เสริม วินิจฉัยกุล
พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
(11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514)
ยกเลิกตำแหน่ง
สถาปนาตำแหน่ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(14 มิถุนายน พ.ศ. 2509 - 9 เมษายน พ.ศ. 2512)
ศาสตราจารย์พิมล กลกิจ
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9