Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่

ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(1 ปี 127 วัน)
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(0 ปี 334 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(0 ปี 15 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 ธันวาคม พ.ศ. 2488 (79 ปี)
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
พรรคการเมืองรวมไทย (2529–2531)
กิจสังคม (2531–2538)
ความหวังใหม่ (2538–2545)
ไทยรักไทย (2545–2550)
ประชาธิปัตย์ (2550–ปัจจุบัน)
คู่สมรสกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่
บุตรเดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่
แสงตะวัน ณ เชียงใหม่
บุพการีเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่
เต็ม ณ เชียงใหม่
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นหนุ่ย

ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ (ไทยถิ่นเหนือ: ) ชื่อเล่น หนุ่ย[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 5 สมัย อดีตรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นนักการเมืองที่เคยถูกกล่าวถึงว่าเป็นผู้มากบารมีคนหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่[2]

ประวัติ

ธวัชวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ นักธุรกิจเจ้าของโรงภาพยนตร์แห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ กับ เต็ม ณ เชียงใหม่ มีศักดิ์เป็นหลานลุงของ เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับยินดี ชินวัตร (มารดาของทักษิณ ชินวัตร, เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) [3][4]

ธวัชวงศ์ สมรสกับกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่[5] (สกุลเดิม: โกไศยกานนท์) มีธิดา 2 คน คือ เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และแสงตะวัน ณ เชียงใหม่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตะวันพันดารา จำกัด

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานการเมือง

เจ้าธวัชวงศ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง [6] ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคกิจสังคม จากนั้นจึงย้ายมาร่วมงานกับพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535/1 การเลือกตั้ง พ.ศ. 2535/2 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็น สส.ที่ได้รับคะแนนสูงที่สุด [7]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยตรงเป็นครั้งแรก และเจ้าธวัชวงศ์ ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนั้น โดยการสนับสนุนของ ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ได้คะแนน 399,160 คะแนน ต่อมาหลังชนะการเลือกตั้งเกิดความขัดแย้งในเรื่องพื้นที่เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ กับพายัพ ชินวัตร ส่งผลให้ธวัชวงศ์และครอบครัวได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย และในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2551 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกสมัย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จึงได้วางมือทางการเมืองชั่วคราว

เจ้าธวัชวงศ์ เข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งเมื่อสนับสนุนกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2555 และการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 เชียงใหม่ พ.ศ. 2556 ของภรรยา ในนามพรรคประชาธิปัตย์ [8]

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง

เจ้าธวัชวงศ์ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2532 และเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ในปี พ.ศ. 2535 [9] จนถึงปี พ.ศ. 2537 ในขณะดำรงตำแหน่งเขามีบทบาทในการผลักดันให้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการสร้างถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2537

ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา [10] โดยมีผลงานในการริเริ่มให้มีการจัดตั้งองค์กรสนับสนุนและพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2539 [11][12] จนเป็นที่มาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในปัจจุบัน รวมถึงนโยบายการให้แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรที่เกษียณอายุราชการได้ทำงานด้านบริการต่อในสถานพยาบาลของรัฐ เป็นการแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคคลกรทางการแพทย์[13]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ [14] มีผลงานที่สำคัญคือ การมอบนโยบายให้ธนาคารออมสินจัดทำโครงการนำร่องที่เรียกว่า โครงการ"บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ โดยยึดหลักศาสนาอิสลามหรือบัญชีเงินฝากที่ไม่ให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย"[15][16] ก่อนจะเป็นที่มาของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 เขาไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[17] ก่อนจะสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง ในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน

การดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง

เจ้าธวัชวงศ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ในการประชุมสามัญ ประจำปี 2534 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2534[18] และได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2541 เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2542[19] จนกระทั่งเขาลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2544[20]

งานด้านธุรกิจ

เจ้าธวัชวงศ์ เป็นผู้เริ่มก่อตั้งกิจการโรงแรมมีชื่อว่า "โรงแรมดวงตะวัน" (ปัจจุบันคือ โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน) ร่วมกับเจ้าบิดา และพี่สาว เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2533 และเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2536 ต่อมาได้ขายกิจการให้นายวัฒนา อัศวเหม ในปี พ.ศ. 2539 [21] นอกจากนั้น ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ ได้ประกอบกิจการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

งานด้านการศึกษา

เจ้าธวัชวงศ์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2521 ถึงปี พ.ศ. 2522 [22] และเป็นที่ปรึกษาสมาคมฯ ในปี พ.ศ. 2549 [23] นอกจากนั้น ยังได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 [24] ซึ่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยชุดแรก นับตั้งแต่ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ [25] จนถึงปี พ.ศ. 2552

งานด้านสังคม

เจ้าธวัชวงศ์ เป็นกรรมการมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ ชุดก่อตั้ง [26] ซึ่งเป็นมูลนิธิที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของฝ่ายเหนือ ในด้านของการร่วมงานสังคมในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือของธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ พบเห็นไม่บ่อยนัก

ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ มีส่วนสนับสนุนการผลักดันกฎหมายว่าด้วยสภาวิศวกรรม เพื่อจัดตั้งสภาวิศวกรขึ้น[27]

รางวัลและเกียรติยศ

เจ้าธวัชวงศ์ ได้รับพระราชทานยศนายกองโทแห่งกองอาสารักษาดินแดน [28]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. ว่าด้วยตระกูลการเมือง'ล้านนา'
  2. ระลึกชาติ "เจ๊แดง-บุญทรง" คู่กรรม(การเมือง)
  3. สายโลหิตของเจ้านายฝ่ายเหนือที่เหลืออยู่
  4. "คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-20.
  5. เปิดขุมทรัพย์“เจ๊แดง-กิ่งกาญจน์” VS “เจ๊แดง”นายกฯสำรอง
  6. รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529
  7. "จากเว็บไซต์ข้อมูลการเลือกตั้งกรมการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  8. "แม่แดง" ท้าชน "เจ๊แดง" ฐานการเงินแกร่ง 2 ตระกูลดังเชียงใหม่"
  9. คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 734/2535 เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่)
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 49 ราย)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนพิเศษ 29ง วันที่ 18 กรกฎาคม 2538
  11. ปาริชาต ศิวะรักษ์. กำเนิดกองทุน สสส. เก็บถาวร 2017-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2546. 112 หน้า ISBN 974-91446-3-5
  12. กรณีศึกษาการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[ลิงก์เสีย]
  13. จดหมายข่าวสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 49 ราย)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพิเศษ 44ง วันที่ 29 พฤศจิกายน 2539
  15. http://www.mof.go.th/home/Press_release/mofnews/26/news26.htm[ลิงก์เสีย]
  16. โครงการบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โดยยึดหลักศาสนาอิสลาม
  17. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
  18. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคความหวังใหม่เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค เล่ม 109 ตอนที่ 8 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2535
  19. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่เล่ม 116 ตอนพิเศษ 46ง วันที่ 2 กรกฎาคม 2542
  20. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหาร พรรคความหวังใหม่ เล่ม 118 ตอนพิเศษ 61ง วันที่ 29 มิถุนายน 2544
  21. โสภณ เกียรติเชิดแสงสุข. การศึกษาการดำเนินงานของ โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน เชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2555[ลิงก์เสีย]
  22. "มงฟอร์ตสาร ฉบับที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2556" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-25. สืบค้นเมื่อ 2014-06-30.
  23. "สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-03. สืบค้นเมื่อ 2014-06-30.
  24. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (จำนวน 12 ราย)
  25. "กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชุดที่ 1 (ปี พ.ศ. 2548 - 2552)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-17. สืบค้นเมื่อ 2016-08-07.
  26. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ"
  27. วสท. ผู้ก่อกำเนิด สภาวิศวกร
  28. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9