Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
ประสิทธิ์ ใน พ.ศ. 2495
ประธานรัฐสภาไทยและ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มิถุนายน พ.ศ. 2458
จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประเทศสยาม
เสียชีวิต14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (83 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสศิริเพ็ญ กาญจนวัฒน์
ลายมือชื่อ

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ (20 มิถุนายน พ.ศ. 2458 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542) อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา 5 สมัย เจ้าของฉายา โค้วตงหมง และเจ้าของวลี ยุ่งตายห่า

ประวัติ

ประสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2458 เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 5 คน ของหมื่นสุวรรณศิริพงษ์ (ติ๊ดเส่ง แซ่โค้ว หรือ ชัย กาญจนวัฒน์) กับส้มจีน แซ่เซียว[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง สมรสกับศิริเพ็ญ กาญจนวัฒน์ มีธิดา 1 คน

การทำงาน

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เริ่มชีวิตการทำงาน โดยการเป็นครูและครูใหญ่โรงเรียนอี้งฮุ้น (หวงหวน) ต่อมาได้เป็นข้าราชการกระทรวงเศรษฐการ เป็นเจ้าของสำนักงาน ทนายความมนูกิจ[2]

นอกจากนี้ ประสิทธิ์ยังมีตำแหน่งสำคัญๆในธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้แก่ กรรมการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ปี พ.ศ. 2496) กรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ปี พ.ศ. 2511) รองประธานกรรมการและกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ปี พ.ศ. 2519) และประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ปี พ.ศ. 2527)

ขณะเดียวกัน ประสิทธิ์ยังเป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ที่มีผลงานมากมาย ที่สำคัญได้แก่ เป็นผู้แปลเรียบเรียงหนังสือชื่อ เจียง ไค เช็ค ประมุขจีนใหม่ แปลรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียต และเขียนบทความเกี่ยวกับการเมืองลงหนังสือพิมพ์การเมืองอีกหลายเรื่อง รวมทั้งเป็นเจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์การเมืองชื่อ "การเมือง" อีกด้วย

งานการเมือง

ประสิทธิ์ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทราครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2489 แต่ได้รับเลือกตั้งครั้งแรก ใน พ.ศ. 2495 และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 5 สมัย

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ได้รับตำแหน่งทางการเมืองสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11 เป็นรัฐมนตรีสมัยแรกในปี พ.ศ. 2501 ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ[3] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2515

สังคมได้รับรู้มานานแล้วว่าฐานะของเขาเป็นพ่อค้าที่กว้างขวางและให้การสนับสนุนนักการเมืองจํานวนมาก อีกทั้งยังทราบกันดีว่าเขาเป็นตัวแทนของกลุ่มทุนธนาคารกรุงเทพที่เข้ามาเล่นการเมือง ซึงอาจจะทําให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกันได้ ด้วยความคลางแคลงดังกล่าวทําให้ภายหลังมีเสียงเรียกร้องอย่างมากจากประชาชนให้เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีพาณิชย์ แม้ประภาสจะแสดงความลําบากใจแต่ก็ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องและยังกล่าวอีกว่าตนให้การสนับสนุนประสิทธิ์อย่างเต็มที่

ในช่วงวิกฤตการณ์ข้าวในไทย เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) เมื่อเกิดภัยธรรมชาติทําให้ฝนแล้งทั่วโลก ประเทศส่งออกข้าวที่สําคัญหลายประเทศประสบปัญหาภัยแล้ง ทําให้เกิดภาวขาดแคลนข้าวทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยที่ผลิตข้าวได้น้อยลง ราคาข้าวภายในประเทศเริ่มเขยิบตัวสูงขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายนพ.ศ. 2515 (ค.ศ.1972) เป็นต้นมา และสูงขึ้นเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2516 (ค.ศ.1973) พร้อมกันนั้นได้พบว่าเริ่มมีการขาดแคลนข้าวเกิดขึ้นในบางพื้นที่

สถานการณ์ทั่วไปในเดือนสิงหาคมพ.ศ.2516 (ค.ศ.1973) พบว่า ราคาข้าวเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วกว่าเท่าตัว คนจนทั้งในเมืองและต่างจังหวัดต่างประสบความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอีก10% และราคาสินค้ายังชีพก็มีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั่นราคานํ้ามันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นยังส่งผลต่อราคาสินค้าอืนๆอีก นอกจากนี้การขึ้นค่าเงินเยนยังมีส่วนทําให้สินค้าเข้าแพงขึ้นด้วย แม้ปัจจัยเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อชาวนาน้อยมาก แต่สําหรับพ่อค้า นักศึกษาและชาวเมืองจะได้รับผลร้ายอย่างชัดเจน

ในกรณีของประสิทธิ์ และประภาส พบว่าเกียวข้องกับการกักตุนและส่งออกข้าว ส่วนณรงค์เองภายหลังก็พบว่าลักลอบส่งข้าวออกทางจังหวัดสตูลเป็นแสนกระสอบ

กล่าวโดยสรุป สาเหตุภายในของปัญหาข้าวเกิดจากปัญหาโครงสร้างอํานาจทางการเมืองที่ตัวแทนของทุนคือ ประสิทธิ์ กาญจนวัตน์ ได้เข้ามานั่งอยู่ในคณะรัฐมนตรี ภายใต้การคุ้มกันของผู้ทีมีอํานาจอันดับสองคือประภาส นีคือก้าวใหม่ของรัฐไทยที่ทุนเข้ามาเกี่ยวข้องกับอํานาจรัฐอย่างใกล้ชิด ทุนนั้นมีตรรกะที่ชัดเจนในการหาผลประโยชน์ดังนั้นจึงไม่สามารถต้านทานความต้องการที่จะหาประโยชน์จากสภาวะขาดแคลนที่เกิดขึ้นได้ เมื่อรัฐบาลตัดสินใจนําเอาองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งคือการใช้อํานาจของเผด็จการทหารมาใช้ โดยกตป.และมาตรา 17 ก็เกิดแรงกระตุ้นในการเข้ามาแก่งแย่งแสวงหาผลประโยชน์ โครงสร้างทางการเมืองดังกล่าวสะท้อนความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้นํา ซึงทําให้รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาข้าวได้ ดังนั้นแทนที่รัฐบาลจะได้รับการจัดการกับปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพกลับยิ่งทําให้เกิดผลเสียมากยิ่งขึ้น

สําหรับโครงสร้างอํานาจภายนอกนั้นในช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯมีปัญหา เราได้เห็นบทบาทของสหรัฐฯในการเข้ามาขอให้ไทยช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในยามที่สถานการณ์ข้าวของประเทศอยู่ในภาวะคับขัน แม้เราจะไม่รู้ว่าข้อเรียกร้องเหล่านั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่ แต่สิ่งที่สหรัฐฯได้กระทําไปส่งผลให้สถานการณ์ข้าวของไทยเลวร้ายลงอย่างแน่นอน

ปัญหาข้าวแพงเป็นที่มาของปัญหาเศรษฐกิจอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูง อันนํามาสู่การนัดหยุดงานซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่สําคัญคือวิกฤตข้าวเป็นปัญหาของกรุงเทพฯ ซึงภาพของการเข้าคิวซื้อข้าวถึง2 วัน การจํายอมซื้อข้าวราคาแพงจากตลาดมืด การขาดแคลนข้าวของภิกษุสงฆ์ได้บ่มเพาะความรู้สึกต่อต้านรัฐบาลทั้งนี้รัฐบาลได้แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่สามารถรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจและสังคมซึ่งทวีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ความล้มเหลวในการรับมือกับภาวะขาดแคลนข้าวและค่าครองชีพทีพุ่งสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของคนในสังคมโดยตรงนั้นทําให้ประชาชนเกิดความรู้ สึกที่ว่า ปัญหาของพวกเขาไม่ได้รับความใส่ใจจากรัฐบาล และเมื่อเกิดความคลางแคลงว่ามีผู้ที่อยู่ในแวดวงรัฐบาลได้ประโยชน์จากปัญหาทางเศรษฐกิจของพวกเขาส่งผลให้ความไม่พอใจที่มีต่อรัฐบาลยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีกกลายเป็นพลังทางสังคมอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งการแสดงตัวที่เป็นรูปธรรมที่เมื่อรวมเข้ากับกลุ่มนักศึกษาแล้วกลายเป็นคลื่นมหาชนที่ร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ

หลังจากนั้น ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[4] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี[5] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2522 ก่อนที่จะวางมือทางการเมืองในปี พ.ศ. 2527

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดฉะเชิงเทรา
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา[6]
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่สังกัดพรรคการเมือง[7]
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคสังคมชาตินิยม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคสังคมชาตินิยม

ถึงแก่อนิจกรรม

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งตับและลำไส้ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 สิริอายุรวม 83 ปี 239 วัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก กฤษณ์ สีวะรา พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์ นายมนูญ บริสุทธิ์ นายอภัย จันทวิมล นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์)
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-02.
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
ก่อนหน้า ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ถัดไป
บุญชนะ อัตถากร
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516)
ชาญชัย ลี้ถาวร
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9