ทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2492) เป็นนักการเมือง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานีอดีตรัฐมนตรี[1] ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในกรณี "พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว" ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์[2] นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็น 1 ใน 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถูกสังหารโหดเมื่อปี พ.ศ. 2492[3] ที่ ทุ่งบางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2492 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยสาเหตุทางการเมือง ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น นักการเมืองผู้ต่อสู้เพื่อชาวอีสานอย่างแท้จริงคนหนึ่ง สิริอายุ 42 ปี ประวัตินายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ที่บ้านหนองยาง ตำบลหัวเรือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรคนที่สามของนายชูและนางหอม มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 4 คน บิดามารดาประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย ทองอินทร์ใช้ชีวิตคู่สมรสกับ เจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ มีบุตรด้วยกัน 9 คน จึงมีความเกี่ยวดองเป็นเขยของตระกูลเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ในประเทศลาวด้วย การศึกษา
การรับราชการ
ตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือเป็นนายอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม หลังจากนั้นจึงลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2476 เพื่อมาสมัครเป็นผู้แทนราษฎรของ จังหวัดอุบลราชธานี และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2476[5][6][7] งานการเมือง
การเสียชีวิตในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคสหชีพ ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ ภายหลังการ รัฐประหารใน พ.ศ. 2490 และเหตุการณ์ กบฏวังหลวง นักการเมืองฝ่ายนายปรีดี ที่อยู่ในประเทศก็ถูกฝ่ายรัฐบาล ดำเนินการกวาดล้างอย่างหนัก ซึ่งรวมถึงนายทองอินทร์ด้วย นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถูกจับกุมพร้อมกับ อดีตรัฐมนตรีอีสานอีก 2 คน คือ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง รวมทั้ง ดร.ทองเปลว ชลภูมิ (หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรสายปรีดีที่ถูกจับมาในอีกคดีหนึ่ง) ก็ถูกนำตัวไปสังหารที่บริเวณทุ่งบางเขน ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 14 ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 โดย กรมตำรวจ ในเวลานั้นอ้างเหตุว่า มีโจรคอมมิวนิสต์มลายู มาชิงตัว 4 อดีตรัฐมนตรี และเกิดการต่อสู้ขึ้น จนทำให้ทั้ง 4 คน ถูกลูกหลงเสียชีวิตทั้งหมด แต่ไม่ใคร่จะมีใครเชื่อข้ออ้างดังกล่าวนัก เนื่องจากไม่มีตำรวจเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว ในเวลาที่นายทองอินทร์เสียชีวิตนั้น สิริอายุ 42 ปี เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น
|