กบฏสันติภาพ
กบฏสันติภาพ ชื่อเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จับกุมประชาชนจำนวนมาก โดยอาศัยอำนาจตามความในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 102, 104, 177, 181 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ในการจับกุมครั้งนี้ กรมตำรวจได้ออกแถลงการณ์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ได้จับกุมบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนถึง 104 คน
จากนั้นยังได้ทะยอยจับกุมประชาชนเพิ่มเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งถึงกลางปี พ.ศ. 2496 ก็ยังมีข่าวว่าได้จับกุม และสึกพระภิกษุที่เคยสนับสนุน และเผยแพร่สันติภาพอีก ที่มาของคำว่า "สันติภาพ"เนื่องเพราะผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังจำนวนหนึ่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2495 โดยมี นายแพทย์เจริญ สืบแสง เป็นประธานคณะกรรมการ นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ และพระมหาดิลก สุวรรณรัตน์ เป็นรองประธาน นาย ส. โชติพันธุ์ (สิบโทเริง เมฆประเสริฐ) เป็นเลขาธิการ ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านสงครามในคาบสมุทรเกาหลี ต่อต้านรัฐบาลสหรัฐอเมริกาซึ่งสนับสนุนสงครามเกาหลี และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยถอนตัวจากสงครามเกาหลี และกำลังเตรียมตัวเข้าร่วมประชุมกับนานาชาติในประเทศจีนเพื่อต่อต้านสงครามเกาหลี รายชื่อบุคคลที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสันติภาพบรรดาบุคคลที่เข้าร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสันติภาพฯ และถูกจับกุมในครั้งนี้ มีหลากหลายกลุ่ม ประกอบไปด้วยนักเขียนหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียง อาทิ
รวมถึงนักเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านรัฐบาล อาทิ
ต่อมาได้มีการจับกุมเพิ่มเติ่ม อาทิ
บรรดาผู้ที่ถูกจับกุมนั้น เป็นที่ทราบกันว่าเป็นผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล บางรายกำลังเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลอย่างลับ ๆ รวมถึงได้ร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยด้วย คดีนี้ อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหารวมทั้งสิ้น 54 ราย ศาลได้พิพากษาจำคุก บางราย 13 ปี บางราย 20 ปี และได้รับการประกันตัวและพ้นโทษตาม พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 ใน พ.ศ. 2500[1] ดูเพิ่ม
อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น |