ทินกร พันธุ์กระวี
นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก และเป็นประธานกรรมการและผู้ก่อตั้ง บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด[1] อดีตนายกสมาคมอัสสัมชัญ[2] ประวัติทินกร พันธุ์กระวี เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2461 เป็นบุตรของนายเจริญ กับนางแช่ม พันธุ์กระวี และเป็นน้องชายร่วมสายโลหิตของท่านผู้หญิง ละเอียด พิบูลสงคราม สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยสมัยเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญเขาได้รับทุนการศึกษาตลอดจนจบ ด้วยเหตุที่เขาได้เลขประจำตัว อสช ที่ 10000[3] พอดี จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทางวิศวกรรมเครื่องกล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2486 ด้านครอบครัว สมรสกับคุณหญิงวิบูลวรรณ พันธุ์กระวี มีบุตรด้วยกัน 4 คน การทำงานนาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี เข้ารับราชการในกองทัพอากาศ และเคยได้รับตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศ ประจำประเทศอังกฤษ และเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก 6 สมัย ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[4] สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และในการเลือกตั้งเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500[5] หลังจากนั้นจึงเว้นว่างทางการเมืองไปจนกระทั่งกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคชาติไทย และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2526 รวมทั้งสิ้น 6 สมัย ทินกร เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ครม.36)[6] ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ครม.37[7], ครม.38)[8] แต่คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อันมี พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้า ได้กระทำการยึดอำนาจ การปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519[9] จึงเป็นคณะรัฐมนตรีที่มีอายุสั้นที่สุดด้วยคือ 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง ทำให้ได้รับฉายาว่า "รัฐบาลวันเดียว" และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[10] ในปี พ.ศ. 2523 และถูกปรับมารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม.42) ในปี พ.ศ. 2524[11][12] ผลงานสำคัญนาวาอากาศโท ทินกร เป็นผู้ริเริ่มงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทย อาทิ โครงการชลประทานเขื่อนนเรศวร การรื้อฟื้นโครงการสนามบินหนองงูเห่า การผลักดันโครงการการพัฒนาพลังงานทดแทนและการประหยัดพลังงานของประเทศ การสร้างสถานีรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การจัดตั้งสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการสร้างเมืองวิทยาศาสตร์ ถึงแก่อนิจกรรมน.ท.ทินกร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เครื่องราชอิสริยาภรณ์นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
|