Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ประธานศาลฎีกา

ประธานศาลฎีกา
แห่งราชอาณาจักรไทย
ตราศาลยุติธรรม
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ชนากานต์ ธีรเวชพลกุล
ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ผู้เสนอชื่อคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระนับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งจนถึงอายุ 65 ปี
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร[1]
สถาปนาพ.ศ. 2417[1]
เงินตอบแทน138,090 บาท[2]

ประธานศาลฎีกา เป็นหัวหน้าของศาลฎีกา[3] และเป็นประธานคณะกรรมการหลายชุดที่บริหารศาลยุติธรรมของประเทศไทย[4]

ตำแหน่งนี้จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2417 เรียกว่า อธิบดีศาลฎีกา ผู้ดำรงตำแหน่งพระองค์แรก คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร[1] ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคือ ชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ใน พ.ศ. 2564 ประธานศาลฎีกาได้รับเงินตอบแทนรายเดือนอย่างน้อย 138,090 บาท[2]

ประวัติ

ใน พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ราชการศาลยุติธรรมได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมแก่กาลสมัยและก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ในเบื้องแรกได้มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแยกการศาลทางตุลาการออกเป็นสัดส่วนจากการบริหาร ได้ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พุทธศักราช 2477 ปรับปรุงศาลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พุทธศักราช 2451 และประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2455 โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา (ศาลสูงสุด) มีอธิบดีศาลฎีการับผิดชอบในงานของศาลฎีกา และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พุทธศักราช 2482 เปลี่ยนชื่อ "อธิบดีศาลฎีกา" เป็น "ประธานศาลฎีกา"

ตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาหรือตำแหน่งประธานศาลฎีกานี้ ไม่ใช่เป็นตำแหน่งแต่หัวหน้าส่วนราชการในศาลฎีกาเท่านั้น ยังเป็นประธานในราชการฝ่ายตุลาการและเป็นอิสระจากเสนาบดีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจวางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลทั้งหลาย เพื่อให้กิจการของศาลดำเนินไปโดยเรียบร้อยและเป็นระเบียบเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายบัญญัติ และมีเสียงอันสำคัญในการแต่งตั้งโยกย้ายและเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาทั้งกระทรวงด้วย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ได้ทรงเรียกตำแหน่งนี้ว่า "ประมุขตุลาการ" ในสมัยที่เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) เป็นอธิบดีศาลฎีกานั้น หนังสือพิมพ์ บางกอกไตมส์ [en] ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของชาวอังกฤษเรียกตำแหน่งนี้ว่า "Lord Chief Justice" ซึ่งแปลว่า ประมุขตุลาการ*

นับจากอดีตถือได้ว่า ประธานศาลฎีกา มีบทบาทอย่างสำคัญต่ออำนาจตุลาการของประเทศ เนื่องจากประธานศาลฎีกามีฐานะเป็นประมุขของฝ่ายตุลาการที่มีหน้าที่ในการคานและดุลกับอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ และนับจากวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา บทบาทของประธานศาลฎีกามีความโดดเด่นและชัดเจนยิ่งขึ้น[ต้องการอ้างอิง] จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 275 ได้บัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ บทบาทเบื้องต้นของประธานศาลฎีกาที่ชัดเจน ได้แก่ การรักษาตามพระราชบัญญัติสำคัญรวม 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "ประวัติความเป็นมา". ศาลฎีกา. กรุงเทพฯ: ศาลฎีกา. 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-25. สืบค้นเมื่อ 2565-10-04. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 ไอลอว์ (2564-07-31). "เปิดเงินเดือนและสวัสดิการผู้พิพากษาศาลยุติธรรม ชีวิตดีๆ บนภาษีประชาชน". ไอลอว์. กรุงเทพฯ: ไอลอว์. สืบค้นเมื่อ 2565-10-04. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "อำนาจหน้าที่ศาลฎีกา". ศาลฎีกา. กรุงเทพฯ: ศาลฎีกา. 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-25. สืบค้นเมื่อ 2565-10-04. ศาลฎีกามีเพียงศาลเดียว มีประธานศาลฎีกาเป็นหัวหน้าหน่วยงาน {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. สำนักงานศาลยุติธรรม, กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ (ม.ป.ป.). คู่มือติดต่อราชการศาลยุติธรรม ฉบับประชาชน. สำนักงานศาลยุติธรรม. pp. 18–19. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)

ดูเพิ่ม


Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9