Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี

ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลเอก ผิน ชุณหะวัณ
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
พันเอก นายวรการบัญชา
ถัดไปพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
พลโท ประภาส จารุเสถียร
สุกิจ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ
ถัดไปพลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลโท ประยูร ภมรมนตรี
ถัดไปหลวงเฉลิมคัมภีรเวชช์
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2500
ก่อนหน้าหลวงเทวฤทธิ์พันลึก
ถัดไปเฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443
ตำบลพระราชวัง อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
เสียชีวิต8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 (86 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคเสรีมนังคศิลา
คู่สมรสคุณหญิงสอาดจิตต์ ฤทธาคนี (แยกจากกัน)
ประดับ ฤทธาคนี
บุตร5 คน
ลายมือชื่อ

จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530) เป็นนายทหารและเป็นนักการเมือง อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ประวัติ

จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี มีนามเดิมว่า ฟื้น ฤทธาคนี เป็นบุตรของนายฟุ้ง ฤทธาคนีและนางพุดตาน ฤทธาคนี [1] ศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2452 สมัครเข้าโรงเรียนนายร้อย ประจำกรมทหารพราน และเป็นศิษย์การบินโรงเรียนการบินเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. 2456 เข้าประจำการกรมอากาศยาน กองทัพบก เมื่อ พ.ศ. 2457 ย้ายเหล่าทัพไปประจำกองทัพอากาศไทย ยศนายเรืออากาศเอก เมื่อ พ.ศ. 2470 และไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2477 [2]

รับราชการ

ช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 ขณะนั้นท่านมียศเป็น นาวาอากาศโท ขุนรณนภากาศ ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับฝูงบินพิบูลสงคราม นำเครื่องบินไปทิ้งระเบิดทำลายฐานทัพฝรั่งเศส ที่เมืองสตึงเตรง พระตะบองและเสียมราฐ [3] [4]

ช่วงปี พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2500 ท่านดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้สถาปนา"โรงเรียนนายเรืออากาศ" (ปัจจุบันคือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช) และก็เกษียณอายุราชการที่กองบัญชาการทหารสูงสุด ในปี พ.ศ. 2504

บทบาททางการเมือง

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระหว่างปี พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2498

เป็นรองนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2500[5] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ช่วงสั้นๆ ในปีพ.ศ. 2500 ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[6]

ถึงแก่อสัญกรรม

จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ได้ถึงแก่อสัญกรรมลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 สิริอายุ 86 ปี 137 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

หุ่นจำลอง จอมพลอากาศ ฟ. รณนภากาศ ฤทธาคนี

ยศทหาร

  • 10 ธ.ค. 2463 : นายร้อยตรี[7]
  • 8 พ.ค. 2469 : นายร้อยโท
  • 22 เม.ย. 2475 : นายร้อยเอก
  • 1 ธ.ค. 2479 : นายเรืออากาศเอก
  • 1 เม.ย. 2481 : นายนาวาอากาศตรี
  • 1 เม.ย. 2483 : นายนาวาอากาศโท
  • 19 มิ.ย. 2484 : นายนาวาอากาศเอก
  • 1 ม.ค. 2485 : พลอากาศตรี
  • 1 ม.ค. 2491 : พลอากาศโท
  • 7 ก.ค. 2493 : พลอากาศเอก
  • 16 เม.ย. 2495: พลเอก พลเรือเอก[8]
  • 20 ก.ค. 2497 : จอมพลอากาศ และเป็น"จอมพลอากาศ"คนแรกของกองทัพอากาศไทย[9][2][1]

หลักสูตรการทหาร

ไทย

ต่างประเทศ

  • พ.ศ. 2497 - หลักสูตรนักบินชั้นสูง และเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ของกองทัพอากาศสหรัฐ
  • พ.ศ. 2500 - หลักสูตรนักบิน กิตติมศักดิ์ ของกองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน
  • พ.ศ. 2500 - หลักสูตรนักบิน กิตติมศักดิ์ ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
  • พ.ศ. 2500 - หลักสูตรนักบิน กิตติมศักดิ์ ของกองทัพอากาศสหภาพพม่า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

สถานที่อันเนื่องด้วยนาม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ประวัติจาก กองบัญชาการทหารสูงสุด[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 "ประวัติ จากกองทัพอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-12-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.
  3. ประวัติศาสตร์การรบของกองทัพอากาศไทย
  4. "ประวัติการยุทธทางอากาศ กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๔". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-16. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.
  5. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  6. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
  7. "พระราชทานยศทหารบก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3149. 26 ธันวาคม 1920.
  8. "พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  9. "จอมพลอากาศคนแรกของกองทัพอากาศไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๑, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๕๖๔๖, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๒๐๕๒, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ เก็บถาวร 2022-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๓๕, ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๘๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๑๕, ๒๙ เมษายน ๒๔๘๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๙๑, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความส่งเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๙๓, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘ เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๓๙, ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๖๕๕, ๗ เมษายน ๒๔๙๖
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 74 หน้า 2279, 20 กันยายน 2498
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 36 หน้า 1118, 17 พฤษภาคม 2498
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 23 หน้า 932, 25 มีนาคม 2501
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9