Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

อนุสัญญาโตเกียว

อนุสัญญาโตเกียว
พิธีลงนามในอนุสัญญาสันติภาพโตเกียว 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ กรุงโตเกียว
ประเภทอนุสัญญา
วันลงนาม9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
ที่ลงนามโตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
ภาคี
ภาษาไทย และฝรั่งเศส

อนุสัญญาโตเกียว (อังกฤษ: Tokyo Convention, อนุสัญญาสันติภาพโตเกียว หรือ สนธิสัญญาโตกิโอ[1], เนื่องจากแต่ก่อนคนไทยเรียกกรุงโตเกียวว่ากรุงโตกิโอ) เป็นอนุสัญญาสืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทอินโดจีนในปี พ.ศ. 2484 ขณะที่การรบยังไม่สิ้นสุดนั้น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในเอเชียขณะนั้น ได้เข้ามาไกล่เกลี่ย ซึ่งไทยและฝรั่งเศสได้ตกลง และหยุดยิงในว้นที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ก่อนจะมีการเจรจากันในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2484[1]กรุงโตเกียว โดยมีนายโซสุเกะ มัดซูโอกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายไทยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศไทยเป็นหัวหน้าคณะ และฝ่ายฝรั่งเศสมี อาร์เซน อังรี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงโตเกียวเป็นหัวหน้า ก่อนจะมีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยมีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นหัวหน้าคณะลงนาม[2]

จากอนุสัญญานี้ทำให้ไทยได้ ดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบาง, จำปาศักดิ์, ศรีโสภณ, พระตะบอง และดินแดนในกัมพูชา คืนมาจากฝรั่งเศส และได้นำมาแบ่งเป็น 4 จังหวัดคือ จังหวัดพระตะบอง, จังหวัดพิบูลสงคราม, จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง[2]

รายละเอียดของอนุสัญญา[1]

หลักปักปันเขตแดนสยาม
  1. ให้ประเทศไทยได้รับคืนดินแดนทั้งหมดที่เสียให้ฝรั่งเศสตามสนธิสัญญา เมื่อ ร.ศ. 123 มณฑลบูรพาที่เสียไปใน ร.ศ. 126 ฝรั่งเศสจะคืนพระตะบองและศรีโสภณให้จนถึงทะเลสาบ แต่เสียมราฐและนครวัดยังเป็นของฝรั่งเศสอยู่
  2. ให้ถือร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดนในแม่น้ำโขง แต่เกาะโขงยังเป็นของอาณาเขตอินโดจีนฝรั่งเศส เกาะโคนตกเป็นของไทย ส่วนดินแดนเล็กๆบนฝั่งขวาของแม่น้ำตรงข้ามกับสะตรึงเตรง ซึ่งแต่เดิมสงวนไว้ให้ฝรั่งเศสนั้น ฝรั่งเศสยกให้ไทย
  3. ในทะเลสาบ รัศมี 20 กิโลเมตรจากจุดพรมแดนปัจจุบันระหว่างเสียมราฐกับพระตะบอง จดทะเลสาบ (ปากน้ำสะดึงกัมบด) ไปบรรจบจุดพรมแดนปัจจุบันระหว่างพระตะบองกับโพธิสัตว์จดทะเลสาบ (ปากน้ำตะตึงดนตรี) เป็นเส้นเขตแดน ทะเลสาบคนไทยและฝรั่งเศสทำการเดินเรือจับสัตว์น้ำได้โดยเสรี
  4. ในบรรดาดินแดนที่โอนให้แก่ประเทศไทยนั้นต้องปลอดทหาร คนฝรั่งเศสจะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกับคนไทย ยกเว้นการได้มาของอสังหาริมทรัพย์ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
  5. รัฐบาลไทยจะอำนวยความคุ้มครองให้แก่บรรดาที่บรรจุราชอัฐิของราชวงค์หลวงพระบาง ซึ่งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง และจะอำนวยความสะดวกต่างๆในการรักษาและเยี่ยมเยียนที่บรรจุอัฐินั้น
  6. ในการโอนอธิปไตยเหนือดินแดนที่ยกให้ไทยนั้น คนชาติฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ย่อมได้สัญชาติไทยทันที แต่ภายในเวลา 3 ปี คนชาติฝรั่งเศสจะเลือกเอาสัญชาติฝรั่งเศสไว้ได้โดย
    1. แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ปกครองผู้มีอำนาจ
    2. ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ในดินแดนฝรั่งเศส
  7. ประเทศไทยจะใช้เงิน 6 ล้านเปียสอินโดจีนแก่ฝรั่งเศส ในเวลา 6 ปี
  8. การขัดกันที่เกิดขึ้นระหว่างไทยและฝรั่งเศสในเรื่องตีความหรือการใช้บทแห่งอนุสัญญานี้ให้ตกลงกันด้วยการทูต ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ให้เสนอรัฐบาลญี่ปุ่นไกล่เกลี่ย
  9. ส่วนการถอนตัวและโอนดินแดนนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสจะมอบบัญชีรายการอสังหาริมทรัพย์สาธารณะที่มีอยู่ในดินแดนที่ยกให้พร้อมบัญชีรายนามผู้แทนฝรั่งเศสซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโอนนั้นแก่รัฐบาลไทยภายใน 20 วัน ส่วนรัฐบาลไทยจะมอบบัญชีรายนามผู้แทนฝ่ายไทยภายใน 20 วันเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดีอนุสัญญานี้ได้ถูกยกเลิกโดย ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส[3] (Accord de rėglement Franco-Siamois) ซึ่งทำที่กรุงวอชิงตัน เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2489 (ค.ศ. 1946) หรือที่รู้จักในชื่อ "Washington Accord"

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 ความเมืองเรื่องเขาพระวิหาร, ประหยัด ศ.นาคะนาท และจำรัส ดวงธิสาร
  2. 2.0 2.1 หมวดวิชาที่ 2 การทหารวิชาการสงคราม เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน http://www.officer.rtaf.mi.th เก็บถาวร 2008-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. ""ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-01-11.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9