สุบิน ปิ่นขยัน
สุบิน ปิ่นขยัน (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2477) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 3 สมัย อดีตรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทบวงมหาวิทยาลัย เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานกรรมการบริหารของ บมจ. เอ็มดีเอ็กซ์ และอดีตนายกสมาคมนักอุทกวิทยาไทย งานการเมืองสุบิน ปิ่นขยัน หรือ ดร.สุบิน ปิ่นขยัน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 เป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัยติดต่อกันในปี พ.ศ. 2529[2] และ พ.ศ. 2531 ในสังกัดพรรคกิจสังคม[3] จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[4] เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[5] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[6] ในช่วงที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ยึดอำนาจ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินนั้น นายสุบิน บุคคลที่ถูกยึดทรัพย์จำนวนมากที่สุดในบรรดานักการเมืองจำนวน 10 คน ที่ถูกตรวจสอบ คือ 608 ล้านบาท [7][8] งานวิชาการดร.สุบิน ปิ่นขยัน เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นที่ยอมรับในวงการวิศวกรรม จนได้รับตำแหน่ง อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1 ในสมัยแรก (พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546) และเป็นกรรมการสภาวิศวกร ในสมัยที่ 2 (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2549) ในปี พ.ศ. 2553 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ได้ถวายรางวัลแห่งหอเกียรติยศแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และศิษย์เก่าดีเด่นของสถาบันอีกจำนวน 11 คน ซึ่ง ดร.สุบิน ปิ่นขยัน เป็นหนึ่งในศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลแห่งหอเกียรติยศครั้งนี้ด้วย[9] งานธุรกิจดร.สุบิน ปิ่นขยัน เป็นประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภคพื้นฐาน และพลังงาน โดยมีโครงการหลักที่ดำเนินการ อาทิ โครงการนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ และโครงการด้านพลังงานไฟฟ้าต่างๆ[10] ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ศาลล้มละลายกลาง ได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทและตั้งบริษัท วิทยุ แพลนเนอร์ จำกัด เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ และสั่งให้เขาเป็นบุคคลล้มละลาย ในปี พ.ศ. 2547[11] และในปี พ.ศ. 2550 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2553 จึงถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย[12] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|