พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
พลเรือโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสพระองค์แรกในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติแต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ ทรงดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระประวัติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติแต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 หลัง ปีมะโรง ฉศก จ.ศ. 1266 ตรงกับวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 มีพระนามแรกประสูติว่า หม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภา มีพระโสทรภราดา 2 องค์ ได้แก่
- หม่อมเจ้าเกียรติ อาภากร ประสูติและสิ้นชีพตักษัยในวันเดียวกัน ประมาณปี พ.ศ. 2446
- พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508)
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ พระมารดาได้ปลงพระชนม์ชีพพระองค์เอง เนื่องจากทรงน้อยพระทัยพระสวามี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับหม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภาไปทรงเลี้ยงดู ทรงเอ็นดูเป็นพิเศษและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452[2]
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำนำหน้าพระนามเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา[3]
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เสกสมรสกับหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม วิเศษกุล) นางพระกำนัลในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2472 ไม่ทรงมีพระทายาท
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เคยทรงเป็นคณะกรรมการการประกวดนางสาวสยามครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2477
พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ร่วมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์, เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม), พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)[4] และทรงลาออกเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487[5] โดยในระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา[6]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา สิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 สิริพระชันษา 42 ปี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา |
---|
ตราประจำพระองค์ | การทูล | ฝ่าพระบาท |
---|
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
---|
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
---|
พระอิสริยยศ
- 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 : หม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
- 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
- 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
- 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
พระยศและตำแหน่ง
- 20 ตุลาคม พ.ศ. 2470: เรือตรีพิเศษ[24]
- เลขานุการ มณฑลนครศรีธรรมราช
- 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2471: ปลัดกรมกองบัญชาการกระทรวงมหาดไทย[25]
- 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471: เรือโท[26]
- ปลัดกรมเวรวิเศษ
- 12 มีนาคม พ.ศ. 2473: รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม[27]
- 8 ตุลาคม พ.ศ. 2474: อำมาตย์โท[28]
- 17 ตุลาคม พ.ศ. 2474: ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม[29]
- 19 ตุลาคม พ.ศ. 2474: เรือเอก[30]
- 20 เมษายน พ.ศ. 2476: ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต[31]
- 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477: นาวาตรี[32]
- 24 สิงหาคม พ.ศ. 2478: นาวาเอก[33]
- 3 มกราคม พ.ศ. 2478: พันเอก[34]
- 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2480: นาวาอากาศเอก[35]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2482: พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี[36]
- 23 กันยายน พ.ศ. 2486: พลเรือโท พลอากาศโท
พงศาวลี
พงศาวลีของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
|
|
อ้างอิง
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ยกหม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ในพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ขึ้นเป็นพระหลานเธอพระองค์เจ้า, เล่ม 26, ตอน 0ก, 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452, หน้า 84
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม 27, ตอน ก, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 51, ตอน 0ก, 7 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1332
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 61, ตอน 45ก, 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487, หน้า 730
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ, เล่ม 55, ตอน 0 ก, 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481, หน้า 672
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๘๑, ๒๙ กันยายน ๒๔๗๘
- ↑ 8.0 8.1 ราชกิจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๔๒, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๐๓๓, ๑๔ เมษายน ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๒, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๐๐, ๒๕ กันยายน ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๘๙, ๒๒ มีนาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๗, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๔๙ หน้า ๑๔๒๔, ๗ มีนาคม ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๘, ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๗๓, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๕๙, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๐๑, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๖๗, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๗๘, ๑๓ มีนาคม ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๓, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๐๐, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๓๑๐๒, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๘๕
- ↑ พระราชทานยศทหาร
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเรือ
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายเปลี่ยนและบรรจุผู้ว่าราชการจังหวัด
- ↑ พระราชทานยศพลเรือน
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ แจ้งความ
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหารเรือ
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร
แหล่งข้อมูลอื่น
- ลดา รุธิรกนก, มณีในอาทิตย์, ประวัติ-ชีวิตรักพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา-หม่อมกอบแก้ว, พ.ศ. 2549
|