Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย

ฐานทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม
กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทยตั้งอยู่ในประเทศไทย
ฐานดอนเมือง
ฐานดอนเมือง
ฐานโคราช
ฐานโคราช
ฐานนครพนม
ฐานนครพนม
ฐานตาคลี
ฐานตาคลี
ฐานอู่ตะเภา
ฐานอู่ตะเภา
ฐานอุบล
ฐานอุบล
ฐานอุดร
ฐานอุดร
แผนที่หน่วยทหารอากาศสหรัฐในประเทศไทย
วันที่เมษายน พ.ศ. 2504 – 2518
สถานที่
ผล คืนพื้นที่ให้รัฐบาลไทยแล้ว

กองทัพอากาศสหรัฐ ได้เข้ามาตั้งฐานทัพอากาศในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2504 ถึง 2518 ในช่วงสงครามเวียดนาม เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการโจมตีประเทศเวียดนามเหนือ มีการประมาณการว่าการทิ้งระเบิดกว่าร้อยละ 80 ต่อเวียดนามเหนือมาจากฐานทัพอากาศในประเทศไทย[1] จำนวนทหารอเมริกันภาคพื้นดินสูงสุดในปี พ.ศ. 2511 คือ 11,494 คน และทหารอากาศสูงสุดในปี พ.ศ. 2512 คือ 33,500 จำนวนเครื่องบินสหรัฐในปี พ.ศ. 2512 มีประมาณ 600 เครื่อง[2] นับว่าเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่มาก ใหญ่กว่าฐานสหรัฐในเวียดนามใต้เสียอีก จนมีการเปรียบเปรยว่าไทยกลายเป็น เรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจม ของกองทัพสหรัฐ[3]

สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยภายใต้ "ข้อตกลงสุภาพบุรุษ" (สัญญาปากเปล่า) ระหว่างไทยและสหรัฐ[1] [2] หน่วยทหารสหรัฐหน่วยแรกเดินทางจากฟิลิปปินส์มาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองในเดือนเมษายน พ.ศ. 2501 ตามมาด้วยการลำเลียงวัสดุภัณฑ์และเครื่องจักรหนักจำนวนมากมายังอู่ตะเภาเพื่อนำไปใช้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและฐานทัพอากาศในประเทศไทย ซึ่งในทางนิตินัยถือว่าฐานทัพเหล่านี้เป็นฐานทัพของไทย และมีผู้บังคับการฐานเป็นทหารไทย ด่านเข้าออกฐานทัพถูกควบคุมโดยสารวัตรทหารไทยโดยมีสารวัตรทหารอเมริกันเป็นผู้ช่วยถืออาวุธ แต่หน่วยทหารสหรัฐในไทยรับคำสั่งจากกองบัญชาการของสหรัฐ สหรัฐใช้ฐานทัพในไทย 7 แห่ง คือ ดอนเมือง โคราช นครพนม ตาคลี อู่ตะเภา อุบลราชธานี และอุดรธานี

ช่วยปลายสงครามเวียดนาม รัฐบาลสหรัฐถูกกดดันอย่างหนักจากชาวอเมริกันให้ถอนทหารออกจากเวียดนาม และเมื่อกรุงไซ่ง่อนถูกยึด ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลสหรัฐและรัฐบาลไทยก็ขุ่นมัว ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 รัฐบาลสหรัฐประกาศการถอนกำลังพลสหรัฐทั้งหมด (ทหาร 28,000 นาย และอากาศยาน 300 เครื่อง) ออกจากประเทศไทยภายใน 12 เดือน

รายชื่อฐาน

  • ฐานทัพอากาศดอนเมือง (Don Muang Royal Thai Air Force Base) ระหว่าง พ.ศ. 2504–2513
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองยุทธบำรุงที่ 631 (631st Combat Support Group) ระหว่าง พ.ศ. 2505–2513
  • ฐานทัพอากาศโคราช (Korat Royal Thai Air Force Base) ระหว่าง พ.ศ. 2505–2518
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่ 388 (388th Tactical Fighter Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2508–2518
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินลาดตระเวนที่ 553 (553rd Reconnaissance Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2510-2514
  • ฐานทัพเรือนครพนม (Nakhon Phanom Royal Thai Navy Base) ระหว่าง พ.ศ. 2505–2519
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 56 (56th Special Operations Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2510–2518
  • ฐานทัพอากาศตาคลี (Takhli Royal Thai Air Force Base)ระหว่าง พ.ศ. 2504–2514; 2515–2517
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่ 355 (355th Tactical Fighter Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2508–2514
  • สนามบินทหารเรืออู่ตะเภา (U-Tapao Royal Thai Navy Airfield) พ.ศ. 2508–2519
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินยุทธศาสตร์ที่ 4258 (4258th Strategic Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2509–2513
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินยุทธศาสตร์ที่ 307 (307th Strategic Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2513–2518
  • ฐานทัพอากาศอุบล (Ubol Royal Thai Air Force Base) ระหว่าง พ.ศ. 2508–2517
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่ 8 (8th Tactical Fighter Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2508–2517
  • ฐานทัพอากาศอุดร (Udorn Royal Thai Air Force Base) ระหว่าง พ.ศ. 2507–2519
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินลาดตระเวนทางยุทธวิธีที่ 432 (432nd Tactical Reconnaissance Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2509–2518

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 R. Sean Randolph, The United States and Thailand Alliance Dynamics, 1950 – 1985, (Institute of East Asian Studies, University of California, Berkeley, 1986), Chapter 3, pp. 49 - 81.
  2. 2.0 2.1 จุฬาพร เอื้อรักสกุล, สงครามเวียดนาม[ลิงก์เสีย], สถาบันพระปกเกล้า.
  3. สุรชาติ บำรุงสุข, สุรชาติ บำรุงสุข : 41 ปีแห่งการเคลื่อนไหว (2) ขวาไทย-ฐานทัพฝรั่ง, มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13 - 19 ตุลาคม 2560, วันพฤหัสที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9