วนิช ปานะนนท์
วนิช ปานะนนท์ อดีตนักการเมือง, นักธุรกิจชาวไทย และหนึ่งในคณะราษฎร ประวัตินายวนิช เป็นบุตรของนายปานและนางแจ่ม ปานะนนท์ โดยที่บิดาเป็นพ่อค้าขายข้าวเปลือก เกิดที่บ้านพานทอง หมู่ที่ 4 ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2446 เมื่อนายวนิชอายุได้ 7 ขวบ บิดาและมารดาได้ให้เริ่มเรียนหนังสือไทยที่บ้านโดยสอนเองบ้าง ให้พี่ๆสอนบ้าง พออ่านเขียนได้ก็ให้เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดพานทอง การเรียนของนายวนิชเป็นไปโดยเรียบร้อยจนจบหลักสูตรชั้นประถม ต่อมาได้เข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมวัดเขาบางทรายจนถึงชั้นมัธยม 2 เมื่อปี 2460 แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา เมื่อสอบไล่ได้มัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปลาย พ.ศ. 2463 จึงได้ไปสมัครเข้าเป็นนักเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรือ นายวนิชมีนิสัยชอบค้าขายเหมือนบิดา ดังนั้น ระหว่างที่เป็นนักเรียนนายเรือ เมื่อได้ไปฝึกการเรือภาคปฏิบัติยังท่าเรือต่างประเทศ จึงได้ถือโอกาสศึกษาและสังเกตการค้าไปด้วย ต่อมาจึงได้ลาออกจากโรงเรียนนายเรือ ขณะที่เรียนอยู่ห้องที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2467 โดยร่วมหุ้นกับนายขจร ปานะนนท์ ผู้เป็นพี่ชาย เปิดร้านชื่อ "เอส.วี. บราเดอร์ส" ที่ถนนมหาราช ใกล้กับท่าเตียน เมื่อปี พ.ศ. 2468 จากนั้น 2 ปีผ่านไป จึงเริ่มต่อต่อการค้าด้วยตนเองด้วยการสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยสินค้าที่นายวนิชให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ น้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะแก๊สโซลีนและเคโรซีน และได้ศึกษาเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง 2 ประเภทนี้ด้วยตนเองจนแตกฉาน ทำให้กิจการการค้าก้าวหน้ายิ่งขึ้น บทบาททางการเมืองในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นายวนิชได้เข้าร่วมในส่วนทหารเรือ ด้วยเคยเป็นนักเรียนนายเรือเก่า และยังมีศักดิ์เป็นน้องเขยของ นาวาโท หลวงสินธุสงครามชัย หัวหน้าคณะทหารเรือ ในคณะราษฎรด้วย หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งองค์การน้ำมัน ในสังกัดกระทรวงกลาโหม นายวนิชได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการ จึงยุติการทำการค้าไปโดยปริยาย ซึ่งนายวนิชได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนกน้ำมันเชื้อเพลิง ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 มีหน้าที่สั่งซื้อและจำหน่ายน้ำมันต่าง ๆ ให้แก่ กรมกองต่าง ๆ ในราชการ ซึ่งต่อมาแผนกขึ้นได้ถูกยกฐานะเป็นกรม จึงทำให้นายวนิชได้เป็นเจ้ากรมเชื้อเพลิงเป็นคนแรก ในปี พ.ศ. 2479 และกลายสภาพเป็นกิจการปั๊มน้ำมันสามทหาร และกลายมาเป็นองค์การเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดูแลกิจการปั๊มน้ำมันสามทหารขณะนั้น ต่อมาได้ถูกปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร กลายมาเป็นรัฐวิสาหกิจใหม่ คือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2483 นายวนิชได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพาณิชย์ และดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นคนแรกในเวลาต่อมา ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสั่งการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา นายวนิชถูกกล่าวหาว่า เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายญี่ปุ่นจากฝ่ายต่อต้านญี่ปุ่น ในต้นปี พ.ศ. 2487 ถูกจับกุมในข้อหาทุจริตต่อหน้าที่ โดยที่ไม่มีใครในรัฐบาลได้ออกมาปกป้อง แม้แต่จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ซึ่งในระหว่างที่ถูกจับกุม ทางฝ่ายรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือนายวนิชผ่านทางสถานทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย และนายวนิชก็ได้พยายามช่วยเหลือตนเองด้วยการเขียนจดหมายหาจอมพล ป. การเสียชีวิตนายวนิช ปานะนนท์ ถึงแก่กรรมลงในเรือนจำ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 โดยทางกรมตำรวจระบุและอ้างว่าเป็นการฆ่าตัวตาย แต่ก็มีหลายฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายญี่ปุ่นเชื่อว่า การเสียชีวิตของนายวนิชเป็นการฆาตกรรมทางการเมือง โดยเรียกร้องให้มีการชันสูตรร่วมกับทางแพทย์ฝ่ายญี่ปุ่น แต่ทางญาติปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก หลวงสินธุสงครามชัย ผู้เป็นพี่ชายของภริยา ด้วยเหตุผลที่ไม่อยากให้เรื่องราวยืดเยื้อ พิธีฌาปนกิจนายวนิช มีขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2490 ณ เมรุ วัดเทพศิรินทราวาส ชีวิตครอบครัวนายวนิช ปานะนนท์สมรสกับคุณหญิงสงวน ปานะนนท์ (กมลนาวิน) โดยมีบุตรด้วยกัน 5 คนคือ
รับราชการ1 เมษายน 2476 หัวหน้าแผนกน้ำมันเชื้อเพลิง บก. กระทรวงกลาโมม 21 มิถุนายน 2577 หัวหน้าแผนกน้ำมันเชื้อเพลิง กรมพลาธิการทหารบก 1 เมษายน 2480 เจ้ากรมเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหม 14 กันยายน 2482 รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมพาณิชย์ 12 ตุลาคม 2473 อธิบดีกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ 4 กันยายน 2484 อัครราชทูตประจำกระทรวง กระทรวงต่างประเทศ 17 ธันวาคม 2484 รัฐมนตรีและรัฐมนตรีสั่งการฯ กระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ 29 พฤษภาคม 2485 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 30 ธันวาคม 2486 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เครื่องราชอิสสริยาภรณ์7 ตุลาคม 2482 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย 19 มิถุนายม 2484 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก 21 มิถุนายน 2484 เหรียญช่วยราชการเขตต์ภายใน 19 กันยายน 2484 ปฐมาภรณ์มงกุฎไทย 25 กุมภาพันธ์ 2485 ซุยโฮ ชั้นหนึ่ง (ญี่ปุ่น: 瑞宝章 ซุยโฮ-โช ?)
อ้างอิง
|