ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ย่อ: ศนท.) เป็นขบวนการทางการเมืองในประเทศไทยในอดีต ประวัติก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 โดยมีสมาชิกระดับอุดมศึกษา 11 สถาบัน[1] อันเป็นผลมาจากการจัดสัมมนานิสิตนักศึกษาจากทุกสถาบันในหัวข้อ “บทบาทนักศึกษาในการพัฒนาประเทศ” ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยจัดขึ้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในระหว่างการสัมมนาได้มีการอภิปรายถึงการก่อตั้งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ต่อมา กลุ่มผู้นำนิสิตนักศึกษาได้เดินทางไปประชุมที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่จัดโดยสมาคมบริการนักศึกษานานาชาติแห่งประเทศไทย (WUS) จากนั้นจึงได้แยกย้ายกันไปประชุมตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จนก่อตั้ง ศนท. ได้สำเร็จ[2] มีนายโกศล โรจนพันธ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเลขาธิการคนแรก กิจกรรมของศูนย์ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 จนถึงปลายปี พ.ศ. 2515 ส่วนใหญ่ไม่ใช่กิจกรรมทางการเมือง เป็นกิจกรรมทางสังคมตามปกติ เช่น จัดรายการช่วยผู้ประสบภัย จัดรายการถวายพระพร เป็นต้น กลุ่มนิสิตนักศึกษาอิสระแนวความคิดในการต่อสู้เพื่อความชอบธรรมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2511-2514 ของขบวนการนักศึกษา มักจะได้รับการเผยแพร่และชักจูงจากกลุ่มนิสิตนักศึกษาอิสระอยู่ตลอด ได้แก่ สภาหน้าโดม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) กลุ่มฟื้นฟูโซตัสใหม่ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) กลุ่มต่อต้านญี่ปุ่น (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ฯลฯ การต่อสู้ของนักศึกษากลุ่มอิสระในแต่ละสถาบันนั้นจะรวมกันต่อสู้กับปัญหาต่างๆ ภายในสถาบันของตนเองเป็นเบื้องแรก และนักศึกษากลุ่มนี้มีความสนใจต่อปัญหาทางการเมืองเสมอ นักศึกษากลุ่มอิสระมักจะโจมตีระบบการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยตน และระบบบริหารกิจกรรมของนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัย นักศึกษากลุ่มนี้มักจะพยายามชักจูงนักศึกษาส่วนใหญ่ให้มองเห็นปัญหาความผุโทรมในมหาวิทยาลัย แต่นักศึกษาส่วนใหญ่มักไม่เห็นด้วยและยังคงมุ่งเน้นในกิจกรรมประเภทบันเทิงและพิธีการต่างๆ เช่น การรับน้องใหม่ ไหว้ครู งานกีฬาประเพณีต่างๆ ระบบอาวุโสแบบผิดๆ ที่บังคับให้นักศึกษาปี 1 ประชุมเชียร์ การแต่งกายของนักศึกษาปี 1 ที่แตกต่าง และห้ามนักศึกษาปี 1 ผ่านสถานที่บางแห่ง ฯลฯ สาเหตุแห่งการต่อสู้ของนักศึกษากลุ่มนี้พอสรุปได้ว่า นักศึกษากลุ่มนี้มีทรรศนะว่าการพัฒนาทางการเมืองในสังคมไทยในขั้นต่อไปจะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างแน่นอน ถ้าในสังคมมหาวิทยาลัยสนับสนุนให้นักศึกษารุ่นพี่ปกครองรุ่นน้องในทางที่ผิด และริดรอนสิทธิเสรีภาพ ตลอดจนความคิดใหม่ๆของรุ่นน้อง โครงสร้างภายในลักษณะโครงสร้างการจัดองค์กรประกอบด้วย
ในทางปฏิบัติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2518 เป็นต้นมาจะมีการตกลงกันเองระหว่างกลุ่มนักศึกษาก้าวหน้า (ฝ่ายซ้าย) จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ว่านักศึกษาคนใดเหมาะสมจะเข้ามารับตำแหน่งเลขาธิการและรองเลขาธิการ[1] การเดินขบวน ชุมนุมประท้วง และรณรงค์ของนิสิตนักศึกษาการเดินขบวน ชุมนุมประท้วง และรณรงค์ของศูนย์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยครั้งสำคัญมี 4 ครั้ง คือ
ผลจากการเดินขบวนฯผลจากการเดินขบวนของนิสิตนักศึกษาภายใต้การนำของศูนย์ฯ 2 ครั้งคือกรณีต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น กับกรณีประท้วงเรื่องนักศึกษารามคำแหง 9 คนถูกลบชื่อ ทำให้ศูนย์ฯกลายเป็นกลุ่มอิทธิพลทางการเมืองที่ท้าทายและทัดทานอำนาจเผด็จการของคณะไปโดยปริยาย นอกจากการประท้วงของศูนย์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยแล้ว ในปี พ.ศ. 2516 ก็มีการประท้วงต่อรัฐบาลของนิสิตนักศึกษากลุ่มอิสระต่างๆ ด้วย แต่ไม่มีการเดินขบวน เช่น
ความขัดแย้งระหว่างนักศึกษากับรัฐบาลต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ความกดดันที่ได้สะสมมาช้านานได้ก่อให้เกิดการท้าทายของประชาชนทุกอาชีพต่อรัฐบาลของคณะปฏิวัติ ในการเรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญของประชาชน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 และรัฐบาลได้ใช้อำนาจเข้าจับกุมกลุ่มประชาชนผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ โดยตั้งข้อหาเป็นกบฏต่อแผ่นดินและเป็นพวกคอมมิวนิสต์ ผลที่ตามมาก็คือการผนึกกำลังกันต่อสู้เป็นคลื่นไฟลูกใหญ่ของมวลชน ภายใต้การนำของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เพื่อให้รัฐบาลทหารปลดปล่อย 13 ผู้ต้องหาที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญอย่างไม่มีเงื่อนไขและให้รัฐบาลเร่งรัดประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว จนทำให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษาต้องเอาชีวิตเลือดเนื้อและวิญญานเข้าแลกกับอาวุธที่ร้ายแรงของทหารตำรวจที่ได้รับคำสั่งจากทรราชย์ทั้ง 3 คือ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุด จอมพลประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมตำรวจ และรองผู้บัญชาการทหาสูงสุด พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งทั้ง 3 คนและภรรยา ต้องหนีออกนอกประเทศไทยไป และได้มีการจัดตั้งรัฐบาล โดยพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการนำของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีขึ้นทำการบริหารประเทศชั่วคราว จนกว่าจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ถูกยุบศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยดำเนินงานเป็นเอกเทศโดยนิสิตนักศึกษา (ตามธรรมนูญศนท. พ.ศ. 2513 หมวด 1) แต่เมื่อเกิดรัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 คณะปฏิรูปได้มีคำสั่งยุบทิ้ง[1] ดูเพิ่มอ้างอิง
บรรณานุกรม
|