Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

สนธิสัญญาสันติภาพออสเตรเลีย–ไทย

สนธิสัญญาสันติภาพออสเตรเลีย–ไทย
ประเภทสนธิสัญญาสันติภาพ
วันลงนาม3 เมษายน พ.ศ. 2489
ที่ลงนามจังหวัดพระนคร
เงื่อนไขทั้งสองประเทศให้สัตยาบัน
ภาคีออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
ไทย ไทย

สนธิสัญญาสันติภาพออสเตรเลีย–ไทย หรือชื่อเต็มว่า ความตกลงสันติภาพฉบับที่สุดระหว่างรัฐบาลแห่งสยามกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย ลงนามในจังหวัดพระนครเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างทั้งสองประเทศ และนับเป็นเอกสารที่แสดงออกถึงอำนาจอธิปไตยและเอกราชในกิจการต่างประเทศของออสเตรเลียหลังบทกฎหมายแห่งเวสต์มินสเตอร์มีผลใช้บังคับในปี 2485[1]

การเจรจา

ในเดือนตุลาคม 2488 รัฐบาลชีฟลีย์ส่งพลโท อัลเลน เจ. อีสต์แมนแห่งกองทัพบกสหรัฐเป็นผู้แทนไปยังจังหวัดพระนครซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองอยู่ในเวลานั้น เจ. ซี. อาร์. พราวด์ ผู้แทนการเมืองออสเตรเลียในสิงคโปร์ สรุปจุดยืนของรัฐบาลในเรื่องสันติภาพกับประเทศไทยเมื่อเขาแนะนำอีสต์แมนว่า "การเสียชีวิตของเชลยศึกชาวออสเตรเลียจำนวนมากในสยามเป็นข้อเท็จจริงที่เราไม่อาจเพิกเฉยได้" บริเตนเสนอให้ออสเตรเลียเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพของตนเองกับประเทศไทย และยกฐานะอีสต์แมนเป็นอัครราชทูตประจำประเทศไทยชั่วคราว แต่ตัดสินใจยังไม่สถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตอย่างเป็นทางการกับรัฐที่ออสเตรเลียถือว่ายังทำสงครามกันอยู่ อีสแมนได้รับแต่งตั้งเป็นกงสุลและเข้าร่วมการเจรจาระหว่างบริเตนกับไทย ณ สิงคโปร์ แม้ก่อนได้รับพระบรมราชานุญาตแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกงสุล ทั้งนี้ด้วยเหตุว่าไทยไม่เคยยอมรับสถานะสงครามกับออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ จึงถือว่าสนธิสัญญากับออสเตรเลียเป็นประเด็นเทคนิคเท่านั้น ออสเตรเลียตั้งเงื่อนไขว่าไทยยุติสถานะสงครามกับบริเตนและยอมรับเงื่อนไขสันติภาพของบริเตน และยืนกรานให้มีการพิจารณาคดีผู้สนับสนุนญี่ปุ่น และค่าปฏิกรรมในเรื่องเหมืองดีบุก[2]

หลังความตกลงสมบูรณ์แบบ อีสต์แมนแลกเปลี่ยนบันทึกกับผู้เจรจาฝ่ายไทย คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย โดยยืนยันว่าสนธิสัญญาอีกฉบับกับออสเตรเลียจะมีการลงนามภายในวันที่ 3 เมษายน รัฐบาลออสเตรเลียในกรุงแคนเบอร์พิจารณาถอนตัวเขากลับ ณ จุดนั้น แต่เขากระตุ้นให้รั้งตำแหน่งจนกว่ากระบวนการตัดสินค่าสินไหมทดแทนแล้วเสร็จ เขายังไม่ถอนตัวจนมีการแลกเปลี่ยนให้สัตยาบันสนธิสัญญาฯ ในเดือนพฤษภาคม[3] ต่อมาในปี 2493 ไทยตกลงจ่ายค่าชดเชย 6 ล้านปอนด์แก่รัฐบาลบริเตนและออสเตรเลียสำหรับความเสียหายยามสงครามต่อการทำธุรกิจเหมืองดีบุกของทั้งสองประมาณ ส่วนออสเตรเลียได้ส่วนแบ่งเกิน 1 ล้านปอนด์เล็กน้อย[4]

อ้างอิง

  1. Battersby 2000, p. 15.
  2. Battersby 2000, p. 21.
  3. Battersby 2000, p. 22.
  4. Thīrawit 1979, pp. 2–3.

บรรณานุกรม

  • Thīrawit, Khīan [Khien Theeravit] (1979). Australian–Thai Relations: A Thai Perspective. Occasional Paper No. 58. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. OCLC 22409046.
  • Battersby, Paul (2000). "An Uneasy Peace: Britain, the United States and Australia's Pursuit of War Reparations from Thailand, 1945–1952". Australian Journal of International Affairs. 54 (1): 15–31. doi:10.1080/00049910050007014. ISSN 1035-7718. S2CID 153688878.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9