เทพ โชตินุชิต
เทพ โชตินุชิต เป็นอดีตนักการเมือง นักกฎหมาย และทนายความชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง และเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคเศรษฐกร (พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2501) และพรรคแนวร่วม-เศรษฐกร (พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2514) ประวัติเทพ โชตินุชิต เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2450 ที่ ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม คุณพ่อคือขุนสุภมาตรา (เทียบ โชตินุชิต) มีคุณแม่คือ นางศุภมาตรา (แว่นแก้ว) เป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 8 คน การศึกษาเมื่อเริ่มโตขึ้นนาย เทพได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่ออายุ 15 ปี จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่ ธรรมศาสตรบัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และเนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) อาชีพก่อนทำงานการเมืองเมื่อ พ.ศ. 2475 ประกอบอาชีพทนายความและผู้พิพากษาก่อนที่จะได้สมรสกับสนอง โชตินุชิต ที่จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนที่จะไปเป็นผู้พิพากษาฝึกหัดที่จังหวัดขุขันธ์ อาชีพส.ส.และได้ลาออกมาสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2480 นับเป็น ส.ส. คนแรกของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และได้รับการเลือกตั้งต่อมาอีก 3 สมัย[2][3] เมื่อเกิดการยุบสภาได้กลับไปเป็นผู้พิพากษาอีกครั้งที่จังหวัดนครพนม ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ได้สมันคร ส.ส. ศรีษะเกษ ในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่แพ้เพียงแค่ 2 คะแนนใน พ.ศ. 2492 เป็นรัฐมนตรีลอย[4] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อ พ.ศ. 2493[5] เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2492 นับเป็นเลขาธิการพรรคคนที่ 2 ต่อจากหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นอกจากแล้วยังเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491[6] เคยก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา คือ พรรคเศรษฐกร[7] และพรรคแนวร่วม-เศรษฐกร แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ต่อมาได้รับคำเชิญไปเยือนประเทศจีน หลังจากที่กลับมาได้ถูกจบในข้อหาคอมมิวนิสต์ เมื่อ พ.ศ. 2500 ได้มีการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรม จึงสามารถออกจากคุกได้ เมื่อเกิดการเลือกตั้ง ใน เดือนกุมพาพันธ์ พ.ศ. 2500 จนได้รับชัยชนะ และครังที่ 2 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 อีกด้วย เทพ โชตินุชิต ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่เป็นนักกฎหมายที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมให้แก่สังคมมาโดยตลอด เคยถูกจับและเคยช่วยเหลือหลายบุคคลมาแล้ว อาทิ ทองใบ ทองเปาด์ ซึ่งก่อนจะเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ในปี พ.ศ. 2516 ไม่นาน เทพ โชตินุชิต ได้ร่วมกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อีก 3 คน คือ พิชัย รัตตกุล ดำรง ลัทธพิพัฒน์ และชวลิต อภัยวงศ์ ลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผู้มาลงชื่อทั้งหมด 100 คนด้วย อนิจกรรมเทพ โชตินุชิต ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2517 ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุได้ 67 ปี[8] จากโรคตับแข็ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|