ณรงค์ กิตติขจร
พันเอก ณรงค์ กิตติขจร (21 ตุลาคม พ.ศ. 2476 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567) เป็นอดีตนายทหารและอดีตนักการเมืองชาวไทย เป็นบุตรชายของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นบุตรเขยของจอมพล ประภาส จารุเสถียร ประวัติชีวิตส่วนตัวพ.อ. ณรงค์ กิตติขจร เกิดเมื่อวันวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรชายคนโตของจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี กับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร และเป็นบุตรเขยของจอมพล ประภาส จารุเสถียร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตอธิบดีกรมตำรวจ เพราะ ได้สมรสกับนางสุภาพร กิตติขจร บุตรสาวคนที่ 3 ของจอมพล ประภาส ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับมาตั้งแต่อายุได้ 5 - 6 ขวบ และได้ขอแต่งงานเมื่อคุณสุภาพรอายุได้เพียง 18 ปีเท่านั้น (ในขณะนั้น พ.อ. ณรงค์ ติดยศ"ร้อยตรี") โดยมีบุตร-ธิดารวม 4 คน ได้แก่
การศึกษาพ.อ. ณรงค์ กิตติขจร [2]จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แล้วศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จปร.รุ่นที่ 5 และได้ศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ สหราชอาณาจักร[2] ซึ่งเป็นโรงเรียนนายร้อยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร การรับราชการพ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐประหาร (รัฐประหารในประเทศไทย 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) เมื่อการรัฐประหารเสร็จสิ้นลง ได้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิวัติราชการ (ก.ต.ป.) และเป็นผู้บังคับบัญชากองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 พัน.2 รอ.) หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารครั้งนี้แล้ว พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร เป็นที่คาดหมายว่าจะเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากจอมพล ถนอม กิตติขจร ผู้เป็นพ่อ เพราะด้วยสถานการณ์ในเวลานั้น ปรากฏข่าวการคอร์รัปชั่นกันอย่างกว้างขวางรวมทั้งการใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบด้วย เช่น กรณีเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกตกที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เป็นต้น ทางรัฐบาลได้แก้ปัญหาด้วยการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติราชการ หรือ ก.ต.ป. ขึ้นมาเพื่อจัดการปัญหาการคอร์รัปชั่น แต่กลับมี พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ซึ่งเป็นลูกชายนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล จึงไม่มีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถจัดการปัญหาได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ขึ้น ประชาชนส่วนหนึ่งที่โกรธแค้นจึงได้เผาทำลายอาคารของสำนักงานแห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ ณ สี่แยกคอกวัว ส่วนบทบาทของ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ และเป็นผู้กราดยิงกระสุนจริงจากเฮลิคอปเตอร์ลงมายังผู้ชุมนุมที่อยู่เบื้องล่าง แต่ พ.อ. ณรงค์ ได้ปฏิเสธในเรื่องนี้มาโดยตลอด การเมืองหลังสถานการณ์ทางการเมืองสงบลง พ.อ. ณรงค์ ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย และลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. เพชรบุรี ใน พ.ศ. 2522 แต่ได้รับเลือกเป็นส.ส.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคชาติไทย ในครั้งถัดมา เมื่อ พ.ศ. 2526 และเข้าร่วมกับพรรคการเมืองชื่อพรรค "เสรีนิยม" ซึ่งมี ปรีดา พัฒนถาบุตร เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาได้เปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารโดย พ.อ.ณรงค์ เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน เขาได้ลงสมัคร ส.ส. ในจังหวัดเดิม ได้รับเลือกตั้งมาอีก 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2529, พ.ศ. 2531 และยังได้รับแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2534 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ได้เปิดตัวหนังสือมา 2 เล่ม ชื่อ "ลอกคราบ 14 ตุลา ดักแด้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย" และ "พันเอก ณรงค์ กิตติขจร 30 ปี 14 ตุลา ข้อกล่าวหาที่ไม่สิ้นสุด" โดยมีเนื้อหาอ้างอิงจากเอกสารราชการลับในเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งมีเนื้อหาว่าทั้ง พ.อ.ณรงค์ และจอมพล ถนอม มิได้เป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์ 14 ตุลา[3][4] การถึงแก่กรรมพ.อ. ณรงค์ กิตติขร เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร สิริอายุ 90 ปี[5] เครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
ดูเพิ่มอ้างอิง
|