หลวงอธึกเทวเดช (บุญเจียม โกมลมิศร์)
พลอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช (เจียม โกมลมิศร์) (2 สิงหาคม พ.ศ.2440-25 กันยายน พ.ศ.2529)เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ[3] และอดีตรัฐมนตรีแห่งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 10[4] ผู้มีบทบาทสำคัญในกรณีพิพาทอินโดจีน[1] ครั้งหนึ่ง เคยมีการตั้งชื่อ "อำเภออธึกเทวเดช" ในจังหวัดพระตะบองตามชื่อของเขา เมื่อครั้งที่ไทยได้รับดินแดนจากประเทศฝรั่งเศสคืนมาบางส่วน[1][5] ประวัติวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งหลวงอธึกเทวเดช รองผู้บัญชาการทหารอากาศ มาเป็นแม่ทัพอากาศ เพื่อเตรียมการกรณีพิพาทอินโดจีน[6][7] กรณีพิพาทอินโดจีนในกรณีพิพาทอินโดจีน เมื่อครั้งที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นฝ่ายเริ่มการโจมตี หลวงอธึกเทวเดชได้ทำหน้าที่เป็นแม่ทัพอากาศ เพื่อป้องกันภัยทางอากาศและสนับสนุนกำลังภาคพื้นดิน และได้รับชัยชนะในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2484 โดยประเทศไทยได้ดินแดนที่เคยเสียไปคืนมาบางส่วน[8] ในปี พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้รับ 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครจัมปาศักดิ์, จังหวัดลานช้าง, จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดพิบูลสงคราม หลังจากการเจรจาระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศฝรั่งเศสที่กรุงโตเกียว ซึ่งหนังสือเล่าความหลังครั้งสงคราม ของโกวิท ตั้งตรงจิตร ได้ระบุว่า จังหวัดพระตะบอง เดิมเป็นเมืองพระตะบองของเขมร แล้วมีการตั้งชื่อ "อำเภออธึกเทวเดช" เมื่อครั้งที่ไทยได้จังหวัดพระตะบอง ตามชื่อของพลอากาศเอกหลวงอธึกเทวเดช ทว่า ก็ต้องคืน 4 จังหวัดดังกล่าวให้แก่ฝรั่งเศส เนื่องด้วยฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่สอง[3] หลังจากไทยปกครอง 4 จังหวัดดังกล่าวได้ 5 ปี 4 เดือน 1 วัน[9][10] รัฐมนตรีพลอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช (เจียม โกมลมิศร์) เป็นมิตรสหายของสมาชิกแกนนำคณะราษฎรที่เข้าร่วมคณะรัฐบาล[11] โดยในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 มีการแต่งตั้งให้เขาเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 10 ทว่าภายหลัง เขาได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2486[12] สถานที่อันเนื่องด้วยนาม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นฟังเสียงบทความนี้ (info/dl)
ไฟล์เสียงนี้ถูกสร้างขึ้นจากรุ่นของบทความ "หลวงอธึกเทวเดช (บุญเจียม โกมลมิศร์)" เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562 และอาจไม่ใช่การแก้ไขล่าสุด (วิธีใช้เสียง)
|