Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8

ยุทธการสุรศักดิ์มนตรี 8 (เล่าอู)
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองลาวและสงครามเวียดนาม
วันที่กันยายน 2514 – 22 มิถุนายน 2515
สถานที่
ริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณใกล้เมืองเชียงหล่ม ประเทศลาว
ผล ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี: ไทยชนะอย่างหวุดหวิดเหนือปะเทดลาว
ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8: การรุกของไทยถูกต่อต้านและผลักดันกลับ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี: กองทัพไทยยึดฐานทัพชั่วคราวบริเวณฝั่งใต้แม่น้ำโขง
ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8: พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยยังคงควบคุมหมู่บ้านลาว 2 แห่ง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเชียงลม
คู่สงคราม
 ไทย
 ลาว
สนับสนุนโดย
 สหรัฐ
ลาว ปะเทดลาว
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
สนับสนุนโดย:
ประเทศจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี
ไทย กองทัพบกไทย 3 กองพัน
ไทย ปืนใหญ่วิถีโค้ง 75 มม. 2 กระบอก
ไทย ทหารเสือพราน 1 กองพัน
ไทย การสนับสนุนทางอากาศของไทย
การสนับสนุนการขนส่งของแอร์อเมริกา
ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8
กรมผสมที่ 7
ลาว ทหารเสือพรานไทย
หน่วยรบพิเศษสหรัฐ 70 นาย
การส่งกลับสายแพทย์แอร์อเมริกา
ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 22
ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี
ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
ลาว กองกำลังปะเทดลาว 500 นาย
ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8
ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ 100 นาย
ความสูญเสีย
ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี
เสียชีวิต 10 นาย
บาดเจ็บ 29 นาย
ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8
เสียชีวิต 23 นาย
บาดเจ็บ 64 นาย
ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี
เสียชีวิต 15 ราย
ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8
เสียชีวิตใกล้เคียงกับฝ่ายไทยจากปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ

ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8[a] หรือ ยุทธการสุรศักดิ์มนตรี 8 (เล่าอู)[1][b] (อังกฤษ: Operation Sourisak Montry VIII[c]) (กันยายน พ.ศ. 2514 – 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515) เป็นปฏิบัติการทางทหารของไทยในการต่อต้านจีนคอมมิวนิสต์ที่รุกคืบเข้ามาทางเหนือของแม่น้ำโขง ปฏิบัติการผาลาดได้จัดตั้งฐานทัพที่เชียงลม ประเทศลาว บนฝั่งใต้ของแม่น้ำโขง และมีกองพันทหารรับจ้างของไทยสามกองพันประจำการอยู่ ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรีเป็นชุดการปะทะที่ยังไม่เด็ดขาดในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งหลังจากนั้น ไทยได้รับชัยชนะอย่างหวุดหวิดเหนือกองทัพปะเทดลาวในช่วงกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515

ต่อมา ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8 ได้เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2515 ไทยได้พยายามยึดหมู่บ้านชายแดนลาวสองแห่งคืนจากกองกำลังคอมมิวนิสต์ การโจมตีสิ้นสุดลงด้วยความสูญเสีย โดยนักบินพลเรือนของแอร์อเมริกาเสียชีวิต 1 นาย กองกำลังของไทย 80 นายถูกตรึงอยู่กับที่นานถึง 10 วันไม่สามารถรุกคืบต่อได้ และถูกผลักดันถอยร่นมาในที่สุด

ภาพรวม

เจ้าสุวรรณภูมา นายกรัฐมนตรี ได้ทำข้อตกลงความช่วยเหลือต่างประเทศกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนมกราคม พ.ศ. 2505 พรรคคอมมิวนิสต์จีนให้คำมั่นที่จะสร้างถนนจากมณฑลยูนนานไปยังพระราชอาณาจักรลาว เมื่อรัฐบาลลาว (Royal Lao Government: RLG) พ่ายแพ้ในยุทธการน้ำบัค (Battle of Nam Bac) ที่มีความสำคัญยิ่งในช่วงสงครามกลางเมืองลาว ชาวจีนจึงเริ่มผลักดันการสร้างถนนลงใต้ไปตามหุบเขาปากแบงไปทางประเทศไทย เมื่อเส้นทางใหม่หมายเลข 46 เคลียร์พื้นที่หน้างานไปทางปากแบง ชาวจีนได้ติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยาน 400 กระบอกและทหาร 25,000 นายตามแนวเส้นทาง เมื่อเส้นทางใหม่มาถึงปากแบ่ง มีเพียงแม่น้ำโขงและดินแดนลาวบางส่วนบนฝั่งใต้เท่านั้นที่แยกปลายถนนออกจากดินแดนของไทย ส่งผลให้รัฐบาลไทยเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับการที่จีนจะส่งเสบียงให้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือแม้แต่การรุกรานประเทศไทยจากจีน[2][3][4]

ความเป็นมา

ความไม่สบายใจของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับถนนที่จีนสร้าง (The Chinese Road) ทำให้พวกเขาสนับสนุนปฏิบัติการกวาดล้างชายแดนที่เรียกว่าปฏิบัติการผาลาด (แปลว่า เนินภูเขาลาดลงมา) ปฏิบัติการนี้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2514 ส่งผลให้กองทัพบกไทยจัดตั้งเขตตั้งรับส่วนหน้า (forward defensive zone) ขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เชียงลม ประเทศลาว กองพันทั้งสามของทหารเสือพรานซึ่งประจำการอยู่ที่นั่นในเดือนสิงหาคมเรียกว่า หน่วยรบเฉพาะกิจราทิกุล[1] (ฉก.ราทิกุล; Task Force Rattikone) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยยังคงไม่สบายใจเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนของประเทศ[5]

ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี

จากนั้นไทยจึงวางแผนโจมตีตามอดีตผู้บัญชาการกรมทหารบก คือ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2514 กองพัน 3 กองพันของกองทัพบกสามารถยึดตำแหน่งคืนได้หลายแห่งบนฝั่งใต้ของแม่น้ำโขงตรงข้ามปากแบ่ง แม้ว่าฐานที่มั่นเหล่านี้จะตั้งอยู่ในดินแดนของลาวมากกว่าของไทย แต่การยึดครองของฐานที่มั่นเหล่านี้ได้เพิ่มช่องว่างทางภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติของแม่น้ำโขงระหว่างลาวและไทย[6]

พื้นที่ดังกล่าวนี้อยู่ในสงบเป็นเวลาหลายเดือน จากนั้นในฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2515 ไทยได้ตั้งจุดยุทธศาสตร์ใหม่สองจุดบนฝั่งใต้ของแม่น้ำโขง และได้ติดตั้งปืนใหญ่วิถีโค้งขนาด 75 มม. จำนวน 2 กระบอก กองกำลังคอมมิวนิสต์ได้ข้ามแม่น้ำและโจมตีฐานยิงแห่งใหม่เป็นระยะเวลา 6 วัน 7 คืนโดยใช้ทุ่นระเบิดพลาสติกชนิดใหม่ที่ไม่สามารถตรวจจับได้ เมื่อแอร์อเมริกาพยายามส่งกลับสายแพทย์ทหารไทยที่บาดเจ็บออกไปเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2515 เครื่องบิน เอช-34 ลำหนึ่งของพวกเขาถูกยิงตกที่ห่างจากจุดที่ถูกปิดล้อมไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 12 กิโลเมตร[7]

วันรุ่งขึ้น กองพันทหารเสือพรานได้ถูกส่งขึ้นเฮลิคอปเตอร์เพื่อเข้าไปยังจุดตกของเฮลิคอปเตอร์แอร์อเมริกา จากจุดลงจอดนั้น พวกเขาเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือและขุดสนามเพลาะล้อมรอบไว้สองแห่ง กองพันที่ถูกส่งเข้าไปประจำการอยู่จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม เมื่อกองพันทหารเสือพรานรับจ้างชุดใหม่ถูกส่งเข้ามาสับเปลี่ยนกำลัง[8]

ไม่นานนัก กองพันที่เข้ามาสับเปลี่ยนกำลังถูกโจมตีโดยกองกำลังปะเทดลาวประมาณ 500 นาย จนกระทั่งผ่านไป 7 วัน ได้มีการใช้การโจมตีทางอากาศเชิงยุทธวิธีโจมตีกองกำลังของคอมมิวนิสต์ ประกอบไปด้วย เครื่องบินเอซี-47 และเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธ ยูเอช-1เอ็ม ของไทย รวมถึงเครื่องบิน เอ-1 สกายไรเดอร์ และเครื่องบิน ที-28 โทรจาน ก็ทิ้งระเบิดและยิงจรวดใส่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ในที่สุดกองกำลังปะเทดลาวก็ถอยทัพแนวรบดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา ฝ่ายไทยก็ได้ถอนทัพเช่นกันเพราะคิดว่าไม่สามารถที่จะรักษาตำแหน่งไว้ได้[8]

ความสูญเสียในปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี ฝ่ายไทยเสียชีวิต 10 นาย บาดเจ็บ 29 นาย และพบศพของข้าศึกจำนวน 15 ราย รวมถึงสามารถยึดอาวุธได้อีกจำนวนมาก[1]

ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8

ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2515 กองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยประมาณ 100 นายได้บุกเข้าไปในลาวและยึดหมู่บ้านชายแดนลาว 2 แห่ง[8] คือบ้านเล่าอู และบ้านกิมสตาง[1]ซึ่งอยู่ห่างจากเชียงลมไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 45 กิโลเมตร มีการวางแผนตอบโต้ร่วมกันระหว่างไทยและลาว ไทยได้ส่งกรมผสมที่ 7 (7th Regimental Combat Team: 7th RCT) ไปร่วมปฏิบัติการ ขณะที่ลาวมอบหมายให้ทหารเสือพรานไทยบางส่วนจัดตั้งหน่วยจู่โจม 2 ชุด อย่างไรก็ตาม การตีกระหนาบสองข้างอย่างก้ามปูได้ล้มเหลวลงเมื่อไทยต้องโจมตีท่ามกลางสภาพอากาศที่มีสายฝนที่เทลงมาอย่างหนักเป็นเวลานาน หลังจากความสูญเสียของฝ่ายไทยผ่านไปหลายวัน กรมผสมที่ 7 ได้ล่าถอยไปอย่างไม่เป็นกระบวน ทำให้หลังจากนั้นกองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจึงหันเป้าหมายไปยังทหารรับจ้างของไทยอีกฝั่งโดยระดมยิงปืนไร้แรงสะท้อนและปืนครกเข้าใส่[8]

กำลังทหารเสือพรานรับจ้างชาวไทยชุดแรกได้ถอนกำลังออกไป ทำให้กำลังของคอมมิวนิสต์ไทยสามารถปิดล้อมกำลังทหารเสือพรานอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีกำลังพล 80 นายได้สำเร็จ หน่วยรบพิเศษกุ้ภัยจำนวน 70 นายถูกแทรกซึมมาจากแม่น้ำโขงด้วยปืนใหญ่วิถีโค้งขนาด 75 มม. และปืนครกขนาด 4.2 นิ้ว ด้วยการสนับสนุนการยิงจากปืนใหญ่วิถีโค้งและปืนครก จึงได้มีการทดลองปฏิบัติการส่งกลับสายแพทย์ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ส่งผลให้นักบินผู้ช่วยที่เป็นพลเรือนของแอร์อเมริกาถูกยิงที่ศีรษะเสียชีวิต ส่งผลให้ต้องยุติการส่งกลับสายแพทย์[8]

ทหารเสือพรานรับจ้างชาวไทยถูกปิดล้อมไว้เป็นเวลา 10 วันก่อนที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยจะเข้าช่วยเหลือและนำพวกเขากลับไปที่ฐานยิงชั่วคราว ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ถอนตัวเช่นกัน ทั้งแอร์อเมริกาและกองทัพอากาศสหรัฐต่างไม่กล้าแทรกซึมออกเนื่องจากอาจเกิดการยิงภาคพื้นดินได้ ในขณะนั้น ผู้บัญชาการทหารไทยที่อยู่ในที่เกิดเหตุได้กระโดดร่มลงมาที่ฐานยิงเพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่มีการโจมตีภาคพื้นดินเกิดขึ้นแล้ว ทำให้ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 22 ได้ลำเลียงกำลังพลและปืนออกจากพื้นที่เพื่อสิ้นสุดปฏิบัติการ[8]

ความสูญเสียของปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8 ฝ่ายไทยเสียชีวิต 23 นาย บาดเจ็บ 64 นาย ขณะที่ฝ่ายข้าศึกเสียหายจากการโจมตีทางอากาศและปืนใหญ่ใกล้เคียงกัน[1]

ผลลัพธ์

การมาถึงของกองทหารจีนทั้งกองที่เมืองไซ บนเส้นทางหมายเลข 46 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2514 ถือเป็นสิ่งที่น่าหนักใจของไทย เช่นเดียวกับเหตุการณ์หลายครั้งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2514 และมกราคม พ.ศ. 2515 เมื่อเครื่องบินที่บินใกล้เส้นทางหมายเลข 46 ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ถูกยิงด้วยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในภาวะสงครามกับจีนคอมมิวนิสต์อย่างเป็นทางการ แต่รัฐบาลไทยได้แสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะปกป้องพรมแดนไทยโดยเปิดฉากปฏิบัติการผาลาดและและปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี 8[7]

หมายเหตุ

  1. ชื่อตามการแปลภภาษาอังกฤษของ Operation ในวิกิพีเดียไทย จึงใช้ไปในทางเดียวกัน ขณะที่ยุทธการจะใช้กับคำว่า Battle
  2. ชื่อตามการเรียกและการรับรู้โดยทั่วไปของไทย เช่น การพูดถึงในเฟซบุ๊ก และในเอกสารของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[1]
  3. ในบันทึกภาษาอังกฤษและในหน้าวิกิภาษาอังกฤษสะกดเป็น สุริศักดิ์มนตรี (Sourisak Montry) แทนที่จะเป็นสุรศักดิ์มนตรี (Surasakmontri) จึงขอยึดเอาตามหลักฐานของฝั่งไทยคือหนังสือของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 E-Book วิชาประวัติศาสตร์การสงครามไทย Thai War History MS 3003 นนร.ชั้นปีที่ 3 (PDF). กองวิชาประวัติศาสตร์การสงคราม ส่วนวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. 2562.[ลิงก์เสีย]
  2. Conboy, Morrison, pp. 315-318.
  3. Anthony, Sexton, pp. 238-239.
  4. Stuart-Fox, p. 56.
  5. Conboy, Morrison, pp. 318-319.
  6. Conboy, Morrison, p. 319.
  7. 7.0 7.1 Conboy, Morrison, pp. 319-320.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Conboy, Morrison, p. 320.

บรรณานุกรม

  • Anthony, Victor B. and Richard R. Sexton (1993). The War in Northern Laos. Command for Air Force History. OCLC 232549943.
  • Conboy, Kenneth and James Morrison (1995). Shadow War: The CIA's Secret War in Laos. Paladin Press. ISBN 978-1-58160-535-8.
  • Stuart-Fox, Martin (2008) Historical Dictionary of Laos. Scarecrow Press. ISBNs 0810864118, 978-0-81086-411-5.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9