วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[1] ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 5 และเป็นอดีตรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงการคลังและอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ประวัติวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรคนที่ 6 ของนายอุย กับนางไน้ ศรีสุพรรณ มีพี่น้อง 6 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยลามาร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 38 วิสุทธิ์ สมรสกับนางฤดีมน ศรีสุพรรณ (สกุลเดิม เรืองศิริ) มีบุตรสาว 2 คน การทำงานราชการวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง เคยดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง[2] ในปี พ.ศ. 2539-2542 เป็นอธิบดีกรมบัญชีกลาง[3] ในปี พ.ศ. 2542-2545 เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในปี พ.ศ. 2545-2546 เป็นอธิบดีกรมธนารักษ์[4] ในปี พ.ศ. 2546-2550 เป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ในปี พ.ศ. 2550 และอธิบดีกรมศุลกากรในปีถัดมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 ได้รับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการคลัง ในปีเดียวกันนั้นเขาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนปลัดกระทรวงการคลัง ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ถึง 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552 แทนนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ซึ่งลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[5] โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช เป็นผู้เสนอชื่อ และยังมีความสนิทสนมกับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจอีกด้วย[6] กระทั่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมศุลกากร[7] โดยตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง ได้มีการแต่งตั้งนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทน งานการเมืองในปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสมหมาย ภาษี) ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[8] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[9] เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี 2562 และได้ลาออกในปี 2565 งานธุรกิจวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เป็นกรรมการบริษัท พฤกษา เรียสเอสเตท จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปี พ.ศ. 2557 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|