วราวุธ ศิลปอาชา
วราวุธ ศิลปอาชา ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2516) ชื่อเล่น ท็อป เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสินและแพทองธาร ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประวัตินายวราวุธ ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2516 ที่แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[2] มีชื่อเล่นว่า "ท็อป" เป็นลูกชายคนสุดท้องของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยและอดีตนายกรัฐมนตรี กับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา (เลขวัต) ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสุวรรณา ศิลปอาชา (สกุลเดิม ไรวินท์) นายกสมาคมกีฬาฟิกเกอร์และสปีดสเก็ตติ้งแห่งประเทศไทย/กรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องสาวของ กุ้ง-รวิช ไรวินท์ นักแสดงชื่อดัง และพี่สาวของ หญิง-กัญญา ไรวินท์ พิธีกรและนักแสดงชื่อดัง มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ 1. ด.ญ.ฑีฆรี ศิลปอาชา (เทมส์) 2. ด.ช.ฤทธน ศิลปอาชา (บิ๊กเบน) 3. ด.ช.ปฬมพร ศิลปอาชา (ออสติน) การศึกษาวราวุธ ศิลปอาชา จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และเรียนต่อมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี B.Eng. (Mechanical Engineering) มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ประเทศอังกฤษ และระดับปริญญาโท MBA in Finance and Banking มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา การทำงานวราวุธ ศิลปอาชา เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมืองตามบิดา โดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี ในปี 2544, 2548 และ 2550 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[3] ปี 2557 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ในปี 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค[4] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ[5] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า[6] เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปี 2566 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่ออีกสมัย[7] และต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[8] ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
เกียรติคุณปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม[9] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูล
|