Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

พรรคเสรีมนังคศิลา

พรรคเสรีมนังคศิลา
หัวหน้าแปลก พิบูลสงคราม
รองหัวหน้าสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
เลขาธิการเผ่า ศรียานนท์
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม (2500)
ก่อตั้ง29 กันยายน พ.ศ. 2498
ถูกยุบ21 ธันวาคม พ.ศ. 2500 (2 ปี)
ยุบรวมกับพรรคชาติสังคม
ที่ทำการบ้านมนังคศิลา ถนนหลานหลวง เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อุดมการณ์อนุรักษนิยม
ชาตินิยม
อำนาจนิยม
สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 8
83 / 160
สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 9
4 / 160
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเสรีมนังคศิลา เป็นพรรคการเมืองในลำดับแรกประเทศไทย จดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2498[1] หลังจากมี พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 ออกมาใช้ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่เปิดให้จดทะเบียนพรรคการเมืองได้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย มีหัวหน้าพรรค คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เลขาธิการพรรคคือ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ มีรองหัวหน้าพรรคได้แก่ พลเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์, พลตรี ประภาส จารุเสถียร เป็นต้น มีที่ทำการพรรคอยู่ที่บ้านมนังคศิลา อันเป็นที่มาของชื่อพรรคโดยได้มีพิธีเปิดป้ายที่ทำการพรรคเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 [2]

พรรคเสรีมนังคศิลา เอาชนะการเลือกตั้งได้ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ได้ชื่อว่าสกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์[3] เพราะมีการใช้กลโกงต่าง ๆ สารพัด ผลการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร พรรคเสรีมนังคศิลาได้รับเลือกตั้งมาทั้งหมด 6 คน และผลรวมทั้งประเทศได้ 83 คน จากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 160 คน แต่ผลการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลไม่เป็นที่ยอมรับได้จากประชาชน วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไปได้เดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งไปยังทำเนียบรัฐบาล มีการลดธงครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยการเลือกตั้ง เหตุการณ์บานปลายต่อเนื่องจนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทหารของพลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และกลุ่มทหารของจอมพล ป. และกลุ่มตำรวจของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ จนกลายเป็นการรัฐประหารในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500 ทางพรรคได้ถูกยุบรวมเข้ากับ พรรคชาติสังคม ก่อนที่สฤษดิ์จะกระทำการ รัฐประหารซ้ำอีกครั้งในปี พ.ศ. 2501 ซึ่งประกาศของคณะรัฐประหารในครั้งนี้ ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด รวมทั้งพรรคการเมืองด้วย บทบาทของพรรคเสรีมนังคศิลา ก็ยุติลงแต่เพียงเท่านี้[4]

รายชื่อนายกรัฐมนตรี

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (วาระ: 2500)

อ้างอิง

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเสรีมนังคศิลาราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอน 86ง วันที่ 8 พฤศจิกายน 2498
  2. ซึ่งฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการคัดเลือกจากหอภาพยนตร์ให้เป็นภาพยนตร์มรดกของชาติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560
  3. 26 กุมภาพันธ์ 2500 – เลือกตั้งสกปรกที่สุดในประวัติศาสต์การเมืองไทย
  4. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้บรรดาพรรคการเมืองที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลงไป)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2012-07-27.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูล

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9