Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520

กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520
วันที่26 มีนาคม พ.ศ. 2520 (47 ปีที่แล้ว)
สถานที่
ผล

ชัยชนะของรัฐบาล

  • พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ ถูกตัดสินประหารชีวิต
คู่สงคราม
รัฐบาลธานินทร์ ฝ่ายกบฎ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
พลเอก เสริม ณ นคร
พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ
พันโท สนั่น ขจรประศาสน์
พันตรี บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
พันตรี วิศิษฐ์ ควรประดิษฐ์
พันตรี อัศวิน หิรัญศิริ
พลตรี อรุณ ทวาทศิน ถูกพลเอก ฉลาด ยิงเสียชีวิต

กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 เป็นความพยายามก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร โดย พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกองกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก สวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520

เหตุการณ์

โดยเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หลังการจลาจลและรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ผ่านมาได้ 3 เดือน มีความวิตกกังวลและตรึงเครียดอยู่เสมอ ๆ ว่า อาจจะมีการรัฐประหารซ้อนขึ้นมาจากทหารกลุ่มที่ไม่ใช่ทหารที่มีอำนาจอยู่ในขณะนั้น (สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน) จนกระทั่งเกิดขึ้นจริงในเวลาเช้ามืดของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 เมื่อทหารกลุ่มหนึ่ง ที่นำโดย พล.อ. ฉลาด ซึ่งเป็นอดีตรองผู้บัญชาการทหารบกที่ยังมีอิทธิพลอยู่ในกองทัพ จำนวน 300 นาย จาก กองพันทหารราบที่ 19 พัน 1, 2 และ 3 แต่งเครื่องแบบสนามติดธงไตรรงค์เล็ก ๆ ที่ต้นแขนเพื่อเป็นสัญลักษณ์ พร้อมอาวุธปืน เคลื่อนกำลังเข้ายึดสถานที่สำคัญต่าง ๆ ดังที่ปรากฏข้างต้น ซึ่งเป็นส่วนบัญชาการในกรุงเทพมหานคร

ต่อมาในเวลาสาย คณะผู้ก่อการที่นำโดย พล.อ. ฉลาด ได้ออกประกาศทางวิทยุกระจายเสียงเป็นแถลงการณ์ อ้างถึงความเสื่อมโทรมด้านต่าง ๆ และอ้างเหตุของการยึดอำนาจ โดยมีใจความว่า

ทั้งนี้เพื่อเป็นแกนกลางของบรรดาผู้รักชาติที่จะร่วมมือกันที่จะแก้ไขสถานการณ์บ้านเมืองให้ดีขึ้น และเพื่อสถาปนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด

โดยอ้างว่า แถลงการณ์ฉบับนี้ลงนามโดย พล.อ. ประเสริฐ ธรรมศิริ รองผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ซึ่งเป็นนายทหารที่บรรดากำลังพลในกองทัพให้ความเคารพนับถืออยู่ ซึ่งในเหตุการณ์นี้ได้มีนักการเมืองที่มีชื่อเสียง 2 คน เข้าร่วมด้วย คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ และ พ.ท. สนั่น ขจรประศาสน์

จากแถลงการณ์นี้ทำให้ รัฐมนตรีร่วมรัฐบาลท่านหนึ่งที่อยู่ที่ต่างจังหวัด ถึงกับคิดว่ารัฐบาลถูกยึดอำนาจไปแล้วเรียบร้อย รีบเดินทางกลับกรุงเทพฯ และคืนรถประจำตำแหน่งและกลับบ้านพักของตัวเอง

ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปราว 1 ชั่วโมง ฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้นนำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อ. กมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพล.อ. เสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้รวมตัวกันและออกแถลงการณ์ตอบโต้ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ยืนยันว่า กองกำลังทหารและตำรวจยังยืนอยู่ข้างรัฐบาล และอ้างว่า พล.อ. ประเสริฐ ถูกบังคับให้ลงนามโดยที่ไม่เต็มใจ และได้ร่วมกันปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ โดยเข้าปิดล้อม จนนำไปสู่การเจรจาและฝ่ายผู้ก่อการยอมมอบตัวและขอให้ผู้นำการปฏิบัติการครั้งนี้ลี้ภัยไปยังต่างประเทศ แต่เอาเข้าจริงแล้ว พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ ผู้นำการก่อการถูกจับและถูกดำเนินคดี ด้วยการถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 27 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 ความว่า "มาตรา ๒๗ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้ และไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ และให้ถือว่า คำสั่งหรือการกระทำของนายกรัฐมนตรี รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่ง หรือการกระทำ หรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยกฎหมาย"[1] ในวันที่ 21 เมษายน ปีเดียวกันนั้น นับเป็นกบฏคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตตราบจนบัดนี้[2][3]

หลังจากสิ้นสุด

โดยในเหตุการณ์ครั้งนี้ พล.ต.อรุณ ทวาทศิน ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ถูกยิงเสียชีวิตด้วยจาก พล.อ.ฉลาด เมื่อเป็นผู้พยายามเข้าไปแย่งปืนจาก พล.อ.ฉลาด ระหว่างที่ถูกควบคุมตัว ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความพยายามในการรัฐประหารครั้งนี้ล้มเหลว เนื่องจากขาดกำลังสนับสนุนจากทหารในกองพลที่ 1 ซึ่งเป็นทหารที่คุมกำลังในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวง[4]

อย่างไรก็ตาม ในที่สุด พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ก็ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศได้สำเร็จในวันที่ 20 ตุลาคม ปีเดียวกับกบฏครั้งนี้ หรืออีก 7 เดือนต่อมานั่นเอง

อ้างอิง

  1. คณะปฏิวัติ. "ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 - วิกิซอร์ซ". th.wikisource.org.
  2. กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
  3. กบฏอดข้าว โดย ไทยรัฐ
  4. นรนิติ เศรษฐบุตร ศ., 26 มีนาคม คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย: หน้า 8 เดลินิวส์ฉบับที่ 22,807 ประจำวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9