Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535

← พ.ศ. 2531 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 กันยายน พ.ศ. 2535 →

ทั้งหมด 360 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
ต้องการ 181 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน32,436,283
ผู้ใช้สิทธิ59.24% (ลดลง 4.32)
  First party Second party Third party
 
Narong Wongwan.jpg
Somboon rahong.jpg
Carlos Menem with Chavalit Yongchaiyudh (cropped).jpg
ผู้นำ ณรงค์ วงศ์วรรณ สมบุญ ระหงษ์ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
พรรค สามัคคีธรรม ชาติไทย ความหวังใหม่
ผู้นำตั้งแต่ 3 มกราคม 2535 27 กรกฎาคม 2534 16 ตุลาคม 2533
เขตของผู้นำ แพร่ เขต 1 สมุทรปราการ เขต 2 นนทบุรี เขต 1
เลือกตั้งล่าสุด พรรคใหม่ 87 ที่นั่ง, 19.29% พรรคใหม่
ที่นั่งที่ชนะ 79 74 72
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 79 ลดลง 13 พรรคใหม่
คะแนนเสียง 8,578,529 7,305,674 9,980,150
% 19.3% 16.4% 22.4%
%เปลี่ยน พรรคใหม่ ลดลง 2.88 จุด พรรคใหม่

  Fourth party Fifth party Sixth party
 
Chuan Leekpai 1999 cropped.jpg
Chamlong Srimuang 2008 (cropped).jpg
Montri Phongphanit.jpg
ผู้นำ ชวน หลีกภัย จำลอง ศรีเมือง มนตรี พงษ์พานิช
พรรค ประชาธิปัตย์ พลังธรรม กิจสังคม
ผู้นำตั้งแต่ 26 มกราคม 2534 9 มิถุนายน 2531 9 มิถุนายน 2534
เขตของผู้นำ ตรัง เขต 1 กรุงเทพฯ เขต 2 อยุธยา เขต 1
เลือกตั้งล่าสุด 48 ที่นั่ง, 11.29% 15 ที่นั่ง, 9.09% 53 ที่นั่ง, 11.79%
ที่นั่งที่ชนะ 44 41 31
ที่นั่งเปลี่ยน ลดลง 4 เพิ่มขึ้น 26 ลดลง 22
คะแนนเสียง 4,705,376 5,104,849 3,586,714
% 10.57% 11.5% 8.1%
%เปลี่ยน ลดลง 0.72 จุด เพิ่มขึ้น 2.38 จุด ลดลง 3.73 จุด

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
รหัสสี: สามัคคีธรรม, ชาติไทย, ความหวังใหม่, ประชาธิปัตย์, พลังธรรม, กิจสังคม, ประชากรไทย, ราษฎร, มวลชน, อื่น ๆ
แต่ละจังหวัดอาจประกอบด้วยที่นั่งเดียวหรือหลายที่นั่งก็ได้ โดยสีที่ปรากฏนี้บ่งบอกถึงพรรคที่ได้ที่นั่งมากที่สุดในจังหวัดนั้น

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

อานันท์ ปันยารชุน
อิสระ

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

สุจินดา คราประยูร
อิสระ

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า 35/1 จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นครั้งแรกหลังจากที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จากพรรคชาติไทยด้วยการรัฐประหารเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 มีทั้งหมด 15 พรรค และผู้สมัคร 2,185 คน ที่นั่งทั้งหมด 360 ที่นั่ง ผลที่ตามมาคือชัยชนะของพรรคสามัคคีธรรมซึ่งเป็นพรรคที่เพิ่งก่อตั้ง โดยได้ 79 ที่นั่ง แม้จะได้คะแนนเสียงน้อยกว่าพรรคความหวังใหม่ที่นำโดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 59.2%[1]

การตั้งพรรคสามัคคีธรรม

พรรคสามัคคีธรรม เป็นพรรคการเมืองที่รวบรวมนักการเมืองมาจากหลายพรรค และมีบุคคลใกล้ชิดกับคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ดำรงตำแหน่งสำคัญคือ นาวาอากาศตรีฐิติ นาครทรรพ ที่เป็นเลขาธิการพรรค

หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม คือ นายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรครวมไทย และอดีตหัวหน้าพรรคเอกภาพ พรรคสามัคคีธรรมถูกตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนแกนนำของคณะ รสช. และอาจจะกล่าวได้ว่าแกนนำของ คณะ รสช. บางคน มีส่วนสนับสนุนพรรคนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ หลังการเลือกตั้ง พรรคสามัคคีธรรม จึงเป็นพรรคที่มาคล้ายกับ พรรคเสรีมนังคศิลา ที่เคยสนับสนุน จอมพล ป.พิบูลสงคราม และ พรรคสหประชาไทย ที่เคยสนับสนุน จอมพลถนอม กิตติขจร ในการรักษาอำนาจหลังการรัฐประหาร นอกจากนี้นักการเมืองบางคนในสังกัด พรรคสามัคคีธรรม ยังเคยสังกัดใน พรรคเสรีนังคศิลา และพรรคสหประชาไทย อีกด้วย

ผลการเลือกตั้ง

สัญลักษณ์ ชื่อพรรค หัวหน้าพรรค จำนวน ส.ส.
พรรคสามัคคีธรรม นายณรงค์ วงศ์วรรณ 79 คน
พรรคชาติไทย พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ 74 คน
พรรคความหวังใหม่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 72 คน
พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย 44 คน
พรรคพลังธรรม พลตรีจำลอง ศรีเมือง 41 คน
พรรคกิจสังคม นายมนตรี พงษ์พานิช 31 คน
พรรคประชากรไทย นายสมัคร สุนทรเวช 7 คน
พรรคเอกภาพ นายบุญชู โรจนเสถียร 6 คน
พรรคราษฎร พลเอกมานะ รัตนโกเศศ 4 คน
พรรคมวลชน ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง 1 คน
พรรคปวงชนชาวไทย พันเอกพล เริงประเสริฐวิทย์ 1 คน

การเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร พรรคพลังธรรมประสบความสำเร็จอย่างมากในการเลือกตั้งครั้งนั้น โดยคว้าชัยชนะถึง 32 จาก 35 ที่นั่ง ส่งผลให้นักการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคนไม่ได้รับเลือกตั้ง รวมไปถึงร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง หัวหน้าพรรคมวลชน (ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย), นายมารุต บุนนาค, นายปราโมทย์ สุขุม, นายพิชัย รัตตกุล, นายเจริญ คันธวงศ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ และยังเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของนักการเมืองหน้าใหม่ที่ต่อมาได้กลายเป็นบุคคลสำคัญบนเวทีการเมือง ได้แก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ซึ่งเป็น ส.ส. เพียงคนเดียวของพรรคในกรุงเทพมหานคร และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จากพรรคพลังธรรมปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย

การจัดตั้งรัฐบาล

ในชั้นแรกพรรคสามัคคีธรรม ประสบความสำเร็จ ในการสนับสนุน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ส.ส.ของพรรคขึ้นเป็น ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญเพราะมีสถานะเป็น ประธานรัฐสภาโดยตำแหน่งซึ่งก็คือเป็นผู้นำรายชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าและเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แต่ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 216[2][a] ซึ่งผู้มีหน้าที่นำรายชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมทรงลงพระปรมาภิไธยและเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งคือ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ [3] [4] โดยนำมาตรา 18 ถึงมาตรา 23 แห่ง ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534[5] ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับรสช. มาประกอบใช้กับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย โดยเฉพาะมาตรา 21 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามคำกราบบังคมทูลของประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ[b] และมาตรา 23 วรรคหนึ่ง ซึ่งให้อำนาจประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง[c]

ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ มีสื่อมวลชนไปสัมภาษณ์ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการทหารบก รองหัวหน้าคณะ รสช. หลายครั้งว่าจะเป็น นายกรัฐมนตรีหรือไม่ ซึ่ง พล.อ.สุจินดา ได้ตอบปฏิเสธอย่างชัดเจนว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[6] ซึ่งทำให้นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดมีโอกาสที่จะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแต่ปรากฏข่าวว่าสหรัฐอเมริกาเคยปฏิเสธที่จะออกวีซ่า ให้กับนายณรงค์ เนื่องจากสงสัยมีการพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด[7]ซึ่งกรณีดังกล่าว นายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง และว่าข่าวนี้เป็นการจงใจสร้างเรื่องขึ้นเพื่อกีดกันไม่ให้ตนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[8] และสื่อมวลชนสัมภาษณ์ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ลงนามโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีว่า ใครเหมาะสมที่จะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้ง พลเอกสุนทรตอบว่า “ถ้าสุไม่เป็น ก็ให้เต้เป็น” ซึ่งหมายถึงพลเอกสุจินดา คราประยูร และ พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล คำให้สัมภาษณ์ของพลเอกสุนทรจึงถูกโจมตีอย่างหนัก[9]

พรรคสามัคคีธรรมได้ที่นั่งมากที่สุด คือ 79 ที่นั่ง จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด 360 ที่นั่ง ทำให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยได้รับการสนับสนุนจากอีก 4 พรรค รวมเป็น 5 พรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคสามัคคีธรรม (ส.ส. 79 คน) พรรคชาติไทย (ส.ส. 74 คน) พรรคกิจสังคม (ส.ส. 31 คน) พรรคประชากรไทย (ส.ส. 7 คน) และพรรคราษฎร (ส.ส. 4 คน) รวมเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 195 คน

ขณะที่พรรคฝ่ายค้านประกอบด้วย 6 พรรค คือ พรรคความหวังใหม่ (ส.ส. 72 คน) พรรคประชาธิปัตย์ (ส.ส. 44 คน) พรรคพลังธรรม (ส.ส. 41 คน) พรรคเอกภาพ (ส.ส. 6 คน) พรรคปวงชนชาวไทย (ส.ส. 1 คน) และพรรคมวลชน (ส.ส. 1 คน) รวม 165 คน

ต่อมามีการยืนยันจากนางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นผู้หนึ่งที่ “ต้องห้าม” ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกา เพราะมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด[10] ทำให้แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลได้เลือกเสนอชื่อ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นทูลเกล้าฯ และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 ท่ามกลางกระแสเรียกร้อง "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" ที่เป็นกระแสหลักของสังคมในขณะนั้น ต่อเนื่องมาจากยุคของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และทำให้พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 ถูกขนานนามจากสื่อมวลชนยุคนั้นว่า พรรคมาร

เมื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว พล.อ.สุจินดา ก็ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดโดยมี พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบกซึ่งเป็นพี่ภรรยาของพลเอกสุจินดาได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง

หลังจากมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง พล.อ.สุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดกระแสต่อต้านจากสังคมมากมาย ถึงขั้นมีประชาชนชุมนุมประท้วงจำนวนมาก และในที่สุดนำไปสู่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งทำให้ในปีนี้ต้องจัดเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งคือ การเลือกตั้ง 13 กันยายน พ.ศ. 2535 (35/2)

เชิงอรรถ

  1. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 มาตรา 216 บัญญัติว่า เมื่อใช้รัฐธรรมนูญนี้แล้ว ให้บทบัญญัติมาตรา 7 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 217 และให้บทบัญญัติ มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 23 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
  2. รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 21 บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามคำกราบบังคมทูลของประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และรัฐมนตรีตามจำนวนที่นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูล ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
  3. รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 23 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Dieter Nohlen, Florian Grotz & Christof Hartmann (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p286 ISBN 0-19-924959-8
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (มาตรา 216)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุจินดา คราประยูร) ราชกิจจานุเบกษา,เล่ม 109 ตอน 41 7 เมษายน พ.ศ. 2535 หน้า 1
  4. บทเฉพาะกาล มาตรา 216 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534[ลิงก์เสีย]
  5. ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (มาตรา 18 ถึงมาตรา 23)
  6. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, 2535: หน้า 31
  7. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, 2535: หน้า 3
  8. ชนะคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ขอปรึกษาฟ้องแพ่งค่ะ
  9. 33 ปี รัฐประหาร รสช. ศึกชิงอำนาจที่นำไปสู่ "พฤษภาทมิฬ"
  10. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, 2535: หน้า 3

บรรณานุกรม

  • ศรีเมือง, พล.ต.จำลอง (2535). ร่วมกันสู้. ธีระการพิมพ์. ISBN 974-88799-9-2.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9