Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2490
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ลงนามในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร​)
วันลงนาม9 พฤศจิกายน 2490
ผู้ลงนามรับรองจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย)
วันลงนามรับรอง9 พฤศจิกายน 2490
วันประกาศ9 พฤศจิกายน 2490
วันเริ่มใช้9 พฤศจิกายน 2490
ท้องที่ใช้ไทย ราชอาณาจักรไทย
การร่าง
ชื่อร่างร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ผู้ยกร่างคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2490
การยกเลิก
ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 4 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 หรือหนึ่งวันหลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย หรือ ผู้บัญชาการทหารบกในปัจจุบัน เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

โดยมีเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นผู้ตรวจร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวใช้บังคับในขณะนั้น[1]

ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้และได้มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2490 อันตรงกับวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกเมื่อปี 2492 ภายหลังการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ[2]

ประวัติความเป็นมา

ก่อนทำการรัฐประหาร เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหารได้ทำการยกร่างรัฐธรรมนูญเตรียมไว้ คือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490” ซึ่งประกาศใช้ภายหลังเมื่อรัฐประหารสำเร็จ

หลังการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสร็จ หลวงกาจสงครามนำไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำ ด้วยเกรงว่าจะถูกค้นพบและถูกข้อหากบฏ ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เรียกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า “ฉบับใต้ตุ่ม” หรือ “ฉบับตุ่มแดง” คณะรัฐประหาร ได้ให้เหตุผลในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แทนรัฐธรรมนูญฉบับเดิมว่าจำต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เพราะ

รัฐธรรมนูญฉบับก่อน เหมาะสมกับประเทศไทยในสมัยก่อนเท่านั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะเป็นวิถีทางจรรโลงประเทศชาติให้วัฒนาถาวร จะเป็นทางบำบัดยุคเข็ญของประชาชนทั้งปวง

สาระสำคัญ

รัฐสภา มีสองสภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทน

วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี แต่ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนด 3 ปี ให้มีการเปลี่ยนสมาชิกวุฒิสภาจำนวนกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับสลาก สภาผู้แทน ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของราษฎร มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ เชื้อชาติไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างน้อย 15 คน อย่างมาก 25 คน ในการตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานคณะอภิรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ รัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ

การสิ้นสุด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 ถูกยกเลิกเนื่องจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 รับธรรมนูญฉบับนี้มีระยะเวลาในการใช้บังคับ 1 ปี 4 เดือน 13 วัน

เกร็ดเล็ก ๆ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490

ได้นำ "วุฒิสภา" มาใช้เป็นครั้งแรก แทน "พฤฒสภา"

อ้างอิง

  1. ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  2. นริศรา เพชรธนาภรณ์,ใหม่ มูลโสม;อินโฟกราฟิก เรื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ปีที่แต่ง 7 มิถุนายน 2564 https://library.parliament.go.th/th/infographic/2019-06-07 สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2567
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9