ทางรถไฟสายสงขลา
ทางรถไฟสายหาดใหญ่–สงขลา[1] หรือ ทางรถไฟสายสงขลา–สุไหงโก-ลก[2] เป็นทางแยกสายหนึ่งของทางรถไฟสายใต้ ที่ชุมทางหาดใหญ่ สุดปลายทางที่สถานีรถไฟสงขลา มีความยาว 29 กิโลเมตร ประวัติทางรถไฟสายสงขลาเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายใต้ซึ่งในขณะนั้นมีการก่อสร้างเป็นช่วง ๆ เบื้องต้นมีการก่อสร้างเส้นทางสงขลา–พัทลุง ระยะทาง 107 กิโลเมตร กระทรวงคมนาคมจึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เปิดการเดินรถรับส่งผู้โดยสารและสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา[3] กรมรถไฟหลวงก่อสร้างทางรถไฟสายใต้เสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2459 เชื่อมการเดินทางไปถึงสถานีรถไฟบางกอกน้อยได้[4] กรมรถไฟหลวงได้ย้ายทางแยกสายสงขลา จากเดิมแยกที่สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาไปยังสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ เพื่อให้ชุมทางสายสุไหงโก-ลก และสายปาดังเบซาร์รวมอยู่ที่หาดใหญ่ที่เดียว พร้อมกับยุบเลิกสถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาใน พ.ศ. 2465 ทำให้การเดินทางระหว่างสงขลากับหาดใหญ่เป็นไปอย่างสะดวก และมีการเพิ่มขบวนรถเพื่อรองรับผู้โดยสารที่มีมากขึ้นตามลำดับ[4] ในเวลาที่ผู้คนนิยมใช้รถไฟในการโดยสาร ใน พ.ศ. 2509 รัฐบาลได้ก่อสร้างทางหลวงเพิ่มขึ้น มีการปรับปรุงผิวทางจราจรให้แข็งแรง การเดินทางด้วยรถยนต์จึงได้รับความนิยมแทนที่รถไฟ[4] ที่สุดคณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยยกเลิกการเดินรถไฟสายสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 แต่ให้รักษาเขตทางไว้ก่อน โดยมิได้รื้อทางรถไฟออก ปัจจุบันเส้นทางอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม และมีผู้บุกรุกปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนทับบริเวณเขตทางรถไฟเป็นจำนวนมาก[5] โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครสงขลา กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนสถานีรถไฟสงขลา พื้นที่ 3 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา เป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2547[6] สถานีทางรถไฟสายสงขลาประกอบด้วยสถานี ที่หยุดรถและป้ายหยุดรถดังต่อไปนี้[7]
(เป็นข้อมูลในปี พ.ศ. 2511) การฟื้นฟูเมื่อเมืองหาดใหญ่และเมืองสงขลามีการพัฒนาเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก จึงมีแนวคิดที่จะฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้ขึ้นมาใหม่ตามโครงการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยงเมืองสงขลา มี สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นผู้ให้ทุนและมอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาจราจรและขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ศึกษาในปี พ.ศ. 2552 ผลการศึกษาเห็นว่าระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมควรเป็นทางรถไฟรางเดี่ยว ใช้ขบวนรถดีเซลราง โดยมีประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ 5,000 ล้านบาท [8]
ต่อมา เส้นทางนี้ได้ถูกนำมาศึกษาเพื่อฟื้นฟู โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟทางคู่ สายสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา โดยมีระยะทางรวม 29 กิโลเมตร ครอบคลุม 2 อำเภอ 9 ตำบล สถานีในแนวเส้นทาง 7 สถานี (ไม่รวมสถานีชุมทางหาดใหญ่)[9] อ้างอิง
|