รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ |
---|
|
รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อเมษายน พ.ศ. 2560 |
ข้อมูลทั่วไป |
---|
ประเภท | รถด่วนพิเศษ |
---|
สถานะ | เปิดให้บริการ |
---|
ที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง และสงขลา |
---|
ให้บริการครั้งแรก | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (8 ปีก่อน)[1] |
---|
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
---|
เส้นทาง |
---|
ปลายทาง | กรุงเทพอภิวัฒน์ ชุมทางหาดใหญ่ |
---|
จอด | 13 |
---|
ระยะทาง | 946 km (588 mi) |
---|
เวลาเดินทาง | 16 ชั่วโมง 35 นาที |
---|
ความถี่ให้บริการ | 2 เที่ยวต่อวัน (เที่ยวไป/เที่ยวกลับ) |
---|
เลขขบวน | 31 (เที่ยวไป) 32 (เที่ยวกลับ) |
---|
ในเส้นทาง | ทางรถไฟสายใต้ |
---|
บริการบนขบวน |
---|
ชั้น | ชั้น 1,2 |
---|
ผู้พิการเข้าถึงได้ | มีบริการ |
---|
ที่นอน | รถนั่งและนอนชั้น 1 รถนั่งและนอนชั้น 2 |
---|
บริการอาหาร | ตู้เสบียง |
---|
ข้อมูลทางเทคนิค |
---|
ขบวนรถ | รถจักรคิวเอสวาย บนอ.ป.1101-1109 บนท.ป.1301-1379 บนท.ป.1401-1409 |
---|
รางกว้าง | 1,000 mm (3 ft 3 3⁄8 in) |
---|
ความเร็ว | 120 km/h (75 mph) |
---|
แผนที่ทางเดินรถ |
---|
|
|
|
|
|
กรุงเทพอภิวัฒน์
|
|
|
|
|
บางบำหรุ
|
|
|
|
|
ศาลายา
|
|
|
|
|
นครปฐม
|
|
|
|
|
บ้านโป่ง
|
|
|
|
|
ราชบุรี
|
|
|
|
|
เพชรบุรี
|
|
|
|
|
หัวหิน
|
|
|
|
|
ประจวบคีรีขันธ์
|
|
|
|
|
ชุมพร
|
|
|
|
|
สุราษฎร์ธานี
|
|
|
|
|
ชุมทางทุ่งสง
|
|
|
|
|
พัทลุง
|
|
|
|
|
ชุมทางหาดใหญ่
|
|
|
|
|
|
|
|
| |
|
รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ (ทักษิณารัถย์ แปลว่า ทางเดินสู่ภาคใต้; รหัสขบวน: 31/32) เป็นขบวนรถด่วนพิเศษของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการผู้โดยสารระหว่างสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร กับสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นขบวนรถด่วนพิเศษในสายใต้ ชนิดรถที่ให้บริการได้แก่ รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 1 รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 2 รถเสบียงปรับอากาศ รถเฉพาะผู้พิการมีลิฟต์สำหรับรับรถผู้พิการ และรถเฉพาะสุภาพสตรีและเด็กผู้หญิง ทุกตู้จะมีเจ้าหน้าที่ประจำตู้และรถไฟขบวนนี้มีทางขึ้นทั้งแบบชานชาลาต่ำและชานชาลาสูง รถไฟขบวนนี้มีตู้ปั่นไฟ มีถังเก็บน้ำ และมีถังเก็บสิ่งปฏิกูลซึ่งใช้ระบบสุญญากาศ แบบเดียวกันกับที่ใช้บนเครื่องบิน
รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์เริ่มเดินรถเที่ยวปฐมฤกษ์ในเส้นทางกรุงเทพมหานคร-ชุมทางหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559[1] หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดซื้อรถไฟโดยสารเชิงพาณิชย์รุ่นใหม่จากประเทศจีนจำนวนทั้งหมด 115 คัน โดยขบวนรถได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[2] ร่วมกับรถด่วนพิเศษของการรถไฟแห่งประเทศไทยในอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ อุตราวิถี อีสานมรรคา และอีสานวัตนา
ผังขบวน
หมายเลขตู้ขาล่อง
|
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13
|
หมายเลขตู้ ขาขึ้น
|
1 |
13 |
12 |
11 |
10 |
9 |
8 |
7 |
6 |
5 |
4 |
3 |
2
|
ประเภทตู้
|
ตู้ปั่นไฟ
(บฟก.ป)
|
ชั้นสอง (บนท.ป.CNR) |
ตู้เสบียง
(บกข.ป)
|
ชั้นสอง (บนท.ป.CNR) |
ชั้นหนึ่ง
(บนอ.ป CNR)
|
จำนวนที่นั่ง
|
6 |
40 |
40 |
40 |
40 |
36 |
26 |
40 |
40 |
40 |
40 |
40 |
24
|
สิ่งอำนวย ความสะดวก
|
ที่นอนและห้องน้ำสำหรับเจ้าหน้าที่ |
สุขา |
สุขา |
สุขา |
สุขา |
สุขาผู้พิการ พื้นที่วีลแชร์ |
โต๊ะสำหรับทานอาหาร |
สุขา |
สุขา |
สุขา |
สุขา |
สุขา |
สุขา ห้องอาบน้ำ
|
- ขาล่องหัวรถจักรจะอยู่ติดกับตู้ปั่นไฟ (บฟก.ป) ขาขึ้นหัวรถจักรจะอยู่ติดกับตู้ชั้นหนึ่ง (บนอ.ป CNR)
- มีตะขอพ่วงและท่อลมที่พ่วงกับหัวรถจักรที่ตู้ปั่นไฟกับตู้ชั้นหนึ่งเท่านั้น ตู้โดยสารที่อยู่ระหว่างตู้ปั่นไฟกับตู้ชั้นหนึ่งเป็นตะขอพ่วงซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับรถไฟฟ้า ไม่สามารถแยกกันได้
- หมายเลขของตู้ปั่นไฟ (บฟก.ป) จะใช้หมายเลข 1 ทั้งขาขึ้นและขาล่อง
- ตู้เฉพาะสุภาพสตรีและเด็กผู้หญิง หรือ Lady Car จะอยู่ติดกับตู้ชั้นหนึ่ง (บนอ.ป CNR) [ขาล่อง - ตู้หมายเลข 12 , ขาขึ้น - ตู้หมายเลข 3 ]
- ตู้สำหรับผู้พิการ (วีลแชร์) จะอยู่ติดกับรถเสบียง (บกข.ป) [ขาล่อง - ตู้หมายเลข 6 , ขาขึ้น - ตู้หมายเลข 9]
กำหนดเวลาเดินรถ
รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์มีกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
เที่ยวล่อง
เที่ยวขึ้น
อ้างอิง
|
---|
|
รถไฟระหว่างเมือง | |
---|
รถไฟชานเมือง | |
---|
รถไฟความเร็วสูง | |
---|
เส้นทางที่ยกเลิก | สายเหนือ | |
---|
สายตะวันออกเฉียงเหนือ | |
---|
สายใต้ | |
---|
สายตะวันออก | |
---|
สายแม่กลอง | |
---|
|
---|
ขบวนรถไฟ | |
---|
หน่วยงานอื่น | |
---|
|