ขนาดความกว้างรางรถไฟ
|
|
|
|
เกจเล็ก
|
|
สิบห้านิ้ว
|
381 มม.
|
(15 นิ้ว)
|
|
|
เกจแคบ
|
|
สองฟุต
|
597 มม. 600 มม. 603 มม. 610 มม.
|
(1 ฟุต 11 1/2 นิ้ว) (1 ฟุต 11 5/8 นิ้ว) (1 ฟุต 11 3/4 นิ้ว) (2 ฟุต)
|
|
สองฟุตหกนิ้ว
|
750 มม. 760 มม. 762 มม. 800 มม.
|
(2 ฟุต 5 1/2 นิ้ว) (2 ฟุต 5 15/16 นิ้ว) (2 ฟุต 6 นิ้ว) (2 ฟุต 7 1/2 นิ้ว)
|
|
สามฟุต
|
891 มม. 900 มม. 914 มม.
|
(2 ฟุต11 3/32 นิ้ว) (2 ฟุต 11 7/16) (3 ฟุต)
|
|
หนึ่งเมตร
|
1,000 มม.
|
(3 ฟุต 3 3/8 นิ้ว)
|
|
สามฟุตหกนิ้ว
|
1,067 มม.
|
(3 ฟุต 6 นิ้ว)
|
|
สี่ฟุตหกนิ้ว
|
1,372 มม.
|
(4 ฟุต 6 นิ้ว)
|
|
|
รางมาตรฐานยุโรป
|
1,435 มม.
|
(4 ฟุต 8 1/2 นิ้ว)
|
|
|
เกจกว้าง
|
|
รัสเซีย
|
1,520 มม. 1,524 มม.
|
(4 ฟุต 11 27/32 นิ้ว) (5 ฟุต)
|
|
ไอร์แลนด์
|
1,600 มม.
|
(5 ฟุต 3 นิ้ว)
|
|
ไอบีเรีย
|
1,668 มม.
|
(5 ฟุต 5 21/32 นิ้ว)
|
|
อินเดีย
|
1,676 มม.
|
(5 ฟุต 6 นิ้ว)
|
|
อเมริกัน
|
1,829 มม.
|
(6 ฟุต)
|
|
บรูเนล
|
2,140 มม.
|
(7 ฟุต 1/4 นิ้ว)
|
|
แบ่งตามภูมิภาค
|
|
|
ขนาดความกว้างรางรถไฟ (อังกฤษ: Track gauge) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เกจ (gauge) คือระยะห่างของรางรถไฟ โดยวัดจากหัวรางด้านในข้างซ้ายถึงหัวรางด้านในข้างขวา สแตนดาร์ดเกจ (standard gauge) เป็นชื่อของขนาดความกว้างรางที่นิยมใช้มากที่สุดทั่วโลก โดยประมาณ 60% ของรางรถไฟทั้งหมด โดยมีขนาด 1,435 มม. (4 ฟุต 8 1/2 นิ้ว) โดยในเมืองไทยรางรถไฟส่วนใหญ่มีขนาดความกว้างที่เรียกว่า มีเตอร์เกจ ที่มีขนาดความกว้าง 1,000 มม.เพื่อให้มีขนาดเท่ากับประเทศเพื่อนบ้าน
ประเภทของเกจ
เกจแคบ (Narrow gauge)
เกจแคบ (Narrow gauge) เป็นรางรถไฟที่มีความกว้างของรางน้อยกว่า 1.435 เมตร ได้แก่
- เกจสกอตแลนด์ (Scotch gauge) ขนาดความกว้างราง 1.372 เมตร (4 ฟุต 6 นิ้ว)
- เกจแหลม (Cape gauge) ขนาดความกว้างราง 1.067 เมตร (3 ฟุต 6 นิ้ว)
- เกจหนึ่งเมตร (Metre gauge) ขนาดความกว้างราง 1.000 เมตร (3 ฟุต 3 3/8 นิ้ว)
เกจมาตรฐานยุโรป (European Standard gauge)
เป็นรางขนาด 1.435 เมตร เกจนี้มีชื่อเรียกว่า เกจมาตรฐานยุโรป (European Standard Gauge) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เกจมาตรฐาน เป็นเกจที่ชาติยุโรปในอดีตร่วมกันกำหนดให้เป็นเกจมาตรฐานประจำทวีปยุโรป ปัจจุบันเป็นเกจที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก ภูมิภาคที่ใช้งานเกจนี้เป็นหลักได้แก่ ทวีปยุโรป, ทวีปอเมริกาเหนือ, กลุ่มประเทศอาหรับ และประเทศจีน
เกจกว้าง (Broad gauge)
เกจกว้าง (Broad gauge) เป็นรางที่มีขนาดความกว้างมากกว่า 1.435 เมตรขึ้นไป
ความกว้าง (เมตร)
|
ชื่อเรียกเกจ
|
ระยะทางที่มีการก่อสร้าง (กิโลเมตร)
|
สถานที่มีการใช้งานที่
|
1.676
|
เกจอินเดีย
|
77,000
|
อินเดีย (42,000 กิโลเตร; (เพิ่มขึ้นจากโครงการปรับเปลี่ยนราง), ปากีสถาน, ทางรถไฟในประเทศอาร์เจนตินา (24,000 กิโลเมตร), ชิลี (ประมาณ 6 1/2% ของทางรถไฟในโลก)
|
1.668
|
เกจไอบีเรีย
|
15,394
|
โปรตุเกส, ทางรถไฟในสเปน (ในสเปน 21 กิโลเมตร ซึ่งเป็นรางที่ใช้ร่วมกัน 3 ราง ในทางคู่ โดยใช้ Iberian กับ standard gaugesซึ่งที่เหลือเป็นแผนที่จะทำในอนาคต
|
1.600
|
เกจไอร์แลนด์
|
9,800
|
ไอร์แลนด์, รัฐวิกตอเรีย และบางรัฐทางตอนใต้ ของประเทศออสเตรเลียส่วนใหญ่ (Victorian gauge) (4,017 กิโลเมตร), รางในประเทศบลาซิล (4,057 กิโลเมตร)
|
1.524
|
เกจรัสเซีย
|
5,865
|
รางรถไฟในประเทศฟินแลนด์
|
1.520
|
เกจรัสเซีย
|
220,000
|
รัฐ CIS (รวมทั้งรางรถไฟในประเทศรัสเซีย), เอสโตเนีย, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, มองโกเลีย (ประมาณ 17% ของรางรถไฟในโลก)
|
1.435
|
เกจมาตรฐาน
|
720,000
|
รางรถไฟในกลุ่มประเทศยุโรป, รางในประเทศอาร์เจนตินา, รางรถไฟในประเทศสหรัฐอเมริกา, รางรถไฟในประเทศแคนาดา, รางในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน, เกาหลี, ออสเตรเลีย, ไทย, ใจกลางของแอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาเหนือ, เม็กซิโก, คิวบา, ปานามา, เวเนซูเอล่า, เปรู, อุรุกวัย และฟิลิปปินส์ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศญี่ปุ่น และสเปน (ประมาณ 60% ของรางรถไฟในโลก)
|
1.067
|
เกจแหลม
|
112,000
|
แอฟริกาใต้และแอฟริกากลาง, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), ฟิลิปปินส์, นิวซีแลนด์, รัฐควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย (ประมาณ 9% ของทางรถไฟในโลก)
|
1.000
|
เกจหนึ่งเมตร
|
95,000
|
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินเดีย (17,000 กิโลเมตร, ซึ่งปัจจุบันมีระยะทางลดลงจากโครงการปรับเปลี่ยนขนาดราง), ทางรถไฟในประเทศอาร์เจนตินา (11,000 กิโลเมตร), ทางรถไฟในประเทศบราซิล (23,489 กิโลเมตร), โบลิเวีย, ทางเหนือของประเทศชิลี, เคนย่า, ยูกานด้า (โดยประมาณ 7% ของทางรถไฟในโลก)
|
รางรถไฟรางร่วม
รางรถไฟรางผสม (mixed-gauge) หรือ รางรถไฟรางร่วม (dual-gauge) เป็นการทำรางรถไฟให้รถไฟที่ต้องการความกว้างของราง 2 ระบบให้สามารถใช้แนวเส้นทางเดิมได้ โดยวางรางเสริมเข้ากับรางระบบเดิม จึงได้ราง 2 ระบบในแนววางรางเดิม ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีระบบรางรถไฟรางร่วม
(เคยมีแต่มีปัญหารถไฟตกรางจึงเลิกไป)
สถิติของรางรถไฟ
- รางกว้างที่กว้างสุดคือ 2.140 เมตร ซึ่งเรียกว่า Groad gauge
- รางกว้างที่แคบสุดคือ รางเดี่ยว (Monorail หรือที่เรียกว่า Gauge-O) [1]
ประวัติ
อดีตการเลือกขนาดรางรถไฟในการก่อสร้างนั้น ส่วนหนึ่งมาจากเงื่อนไขบางอย่างเพื่อตอบสนองเงื่อนไขในท้องถิ่น เช่น รถไฟรางแคบ ค่าก่อสร้างมีราคาถูกกว่า และสามารถเข้าพื้นที่แคบๆ ข้างหน้าผาได้ดี แต่รางรถไฟรางกว้างให้เสถียรภาพมากขึ้นและสามารถใช้ความเร็วสูงได้มากขึ้น
ในบางประเทศ การเลือกใช้รางเป็นประเด็นทางการเมือง การปกครอง เช่น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการใช้รางรถไฟรางแคบ ขนาด 1 เมตร ในดินแดนภายใต้อาณานิคม ของประเทศอังกฤษ และฝรังเศส เมื่อประเทศสยาม (ไทย) ได้สร้างรถไฟหลวงสายแรกเพื่อไปเชียงใหม่ โดยใช้ขนาด 1.435 เมตร มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อีกด้วยว่าในระหว่างความขัดแย้งทางการค้าไทยกับฝรั่งเศส ได้มีการทำสนธิสัญญาไว้ข้อหนึ่ง ซึ่งห้ามประเทศไทยสร้างทางรถไฟไปชิดชายฝั่งแม่น้ำโขง ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือจึงสร้างไปหยุดที่ อำเภอวารินชำราบในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอุดรธานี[2] สำหรับทางรถไฟสายใต้นั้นก่อสร้างด้วยเงินกู้จากประเทศอังกฤษ ซึ่งประเทศไทยจำยอมต้องสร้างด้วยขนาด 1.00 เมตร ด้วยเหตุผลที่อังกฤษตั้องการใช้เป็นเส้นทางเชื่อมทางระหว่างมลายูกับพม่า ซึ่งเป็นรางขนาด 1.00 เมตร และมีค่าก่อสร้างถูกกว่าด้วย
รางรถไฟในประเทศไทย
การพัฒนารางรถไฟในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้มีการสร้างรางรถไฟขนาด 1.435 เมตรในบริเวณตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในรางสายเหนือ โดยไม่ใช้ขนาดเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อหลบเลี่ยงจากขนาดรางรถไฟของอังกฤษ ป้องกันการรุกรานเป็นอาณานิคม และต่อมาได้มีการสร้างรางเพิ่ม ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้สร้างขนาด 1.000 เมตร ซึ่งเป็นรางรถไฟสายใต้ปัจจุบัน
- รางรถไฟ 1.000 เมตร (มีเตอร์เกจ)
- รางรถไฟ 1.435 เมตร (European Standard Gauge)
- รางรถไฟรางแคบขนาด 0.700 เมตร
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
|