ทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก
ทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก[1][2][note 1] หรือ ทางรถไฟสายฉะเชิงเทรา–สัตหีบ[3] เป็นเส้นทางเดินรถไฟทางไกลระหว่างจังหวัดของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยสองช่วงหลักคือ ชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางแก่งคอย[1] และ ชุมทางฉะเชิงเทรา-ท่าเรือแหลมฉบัง[2]-ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ-ท่าเรือมาบตาพุด โดยมีช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางคลองสิบเก้า ซ้อนทับกับทางรถไฟสายตะวันออก[note 2][1] ประวัติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2512 รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินในจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี เพื่อก่อสร้างทางรถไฟระหว่างสถานีฉะเชิงเทรา - สัตหีบ[4] ในปีพ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2520 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำการสำรวจ วางแนวเขต และเวนคืนที่ดินในบริเวณแนวที่จะก่อสร้าง และได้เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2524 จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2528[5] ต่อมา วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ได้มีพิธีเปิดทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างเป็นทางการ หลังทางรถไฟช่วงชุมทางคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย สร้างแล้วเสร็จ โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานในพิธีเปิด ที่สถานีรถไฟญาณสังวราราม[6] พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน
โครงการส่วนต่อขยายช่วงฉะเชิงเทรา - ท่าเรือแหลมฉบัง
ช่วงฉะเชิงเทรา - แก่งคอย และทางเลี่ยงเมือง
สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง[7] หรือที่เรียกว่า สะพานยกระดับบางปะกง[8] อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 64+094.653 ถึง กิโลเมตรที่ 64+958.245 ตั้งอยู่ระหว่างที่หยุดรถแปดริ้ว และสถานีดอนสีนนท์ สะพานมีความยาวประมาณ 1743.20 เมตร ประกอบด้วยสะพานเดิม และสะพานใหม่สร้างคู่ขนานกันไปสำหรับเดินรถข้ามแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามจุดหนึ่งบนเส้นทาง สามารถมองเห็นภาพมุมกว้างของตัวเมืองฉะเชิงเทราริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงได้รอบทิศทาง โดยสามารถนั่งรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก และรถไฟนำเที่ยวขบวนพิเศษเพื่อข้ามสะพานและชมวิวทิวทัศน์[9] สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกนั้นถือเป็นสะพานยกระดับผ่านช่วงเมืองแห่งแรก ๆ ของประเทศไทยที่มีการก่อสร้างขึ้น ซึ่งช่วงหนึ่งของสะพานก่อสร้างเป็นทางโค้งที่มีลักษณะที่สวยงามซึ่งถือเป็นจุดชมวิวสำคัญอีกแห่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการนั่งรถไฟ[10] และนับเป็นสะพานยกระดับที่ยาวที่สุดในภาคตะวันออกของประเทศไทย[8] ลักษณะของสะพาน ใช้ตอม่อแบบเสากลมคู่ขนาน มีตอม่อทั้งสิ้นจำนวน 105 ช่วง อยู่ในแม่น้ำบางปะกงทั้งหมด 5 ช่วง ซึ่งช่วงในแม่น้ำบางปะกงระยะห่างแต่ละช่วงประมาณ 30 เมตร[7] หมายเหตุ
อ้างอิง
|