Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย (อดีต)
สาย
  สายใต้ – สายธนบุรี
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ19 มิถุนายน พ.ศ. 2446
ปิดให้บริการ4 ตุลาคม พ.ศ. 2546
สร้างใหม่พ.ศ. 2493
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน
แผนที่
ชื่อเดิม
สถานีรถไฟธนบุรี
พิกัดภูมิศาสตร์13°45′35″N 100°29′10″E / 13.75984°N 100.48606°E / 13.75984; 100.48606
ประเภทประวัติศาสตร์, การแพทย์
เจ้าของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ขนส่งมวลชน เรือด่วนเจ้าพระยา  ท่ารถไฟ
เว็บไซต์www.sirirajmuseum.com

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ตั้งอยู่ในแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เดิมคือ สถานีรถไฟธนบุรี (หรือ บางกอกน้อย) ตั้งอยู่ในแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เคยเป็นสถานีต้นทางแห่งแรกของทางรถไฟสายใต้

ประวัติ

สถานีรถไฟ

บางกอกน้อย (หลังเก่า)

ธนบุรี (หลังใหม่)

สถานีรถไฟธนบุรีได้รับการออกแบบโดยหม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2493

เมื่อแรกนั้น ขบวนรถไฟสายใต้ทุกขบวน จะมีต้นทางปลายทางที่สถานีธนบุรีแห่งนี้ จนกระทั่งการก่อสร้างสะพานพระราม 6 ซึ่งถือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก สำเร็จ เป็นการเชื่อมทางรถไฟสายเหนือ/สายอีสาน และสายใต้เข้าด้วยกัน รถไฟสายใต้จึงได้มีการเปลี่ยนต้นทาง-ปลายทางไปยังสถานีกรุงเทพบ้าง แต่กระนั้น ก็ยังมีขบวนรถไฟสายใต้อีกหลายขบวน ที่มีต้นทางและปลายทางที่สถานีธนบุรี ซึ่งในปัจจุบัน ขบวนรถที่มีต้นทางและปลายทางที่สถานีธนบุรี ประกอบด้วยขบวนรถธรรมดา 8 ขบวน ขบวนรถชานเมือง 2 ขบวน และรถเร็ว 2 ขบวน

เดิมทีเดียวอาคารสถานีบางกอกน้อย (ชื่อเมื่อแรกตั้ง) มิใช่ตัวอาคารที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งอาคารดั้งเดิมของสถานีบางกอกน้อยนั้นเป็นอาคารชั้นเดียวตั้งอยู่ริมทางรถไฟ (ทางประธาน) ด้านทิศใต้ ไม่ได้อยู่ปลายรางอย่างเมื่อมีการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้ตั้งกองบัญชาการขึ้นที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย จากนั้นไม่นาน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดสถานีรถไฟบางกอกน้อยอย่างหนัก ตัวอาคารสถานีรถไฟบางกอกน้อยได้รับความเสียหายบางส่วน แต่ที่ทำการรับส่งสินค้าที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลังเก็บสินค้าริมคลองบางกอกน้อยถูกทิ้งระเบิดเสียหายทั้งหมด ต่อมาได้มีการก่อสร้างสถานีรถไฟบางกอกน้อยขึ้นมาใหม่ โดยรื้ออาคารสถานีเดิมออกไปพร้อมกับปรับปรุงและขยายย่านสถานีเดิม ตัวอาคารสถานีเป็นลักษณะอาคารสถาปัตยกรรมแบบใหม่ ซึ่งมีความโดดเด่น และสวยงามอย่างยิ่ง ตัวอาคารก่อสร้างจากอิฐสีแดง มีหอนาฬิกาตั้งตระหง่าน เห็นได้ชัดเจน และตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า สถานีธนบุรี

พิพิธภัณฑ์

ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มอบที่ดินบริเวณสถานีธนบุรี ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 33 ไร่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ทำให้ไม่มีการเดินรถไฟสายใต้จากสถานีธนบุรี ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2546 โดยมีการเปลี่ยนต้นทาง-ปลายทางไปยัง "สถานีบางกอกน้อย" เป็นสถานีแห่งใหม่ ถัดออกไปราว 800 เมตร ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เคยจัดตั้งขึ้นไว้ก่อนหน้านี้ ถือเป็นสถานีชั้น 4 ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2547 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีการเปลี่ยนชื่อสถานี "บางกอกน้อย" เป็น "ธนบุรี" ส่งผลให้สถานีรถไฟธนบุรี (ริมแม่น้ำเจ้าพระยา) กับสถานีรถไฟบางกอกน้อย (บริเวณบ้านเนิน) กลายเป็น สถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) (ริมแม่น้ำเจ้าพระยา) และ สถานีรถไฟธนบุรี (บริเวณบ้านเนิน) ตามลำดับ[1]

ในวัฒนธรรมประชานิยม

สถานีรถไฟธนบุรีเป็นสถานที่อ้างอิงถึงในวรรณกรรมเรื่อง คู่กรรม ประพันธ์โดยทมยันตี ด้วยเป็นฉากจบและสถานที่เสียชีวิตของโกโบริ พระเอกในเรื่อง[2]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. Zoom (20 March 2011). "จากสถานีบางกอกน้อย สู่...โรงพยาบาลศิริราช" [From Bangkok Noi Station to Siriraj Hospital]. Thai Rath.
  2. "TV : www.TrueLife.com เรื่องเม้าท์จากจอ By YuiiuY". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-13. สืบค้นเมื่อ 2013-04-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya