อำเภอสทิงพระ
สทิงพระ เป็นอำเภอในจังหวัดสงขลา ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอสทิงพระ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติแคว้นสทิงพระ หรือ เกาะสทิงพระ เกิดขึ้นบริเวณรอบทะเลสาบสงขลา ตั้งแต่อำเภอหัวไทรลงมา ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดในเขตจังหวัดสงขลาและพัทลุงบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของแคว้น คือบริเวณที่เรียกว่า "แผ่นดินบก" เริ่มตั้งแต่บ้านระโนด ผ่านอำเภอสทิงพระ มายังหัวเขาแดง อำเภอเมืองสงขลา เป็นแหล่งอยู่อาศัยของชนชาวบก ซึ่งเป็นชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยศรีวิชัย เกิดเป็นท่าเรือหลายแห่งทำให้ต่อมามีการสร้างบ้านแปลงเมืองเกิดขึ้นโดยมี เมืองสทิงพระเป็นเมืองท่าและเป็นศูนย์กลางของบ้านและเมืองในท้องถิ่น โดยมีศาสนสถานทั้งพราหมณ์และพุทธอยู่มากมายตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เกาะสทิงพระ มีความสำคัญอีกครั้งหนึ่ง คือ มีพ่อค้าชาวอาหรับสร้างเมืองขึ้น ณ บริเวณหัวเขาแดง เป็นเมืองท่าที่เรียกกันว่า "เมืองสงขลา" แล้วตั้งตัวเป็นอิสระ แต่ถูกปราบได้ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับแต่นั้นมาบรรดาบ้านเมืองบนเกาะนี้ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองและดูแลของเมืองพัทลุง ที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา การทับถมของโคลนทรายและตะกอน โดยการกระทำของคลื่นลม ทำให้แผ่นดินงอกเพิ่มออกไปเปลี่ยนสภาพเกาะให้กลายเป็นคาบสมุทร ที่เรียกกันว่า คาบสมุทรสทิงพระ ปี พ.ศ. 2437 มีฐานะเป็นอำเภอชื่อ "ปละท่า" มีอาณาเขตครอบคลุมถึงระโนด พ.ศ. 2460 จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอปละท่าเสียเป็น "อำเภอจะทิ้งพระ"[1] พร้อมกับยุบเมืองระโนด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอระโนด และให้ขึ้นกับอำเภอจะทิ้งพระ ต่อมามีการโอนพื้นที่ตำบลตะเครียะ อำเภอทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง[2][3] และปี พ.ศ. 2464 โอนพื้นที่ตำบลคลองแดน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช[4] รวม 2 ตำบล มาขึ้นกิ่งอำเภอระโนด อำเภอจะทิ้งพระ และปรับเปลี่ยนพื้นที่โดยโอนพื้นที่ตำบลชะแล้ ตำบลรำแดง ตำบลบางเขียด ตำบลมะม่วงพุ่ม และตำบลมะม่วงงาม ของอำเภอจะทิ้งหม้อ ไปขึ้นอำเภอเมืองสงขลา[4] และโอนพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่ ตำบลเชิงแส ตำบลบ่อตรุ และตำบลวัดสน ของอำเภอจะทิ้งหม้อ ไปขึ้นกิ่งอำเภอระโนด[4] ก่อนที่ปี พ.ศ. 2466 กรมหลวงลพบุรีราเมศร อุปราชปักษ์ใต้เห็นว่าการคมนาคมไม่สะดวก จึงยุบอำเภอจะทิ้งพระ เป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเมืองสงขลา ส่วนกิ่งอำเภอระโนดเดิมที่ขึ้นอำเภอจะทิ้งพระ ให้ยกฐานะเป็น อำเภอระโนด[5] กิ่งอำเภอจึงร่นอาณาเขตทิศเหนือมาอยู่ที่ตำบลชุมพลและทิศใต้อยู่ที่ตำบลวัดจันทร์ ปี พ.ศ. 2490 จึงยกฐานะเป็น อำเภอจะทิ้งพระ[6] พร้อมกับจัดตั้งตำบลอีก 3 ตำบล ได้แก่ แยกพื้นที่ตำบลชุมพลและตำบลสนามชัย ตั้งเป็น ตำบลดีหลวง กับแยกพื้นที่ตำบลสนามชัยและตำบลจะทิ้งพระ ตั้งเป็น ตำบลกระดังงา กับแยกพื้นที่ตำบลบ่อดานและตำบลวัดจันทร์ ตั้งเป็น ตำบลบ่อแดง[7] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2504 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อจาก "จะทิ้งพระ" เป็น "อำเภอสทิงพระ"[8] จนถึงปัจจุบัน ศัพทมูลวิทยาขุนพิสัณศิลปกิจ สันนิษฐานว่า ชื่อ "สทิงพระ" มาจากภาษามลายูคำว่า จันดีบารัต (มลายู: Candi Barat) แปลว่า "เจดีย์ตะวันออก"[9] ม.ศรีบุษรา สันนิษฐานว่า ชื่อ "สทิงพระ" มาจากภาษาเขมรคำว่า สตึงเปรียะฮ์ (เขมร: ស្ទឹងព្រះ) แปลว่า "คลองพระ"[9] สอดคล้องกับจิตร ภูมิศักดิ์ ที่อธิบายว่ามาจากคำเขมรโบราณ ฉทิงพระ แปลว่า "แม่น้ำพระ (พุทธรูป), คลองพระ (พุทธรูป)"[10] การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอสทิงพระแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 79 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่อำเภอสทิงพระประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
อ้างอิง
|