หมายเลขขบวนรถไฟ (การรถไฟแห่งประเทศไทย)หมายเลขขบวนรถไฟ คือเลขกำกับขบวนรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้เรียกชื่อขบวนรถ เป็นตัวเลข เพื่อสะดวกในการใช้โทรเลข, ในการเดินรถ และผู้ปฏิบัติงานเข้าใจง่ายไม่สับสน โดยกำหนดสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และสถานีธนบุรีเป็นหลัก โดยขบวนรถที่มีต้นทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) หรือสถานีธนบุรี หรือเที่ยวขึ้น จะใช้เลขขบวนรถเป็นเลขคี่ และขบวนรถที่มีปลายทางสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) หรือสถานีธนบุรี หรือเที่ยวล่อง ใช้เลขขบวนรถเป็นเลขคู่ การรถไฟยังได้มีการกำหนดหมายเลขให้แตกต่างกัน โดยเรียงจากหมายเลขมีจำนวนน้อยไปหาจำจำนวนมาก ตามประเภทหรือความสำคัญของขบวนรถนั้น กล่าวคือ ยิ่งมีตัวเลขน้อยแปลว่า เป็นประเภทรถที่มีความสำคัญมากที่สุด ส่วนมีตัวเลขมาก แปลว่ามีความสำคัญน้อยลงมา ตามลำดับ[1] หลักการตั้งหมายเลขขบวนรถไฟหลักการตั้งหมายเลขขบวนรถไฟตามระเบียบการรถไฟแห่งประเทศไทย อ้างอิงตามประเภทขบวน ทิศทาง ความสำคัญและลำดับการเกิดขึ้นของขบวนรถ โดยแบ่งได้ 12 ประเภท ดังนี้
ประเภทและหมายเลขขบวนรถไฟขบวนด่วนพิเศษขบวนด่วนพิเศษ (Special Express; ดพ-X/ดพ-XX)[2] เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล โดยหยุดที่สถานีที่สำคัญเท่านั้น ทั้งขบวนรถเป็นรถปรับอากาศและเป็นชั้นสองและหนึ่งทั้งขบวน จะมีหมายเลขตั้งแต่เลขที่ 1–50 ในปัจจุบันมีอยู่ 26 หมายเลข ดังนี้
ขบวนรถด่วนขบวนรถด่วน (Express; ด-XX)[2] เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญเท่านั้น แต่มีการให้บริการของชนิดรถพ่วงและจอดสถานีมากกว่าขบวนรถด่วนพิเศษ จะมีตั้งแต่หมายเลข 51-98 ในปัจจุบันมีทั้งหมด 16 หมายเลข ดังนี้
บางขบวนหมายเลขไม่ได้อยู่ในเลข 51-98 แต่จัดเป็นประเภทรถด่วน ได้แก่
ขบวนรถเร็วขบวนรถเร็ว (Rapid; ร-1XX)[2] เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล จอดสถานีมากกว่าขบวนรถด่วน ชนิดรถพ่วงคล้ายกับรถด่วนแต่ไม่มีการพ่วงรถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 1 ปรับอากาศ (บนอ.ป.) ขบวนรถเร็วจะมีหมายเลข 3 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 1 (1XX) ในปัจจุบันมีทั้งหมด 28 หมายเลข ได้แก่ ขบวนรถธรรมดาขบวนรถธรรมดา (Ordinary; ธ-2XX)[2][9] เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารเดินทางไปยังส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย มีระยะทำการสั้นกว่าขบวนรถด่วนพิเศษ, ด่วน และ เร็ว โดยหยุดจอดทุกสถานีในเส้นทาง ขบวนรถธรรมดาจะมีหมายเลข 3 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 2 (2XX) ในปัจจุบันมีทั้งหมด 88 หมายเลข ได้แก่ นอกจากนี้ บางขบวนอาจจะมีหมายเลขขึ้นต้นด้วยเลขอื่น แต่ก็จัดเป็นประเภท ขบวนรถธรรมดา ได้แก่
ทางรถไฟสายแม่กลอง ทางรถไฟที่เดินรถจากฝั่งธนบุรี ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งอยู่แยกกับเส้นทางหลักของการรถไฟฯ ขบวนรถที่วิ่งในสายนี้ จัดว่าเป็นขบวนรถธรรมดา ตามที่ระบบติดตามขบวนรถของการรถไฟระบุ[12] แต่หมายเลขขบวนรถจะมี 4 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 4 (4XXX)[13][14][15][16] ได้แก่ ขบวนรถชานเมืองขบวนรถชานเมือง (Commuter; ช-3XX)[2][9][17][18] เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับจังหวัดใกล้เคียงรัศมีไม่เกิน 150 กม. ได้แก่
มีวัตถุประสงค์เพื่อบริการให้ประชาชนใช้เดินทางไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และติดต่อค้าขาย โดยขบวนรถจะมีความถี่ในการทำขบวนมากกว่าขบวนรถประเภทอื่น ๆ หยุดทุก ๆ สถานี และป้ายหยุดรถ ขบวนรถชานเมืองจะมีหมายเลข 3 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 3 (3XX) ในปัจจุบันมีทั้งหมด 19 หมายเลข ได้แก่
ขบวนรถท้องถิ่นขบวนรถท้องถิ่น (Local; ถ-4XX)[2][9] เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารระหว่างจังหวัด โดยมีต้นทางและปลายทางไม่ใช่สถานีภายในเขตกรุงเทพและปริมณฑล หยุดทุก ๆ สถานีและป้ายหยุดรถ เป็นขบวนรถที่มีราคาค่าโดยสารถูกที่สุด ขบวนรถท้องถิ่นจะมีหมายเลข 3 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 4 (4XX) ในปัจจุบันมีทั้งหมด 23 ขบวน 46 หมายเลข ได้แก่ ขบวนรถท่องเที่ยวขบวนรถท่องเที่ยว (Excursion; ท-9XX)[2] เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จะหยุดรับ - ส่งผู้โดยสารเฉพาะสถานีที่มีแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น ขบวนรถท่องเที่ยวจะมีหมายเลข 3 หลักแต่บางขบวนอาจมี 4 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 9 (9XX/9XXX) แต่บางขบวนอาจมีสี่หลัก ในปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ขบวน 12 หมายเลข ได้แก่ ขบวนรถสินค้าเป็นขบวนรถที่ใช้ในการขนส่งสินค้าจากอีกสถานีไปยังอีกสถานี ไม่จอดรับส่งผู้โดยสารและมีต้นทางปลายทางไม่เหมือนกันในแต่ละรอบ โดยขบวนรถสินค้าจะมีหมายเลข 3 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 5-8 แล้วแต่ว่าขนส่งผ่านเส้นทางใด โดยมีการจำแนกดังนี้
ขบวนรถอื่น ๆเป็นขบวนรถไฟที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมด อาจเป็นขบวนรถที่ใช้ในราชการ เช่น รถพิเศษทหาร เป็นต้น โดยจะมีหมายเลข 4 หลักขึ้นไป เช่น 1XXX อ้างอิง
|