Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42
ถนนเพชรเกษมสายปัตตานี–นราธิวาส, ถนนเกาหลี
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ
ความยาว262.312 กิโลเมตร (162.993 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถ.กาญจนวณิชย์ ใน อ.สะเดา จ.สงขลา
 
ปลายทางทิศตะวันออก ทางหลวงสหพันธ์หมายเลข 3 ในรันเตาปันจัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 สายคลองแงะ–จุดผ่านแดนถาวรสุไหงโก-ลก (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) หรือที่เรียกกันในช่วงจังหวัดปัตตานีถึงนราธิวาสว่า ถนนเพชรเกษมสายปัตตานี–นราธิวาส[1] หรือ ถนนเกาหลี[2] หรือ บาตะฮ์กอลี ในภาษามลายูปัตตานี[3] เป็นทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส มีระยะทางตลอดทั้งสาย 263.779 กิโลเมตร

รายละเอียดของเส้นทาง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 มีจุดเริ่มต้นบนถนนกาญจนวณิชย์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ที่บ้านคลองแงะ ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เส้นทางมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ในช่วงแรกเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ผ่านอำเภอนาทวี อำเภอเทพา เข้าเขตจังหวัดปัตตานีที่อำเภอโคกโพธิ์ แล้วมุ่งขึ้นเหนือไปยังอำเภอหนองจิก ซึ่งหลังจากนี้ เส้นทางได้ขยายเป็น 4 ช่องจราจร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 18 แล้วมุ่งไปทางตะวันออกเข้าอำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะหริ่ง ต่อจากนั้นก็มุ่งไปทางทิศใต้เข้าเขตอำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี แล้วเข้าสู่จังหวัดนราธิวาสที่อำเภอบาเจาะ ผ่านอำเภอยี่งอ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอตากใบ และอำเภอสุไหงโก-ลก แล้วสิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสุไหงโก-ลก บริเวณชายแดนมาเลเซีย-ไทย ที่ตำบลสุไหงโก-ลก เชื่อมต่อกับทางหลวงสหพันธ์มาเลเซียหมายเลข 3 ที่เมืองรันเตาปันจัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

ประวัติ

ก่อนที่จะมีการกำหนดหมายเลขทางหลวง ถนนในช่วงปัตตานี-นราธิวาสมีชื่อว่า ทางหลวงแผ่นดินสายปัตตานี–นราธิวาส ต่อมาได้รับการขนานนามว่า ถนนรามโกมุท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงปริญญาโยควิบูลย์ (ชม-อุบล รามโกมุท) นายช่างควบคุมการสร้าง[4]

ในสมัยก่อนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ในช่วงบ้านคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ถึงบ้านดอนยาง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นเส้นทางสายหลักในการเดินทางระหว่างจังหวัดสงขลาสู่จังหวัดปัตตานี แต่เมื่อมีการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 ขึ้น ทำให้รถที่สัญจรไปมาได้หันไปใช้เส้นทางนี้แทน เนื่องจากช่วยย่นเวลาและระยะทางได้ดีกว่า และยังเป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร ขณะที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ช่วงคลองแงะ–ดอนยาง เป็นทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 เคยมีจุดสิ้นสุดอยู่ที่ตัวเมืองนราธิวาส มีระยะทางในตอนนั้นประมาณ 198 กิโลเมตร ต่อมาได้มีการรวมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4084 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4057 เข้าเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายนี้ด้วย เพื่อเชื่อมต่อกับจุดผ่านแดนที่สุไหงโก-ลก

รายชื่อทางแยก

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ทิศทาง: คลองแงะ-สุไหงโก-ลก
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
คลองแงะ - ดอนยาง
สงขลา 0+000 แยกคลองแงะ ถนนกาญจนวณิชย์ ไป อำเภอหาดใหญ่ ถนนกาญจนวณิชย์ ไป อำเภอสะเดา, ด่านพรมแดนสะเดา แห่งที่ 1
29+183 แยกนาทวี ทล.408 ไป อำเภอจะนะ, อำเภอเมืองสงขลา ไม่มี
29+693 แยกวังโต้ ไม่มี ทล.408 ไป ด่านศุลกากรบ้านประกอบ
60+132 แยกลำไพล ทล.4085 ไป อำเภอเทพา ทล.4085 ไป อำเภอสะบ้าย้อย, อำเภอยะหา
ปัตตานี 82+600 แยกนาเกตุ ทล.42 ไป อำเภอหนองจิก, อำเภอเมืองปัตตานี ทล.409 ไป จังหวัดยะลา
ตรงไป: ปน.2010 ทางหลวงชนบท ปน.2010 ไปบ้านบาซาเอ
89+600 แยกดอนยาง ทล.43 ไปอำเภอเทพา, อำเภอหาดใหญ่ ทล.43 ไปวงเวียนมะพร้าวต้นเดียว, อำเภอยะหริ่ง
ดอนยาง - นราธิวาส
ปัตตานี สะพาน ข้ามคลองชลประทาน
แยกดอนรัก 4296 ถนนหนองจิก เข้าตัวเมืองปัตตานี ไม่มี
100+236 แยกงาแม่นอก ทล.418 ไป บรรจบถนนหนองจิก ทล.418 ไป อำเภอแม่ลาน, ยะลา
สะพาน ข้ามแม่น้ำปัตตานี
103+658 แยกตะลุโบะ ถนนยะรัง เข้าตัวเมืองปัตตานี ทล.410 ไป อำเภอยะรัง, ยะลา
4355 ถนนรามโกมุท เข้าตัวเมืองปัตตานี ไม่มี
107+900 แยกบานา 4356 ทล.4356 ไปบ้านแหลมนก, ท่าเรือปัตตานี ไม่มี
112+800 แยกบ้านดี ไม่มี ทล.43 ไป อำเภอเทพา, อำเภอหาดใหญ่
ปน.2062 ทางหลวงชนบท ปน.2062 ไป อำเภอยะหริ่ง, บ้านตะโละกาโปร์ ปน.2020 ทางหลวงชนบท ปน.2020 ไปบ้านตาแกะ, บ้านกระโด
126+208 ทล.4075 ไป อำเภอปะนาเระ ไม่มี
135+108 แยกปาลัส ทล.4061 ไป อำเภอปะนาเระ ทล.4061 ไป อำเภอมายอ
145+325 ปน.2061 ทางหลวงชนบท ปน.2061 ไป อำเภอสายบุรี ทล.4074 ไป อำเภอทุ่งยางแดง
สะพาน ข้ามแม่น้ำสายบุรี
152+866 ทล.4060 ไป อำเภอสายบุรี ทล.4060 ไป อำเภอกะพ้อ
154+559 ทล.4157 ไป อำเภอสายบุรี ไม่มี
สะพาน ข้ามคลองกอตอ
นราธิวาส 159+042 ทล.4136 ไปบ้านละเวง, อำเภอไม้แก่น ไม่มี
160+461 ทล.4167 ไป อำเภอไม้แก่น, บ้านดอนทราย ทล.4168 ไป อำเภอกะพ้อ
171+196 ทล.4155 ไปบ้านทอน, ท่าอากาศยานนราธิวาส ทางหลวงท้องถิ่น ไปบ้านปาแตรายอ
180+096 แยกยาโง๊ะ ทล.4066 ไป ท่าอากาศยานนราธิวาส ทล.4066 ไป จังหวัดยะลา
ไม่มี 4300 ทล.4300 ไป อำเภอยี่งอ
ไม่มี 4300 ทล.4300 ไป อำเภอยี่งอ
193+536 แยกปูต๊ะ ไม่มี ทล.42 ไป อำเภอตากใบ, อำเภอสุไหงโก-ลก
ตรงไป: ถนนสุริยะประดิษฐ์ เข้าตัวเมืองนราธิวาส
นราธิวาส - สุไหงโก-ลก
นราธิวาส สะพาน ข้ามคลองยะกัง
197+333 แยกลำภู ถนนระแงะมรรคา ไป อำเภอระแงะ ถนนระแงะมรรคา เข้าตัวเมืองนราธิวาส
สะพาน ข้ามแม่น้ำบางนรา
211+988 แยกสะปอม ถนนจตุรงค์รัศมี เข้าตัวเมืองนราธิวาส ทล.42 ไป อำเภอตากใบ
229+962 แยกตากใบ ไม่มี ทล.42 ไปอำเภอสุไหงโก-ลก
ตรงไป: 4327 ทล.4327 ไป อำเภอตากใบ, บ้านตาบา
262+283 แยกสุไหงโก-ลก ถนนทรายทอง 5 ไปด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก ไม่มี
ตรงไป: นธ.2031 ถนนทรายทอง 4 ไป อำเภอสุไหงปาดี
ไม่มี ถนนทรายทอง 5 ไป สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก
ตรงไป: ทางข้ามทางรถไฟสายใต้ ไปด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก
262+929 เชื่อมต่อจาก: ทล.4056 จาก อำเภอสุไหงปาดี
ทางข้าม ทางรถไฟสายใต้ ไป อำเภอตากใบ ไม่มี
263+779 สะพาน ข้ามแม่น้ำโก-ลก
ตรงไป: ทางหลวงสหพันธ์หมายเลข 3 ไปเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง

  1. "แผนที่ทางหลวงในความควบคุมของสำนักทางหลวงที่ 15 (สงขลา)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. ""ปาตานี" นครแห่งความทรงจำ". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. Najib Bib Ahmad. "ถนนเกาหลี". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9