รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา
รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา (อังกฤษ: S.R.T. Red Line Mass Transit System, Thani Ratthaya Line)[1] หรือ รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม (กรุงเทพอภิวัฒน์ – รังสิต) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดและเป็นเส้นทางรถไฟที่เป็นแกนหลักของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการมีระยะทางทั้งหมด 185 กิโลเมตร 44 สถานี เป็นเส้นทางหลักในแนวเหนือ–ใต้ ตามแนวทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศเหนือ (พื้นที่ดอนเมือง, รังสิต, ปทุมธานีและอยุธยา) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศใต้ (พื้นที่บางบอนและมหาชัย) เข้าสู่ใจกลางเมือง โดยบูรณาการการเดินทางร่วมกันกับระบบรถไฟทางไกลที่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ สนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอกตามแนวคิดการขยายผังเมือง รองรับศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ พื้นที่ชุมชนบริเวณถนนแจ้งวัฒนะและรามอินทราที่กำลังมีการเติบโตในอัตราสูง เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง รองรับประชาชนบริเวณรังสิต ปทุมธานี ไปยังเมืองมหาวิทยาลัยบริเวณรังสิต อยุธยา เชื่อมโยงไปยังบ้านภาชี ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็นหลายส่วน ประกอบด้วยช่วงบางซื่อ–รังสิต ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยมี บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ให้บริการชั่วคราวจนกว่าจะได้เอกชนดำเนินการใน พ.ศ. 2570 โดยช่วงรังสิต–มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และช่วงบางซื่อ–หัวลำโพง อยู่ระหว่างการเตรียมการเปิดประมูลการก่อสร้างภายในปี พ.ศ. 2565 ส่วนช่วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์–บ้านภาชี และช่วงหัวลำโพง–มหาชัย–ปากท่อ ยังเป็นเพียงแผนงาน ภาพรวมเป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างทางวิ่งทั้งระดับดิน (At grade level) ยกระดับ และใต้ดิน ผสมกันตลอดเส้นทาง ดำเนินการโดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ในลักษณะของการจ้างเดินรถชั่วคราวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวเส้นทางหลักในแนวเหนือที่ขนานคู่ไปกับทางรถไฟสายเหนือ และใต้ที่ขนานคู่ไปกับทางรถไฟสายแม่กลอง เริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี ผ่านนิคมอุตสาหกรรมนวนคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต และมหาวิทยาลัยรังสิต ผ่านตัวเมืองรังสิตเข้าสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครฝั่งเหนือ จากนั้นยกระดับขึ้นเหนือพื้นดินเข้าสู่พื้นที่กองทัพอากาศอันเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานดอนเมือง เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครย่านบางซื่อ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จากนั้นลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อวิ่งผ่านพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานียมราช รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมที่สถานียศเส และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีหัวลำโพง แล้วมุ่งหน้าลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่พื้นที่ฝั่งธนบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทองที่สถานีคลองสาน รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีวงเวียนใหญ่ จากนั้นยกระดับขึ้นกลับเป็นทางยกระดับเข้าสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครฝั่งใต้ตามทางรถไฟสายแม่กลอง เข้าสู่จังหวัดสมุทรสาครเพื่อผ่านตัวเมืองมหาชัยแล้วมุ่งหน้าข้ามแม่น้ำท่าจีน เพื่อมุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรสงคราม และตลาดร่มหุบแม่กลอง เพื่อข้ามแม่น้ำแม่กลอง วิ่งคู่ขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3093 เข้าสู่จังหวัดราชบุรี เพื่อสิ้นสุดทั้งเส้นทางที่สถานีรถไฟปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายใต้ที่จะมุ่งหน้าสู่ภาคใต้ต่อไป รวมระยะทางทั้งสิ้น 185 กิโลเมตร พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน
แนวเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา มีแนวเส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ตลอดจนจังหวัดบริวารใกล้เคียง มีจุดเริ่มต้นของทั้งโครงการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ในแนวเหนือ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์วิ่งขึ้นไปทางเหนือตามแนวทางรถไฟสายเหนือไปจนพ้นพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน รถไฟฟ้าจะวิ่งข้ามทางพิเศษศรีรัช และถนนรัชดาภิเษกช่วงใกล้ ๆ กับทางแยกต่างระดับรัชวิภา จากนั้นเมื่อผ่านสถานีวัดเสมียนนารีไป แนวเส้นทางจะวิ่งเลียบถนนวิภาวดีรังสิต ด้วยการคร่อมบนถนนกำแพงเพชร 6 ซึ่งปรับแก้มาจากแนวเส้นทางเดิมเล็กน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างร่วมกับโครงการโฮปเวลล์เดิม ระหว่างทางจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีบางเขน, รถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีหลักสี่, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน และรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง คือสายเหนือ, สายอีสาน และสายเชื่อม 3 สนามบิน ที่สถานีดอนเมืองบริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงกลับไปวิ่งตามทางรถไฟสายเหนือตลอดทางจนกระทั่งสิ้นสุดเส้นทางในส่วนเหนือที่สถานีรถไฟบ้านภาชี อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวใต้ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์วิ่งลงไปทางทิศใต้ตามแนวทางรถไฟสายเหนือ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานียมราช ก่อนผุดขึ้นมาอยู่ในแนวถนนเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานียศเส และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีหัวลำโพง จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับลงใต้ดินและวิ่งแนวตรงมาทางใต้ตามแนวคลองผดุงกรุงเกษมแล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้ ใกล้ ๆ กับศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี เข้าสู่ฝั่งธนบุรี และลอดใต้โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ เข้าสู่ถนนเจริญรัถ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทองที่สถานีคลองสาน จากนั้นวิ่งใต้ถนนเจริญรัถไปจนถึงวงเวียนใหญ่เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีวงเวียนใหญ่ แล้ววิ่งต่อตามแนวทางรถไฟสายแม่กลอง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมอีกครั้งที่สถานีวุฒากาศ จากนั้นจึงไต่ระดับกลับขึ้นมาเป็นรถไฟฟ้ายกระดับแล้ววิ่งต่อไปตามแนวทางรถไฟสายแม่กลองไปจนถึงสถานีมหาชัยใหม่ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จากนั้นเส้นทางจะข้ามแม่น้ำท่าจีนแล้ววิ่งต่อไปตามแนวทางรถไฟสายแม่กลองไปจนถึงสถานีรถไฟแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วยกระดับข้ามแม่น้ำแม่กลองแล้ววิ่งต่อในแนวขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3093 แล้วสิ้นสุดทั้งโครงการที่สถานีรถไฟปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นรายชื่อสถานี
การเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมทางบกทางเดินยกระดับในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินจากสถานีไปยังอาคารต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ดังนี้ (ตัวเอน หมายถึงกำลังก่อสร้าง)
เส้นทางคมนาคมทางรางรถไฟฟ้าชานเมืองผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมือง ได้ที่สถานีนี้
รถไฟทางไกลผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟทางไกล ได้ที่สถานีนี้
รถไฟฟ้าบีทีเอสผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีนี้
รถไฟฟ้ามหานครผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้ามหานคร ได้ที่สถานีนี้
เส้นทางคมนาคมทางอากาศท่าอากาศยานผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังท่าอากาศยาน ได้ที่สถานีนี้
รูปแบบของโครงการทางวิ่งและขบวนรถ
ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถโครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่เดิมของโรงรถจักรบางซื่อ ซึ่งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงที่ใช้งานร่วมกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยบริเวณทางทิศใต้ของสถานีคอกควายและสถานีบ้านนาโคก จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางจะอยู่ในสำนักงานบริหารโครงการสายสีแดง บริเวณอาคารผู้โดยสารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สิ่งอำนวยความสะดวกมีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีในระยะแรก (ธรรมศาสตร์รังสิต - หัวลำโพง) มีทั้งหมด 18 สถานี (ไม่รวมสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 9 สถานี โดยเป็นสถานียกระดับ 8 สถานี และสถานีระดับดิน 1 สถานี และสถานีส่วนต่อขยาย 9 สถานี ตัวสถานีมีความยาวประมาณ 210 เมตร รองรับการจอดรถไฟฟ้าได้สูงสุด 10 ตู้โดยสาร ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวดินให้มากที่สุด มีเสายึดสถานีคร่อมอยู่บนทางรถไฟ บางส่วนของโครงการใช้โครงสร้างเดิมของโครงการโฮปเวลล์เป็นเสายึดโครงสร้างของโครงการ ขบวนรถไฟฟ้ารถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทวิ่งชานเมืองรุ่น เอ-ซีรีส์ 1000 ที่เป็นรุ่นสั่งเฉพาะ โดยอาศัยเค้าโครงต้นแบบจาก ฮิตาชิ เอที 100 เมโทร มีทั้งหมด 15 ขบวน 90 ตู้ ต่อพ่วงขบวนละ 6 ตู้ ผลิตโดยฮิตาชิ[5] จุผู้โดยสารได้สูงสุด 1,366 คนต่อขบวน (คำนวณจากอัตราหนาแน่นที่ 3 คน/ตารางเมตร) มีความเร็วสูงสุด 152 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบอัตโนมัติมาตรฐานยุโรป (ETCS) ระดับที่ 1 ภายในขบวนรถไฟฟ้าจะมีเก้าอี้แบบแข็งสองแถวตั้งตามความยาวของตัวรถแบบเดียวกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายส่วนต่อขยายด้านเหนือส่วนต่อขยายรังสิต – ธรรมศาสตร์รังสิต
ส่วนต่อขยายธรรมศาสตร์รังสิต – บ้านภาชี
รายชื่อสถานี
ส่วนต่อขยายด้านใต้ส่วนต่อขยายกรุงเทพอภิวัฒน์ - ปากท่อช่วงกรุงเทพอภิวัฒน์ - หัวลำโพง
ช่วงหัวลำโพง - มหาชัย
ช่วงมหาชัย - ปากท่อ
รายชื่อสถานี
แผนการก่อสร้างอ้างอิงตามแผนแม่บทโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา แบ่งออกเป็นช่วงๆ ดังนี้[14]
การปรับเปลี่ยนเส้นทาง
หมายเหตุ
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|