Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ทางรถไฟสายชุมทางคลองสิบเก้า–ชุมทางแก่งคอย

ทางรถไฟสายชุมทางคลองสิบเก้า–ชุมทางแก่งคอย
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งจังหวัดฉะเชิงเทรา, นครนายก และสระบุรี ประเทศไทย
ปลายทาง
ประวัติ
เปิดเมื่อ19 สิงหาคม พ.ศ. 2538
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง81.358 กม. (50.55 ไมล์)[1]
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
แผนที่เส้นทาง

85+600 กม. คลองสิบเก้า
94+640 กม. คลองหกวา (200 เมตร)
ไปอรัญประเทศ
98+530 กม. คลองยี่สิบสอง (107.5 เมตร)
102+410 กม. คลองยี่สิบสาม (199 เมตร)
105+770 กม. คลองยี่สิบสี่ (102.5 เมตร)
109+190 กม. คลองยี่สิบห้า (300 เมตร)
113+020 กม.คลองรังสิตประยูรศักดิ์ (950 เมตร)
115+000 กม.องครักษ์
116+320 กม. คลองยี่สิบเก้า (337 เมตร)
138+400 กม. วิหารแดง
147+080 กม. อุโมงค์พระพุทธฉาย (1197 เมตร)
148+280 กม.
149+000 กม. บุใหญ่
ทางรถไฟสายชุมทางบ้านภาชี–อุบลราชธานี
168+440 กม. แก่งคอย
ไปนครราชสีมา

ทางรถไฟสายชุมทางคลองสิบเก้า–ชุมทางแก่งคอย หรือ ทางรถไฟสายชุมทางแก่งคอย–คลองสิบเก้า[2][3] เป็นทางรถไฟอันเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก[4] โดยเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าระบบรางที่เชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ภาคตะวันออกโดยไม่ต้องผ่านเข้ากรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด[5][6] ทางรถไฟสายนี้พาดผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา, นครนายก และสระบุรี ผ่านอุโมงค์หนึ่งแห่งคืออุโมงค์พระพุทธฉาย[4] ทางรถไฟสายนี้ใช้สำหรับวิ่งขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียวและไม่มีบริการรับส่งผู้โดยสาร

ประวัติ

การก่อสร้างทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524–2528 ในเส้นทางชุมทางฉะเชิงเทรา–สัตหีบ และมีการสร้างทางชุมทางคลองสิบเก้า–ชุมทางแก่งคอยอีกหนึ่งสายสำหรับขนส่งสินค้าจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ภาคตะวันออกโดยไม่ต้องผ่านเข้ากรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด โดยเส้นทางชุมทางคลองสิบเก้า–ชุมทางแก่งคอยจะตัดผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา, นครนายก และสระบุรี[4] และได้ประกาศเวนคืนที่ดินเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2532[2] และมีการเร่งรัดการเวนคืนในสองปีต่อมา[3] โดยเส้นทางจะผ่านภูมิประเทศต่าง ๆ ที่ราบลุ่มที่มีคลองหลายสายทางตอนใต้ มีภูเขาสูงและผ่านอุโมงค์พระพุทธฉายทางตอนเหนือ ถือเป็นอุโมงค์ที่มีความยาวเป็นอันดับสองของประเทศรองจากอุโมงค์ขุนตาน

หลังการก่อสร้างแล้วเสร็จจึงทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2538 โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิด ณ สถานีรถไฟญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี โดยเส้นทางนี้จะทำการขนส่งสินค้าต่าง ๆ เป็นต้นว่า น้ำมัน, ก๊าซแอลพีจี, ปูนซีเมนต์ และบรรจุตู้คอนเทนเนอร์[6]

แต่เดิมทางรถไฟสายนี้เป็นทางเดี่ยว ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่ง[6] ในปี พ.ศ. 2559 รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชามีนโยบายพัฒนาระบบรางให้เป็นระบบขนส่งมวลชน และก่อสร้างรถไฟทางคู่ชุมทางฉะเชิงเทรา–ชุมทางคลองสิบเก้า–ชุมทางแก่งคอยระยะทาง 106 กิโลเมตร พร้อมทางคู่เลี่ยงเมืองระยะทาง 97 กิโลเมตร ก่อสร้างสถานีรถไฟไผ่นาบุญ และเจาะอุโมงค์พระพุทธฉายขนานไปกับอุโมงค์เดิม เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559[6][7][8] และสิ้นสุดงานในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562[4]

โครงการแบ่งเป็นสองส่วนคือ ช่วงที่ 1 รถไฟทางคู่ชุมทางฉะเชิงเทรา–คลองสิบเก้า–วิหารแดง และบุใหญ่–แก่งคอย และทางคู่เลี่ยงเมืองที่สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา, ชุมทางแก่งคอย และชุมทางบ้านภาชี ใช้งบประมาณ 9,825,810,000 บาท ก่อสร้างโดยบริษัทซิโน-ไทย[4] ช่วงที่ 2 รถไฟทางคู่วิหารแดง–บุใหญ่ และอุโมงค์พระพุทธฉาย ใช้งบประมาณ 407,049,596 บาท ก่อสร้างโดยบริษัทไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง[4]

รายชื่อสถานี

อ้างอิง

  1. "ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย". การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-29. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2532" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (114 ก): 14. 19 กรกฎาคม 2532.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (202 ก): 1093. 21 พฤศจิกายน 2534.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "ความเป็นมาของโครงการ". โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-15. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย พร้อมติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม". การรถไฟแห่งประเทศไทย. 19 พฤศจิกายน 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-03. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย". การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-29. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "รฟท. เร่งรัดสร้างรถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-แก่งคอย มั่นใจแล้วเสร็จตามกำหนด". ไทยรัฐออนไลน์. 6 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "รถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย รองรับโลจิสติกส์ป้อนพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก". ฐานเศรษฐกิจ. 26 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
Kembali kehalaman sebelumnya