ณรงค์ วงศ์วรรณ
ณรงค์ วงศ์วรรณ (25 ธันวาคม พ.ศ. 2468 – 10 กันยายน พ.ศ. 2563) เป็นนักการเมืองไทยและนักอุตสาหกรรมยาสูบ เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ มาอย่างยาวนาน หัวหน้า พรรคเอกภาพ และ พรรคสามัคคีธรรม เขาเป็นที่รู้จักในนาม "เจ้าพ่อ" เมืองแพร่[1][2] หรือแม้แต่ "เจ้าพ่อแห่งภาคเหนือ"[3][4] ประวัติณรงค์ วงศ์วรรณ หรือที่นิยมเรียกว่า ''พ่อเลี้ยงณรงค์'' เป็นบุตรชายคนโตของนายแสน หรือพ่อเจ้าแสน วงศ์วรรณ (เปลี่ยนนามสกุลจาก:ผาทอง) (สืบเชื้อสายมาจากแสนเสมอใจ กับแม่เจ้าพิมพาพระญาติเจ้าหลวงเทพวงศ์เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย ) ผู้ก่อตั้งบริษัทเทพวงศ์ และนางอุ๊ วงศ์วรรณ มีน้องต่างมารดาอีก 2 คน ได้แก่นายสังวาลย์ หรือพ่อเลี้ยงสังวาลย์ วงศ์วรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน และนางถนอมศรี วงศ์วรรณ พ่อเลี้ยงณรงค์ สมรสครั้งแรกกับนางนงลักษณ์ วงศ์วรรณ มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ
และสมรสครั้งที่ 2 กับนางอุไร หรือแม่เลี้ยงอุไร วงศ์วรรณ มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ
การศึกษานายณรงค์ วงศ์วรรณ จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์-เกษตร จาก Kentucky University[5] ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2522-2523[6] ประสบการณ์การเมืองณรงค์ วงศ์วรรณ เคยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐบาลเกรียงศักดิ์)[7] เมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รัฐบาลเปรม)[8] ในปี พ.ศ. 2524 ณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย (รัฐบาลเปรม[9], รัฐบาลชาติชาย[10]) ในปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2533 การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2534 หลังการเลือกตั้ง ปรากฏว่าพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งมีนายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นหัวหน้าพรรค และนาวาอากาศตรีฐิติ นาครทรรพ เป็นเลขาธิการพรรค ได้ ส.ส.มากที่สุด คือ 79 ที่นั่ง ส่วนพรรคชาติไทยได้เป็นอันดับที่ 2 คือ 74 ที่นั่ง พรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทยและพรรคราษฎร จำนวน 195 เสียง ได้รวมตัวกันเสนอชื่อนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[11][12] แต่ปรากฏข่าวว่าสหรัฐอเมริกาเคยปฏิเสธที่จะออกวีซ่า ให้กับนายณรงค์ เนื่องจากสงสัยมีการพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด[13] ซึ่งกรณีดังกล่าว นายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง และว่าข่าวนี้เป็นการจงใจสร้างเรื่องขึ้นเพื่อกีดกันไม่ให้ตนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[14] พรรคการเมืองทั้ง 5 พรรค จึงสนับสนุนให้พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี จนเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนเรียกร้องนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นชนวนเหตุพฤษภาทมิฬ ในเวลาต่อมา ณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร[15] และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล บรรหาร ศิลปอาชา[16] ในปี พ.ศ. 2538 หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่ปรากฏบทบาทในทางการเมืองอีกแต่อย่างใด จนกระทั่งเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2563 พรรคการเมืองณรงค์ วงศ์วรรณ มีบทบาทในการเป็นผู้นำพรรคการเมืองของประเทศไทยที่สำคัญ คือ เป็นหัวหน้าพรรครวมไทย ในปี พ.ศ. 2529 นำทีมลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ได้ 19 ที่นั่ง และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ได้ 34 ที่นั่ง ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2532 พรรครวมไทย ได้ยุบรวมเข้ากับพรรคการเมือง 3 พรรค คือ พรรคกิจประชาคม พรรคก้าวหน้า และ พรรคประชาชน เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเอกภาพ โดยนายณรงค์ ทำหน้าที่หัวหน้าพรรค จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2534 เขาและสมาชิกจำนวนหนึ่งจึงได้ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้น คือ พรรคสามัคคีธรรม เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พงศาวลี
อ้างอิง
|