Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

เจริญ คันธวงศ์

เจริญ คันธวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
22 กุมภาพันธ์ – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าประจวบ ไชยสาส์น
ถัดไปอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2506 – กรกฎาคม พ.ศ. 2531
(25 ปี)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปธนู กุลชล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 เมษายน พ.ศ. 2476
อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ประเทศสยาม
เสียชีวิต4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (89 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2518–2565)
คู่สมรสเพ็ญธิรา คันธวงศ์

เจริญ คันธวงศ์ (21 เมษายน พ.ศ. 2476 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[1]) อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[2] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งสิ้น 11 สมัย อดีตประธาน สส. พรรคประชาธิปัตย์ อดีตอธิการบดีและกรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ประวัติ

เจริญ คันธวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2476 ที่ ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นบุตรของนายคำมูล และนางน้อย คันธวงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2) ปริญญาโท ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และปริญญาเอก การบริหารอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา[3]

การเสียชีวิต

เจริญ คันธวงศ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[4] ในการนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โกศแปดเปลี่ยม และกำหนดพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ณ วัดปริวาสราชสงคราม

การเมือง

ข้าราชการ

ในปี พ.ศ. 2500 - 2501 รับราชการทหารเป็นนายทหารประจำศูนย์การทหารม้าจังหวัดสระบุรียศร้อยตรี

เจริญ คันธวงศ์ รับราชการเป็นอาจารย์แผนกวิชาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 12 มกราคม พ.ศ.2505 ลาออกจากราชการเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2506

ฝ่ายนิติบัญญัติ

ดร.เจริญ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร ในเขตคลองเตย ยานนาวาและบางคอแหลมมาอย่างยาวนานต่อเนื่องถึง 8 สมัย โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด มีเพียงครั้งเดียวที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งคือ ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 ครั้งที่หนึ่ง ซึ่งกระแสพรรคพลังธรรมมาแรงในเวลานั้น และในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 ได้ย้ายไปลงในระบบบัญชีรายชื่อ

เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5]

ในปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายาให้ ดร.เจริญ คันธวงศ์ เป็น "คนดีศรีสภาฯ" เนื่องจากได้ลงชื่อเข้าร่วมประชุมสภาถึง 88 ครั้งจากจำนวน 100 ครั้ง แม้ว่าจะต้องรักษาตัวจากอาการโรคมะเร็ง[6] และในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 13[7] และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เจริญ คันธวงศ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 11 สมัย

ฝ่ายบริหาร

เจริญ คันธวงศ์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2531[8] ต่อมาปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน[9]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แทนนายปราโมทย์ สุขุม ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง

ธุรกิจ

ดร.เจริญ คันธวงศ์ เป็นที่ปรึกษาอาวุโส บริษัทติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

วิชาการ

ดร.เจริญ คันธวงศ์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2505 โดยดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีคนแรกด้วยวัยเพียง 29 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ และได้รับการยกย่องให้เป็น "อธิการบดีกิตติคุณก่อตั้ง" หรือ Emeritus (เอเมริตุส)[10] อีกทั้งยังมีอาคารเพื่อเป็นการรำลึกถึงคือ อาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์ ที่วิทยาเขตกล้วยน้ำไทด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "มะเร็งคร่าชีวิต "เจริญ คันธวงศ์" ปิดตำนาน "คนดีศรีสภา". คมชัดลึกออนไลน์.
  2. ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
  4. "มะเร็งคร่าชีวิต "เจริญ คันธวงศ์" ปิดตำนาน "คนดีศรีสภา"". คมชัดลึกออนไลน์.
  5. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  6. สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายานักการเมืองประจำปี
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายมารุต บุนนาค ได้ลาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง นายประจวบ ไชยสาส์น นายเจริญ คันธวงศ์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายเอนก ทับสุวรรณ)
  10. อธิการบดีกิตติคุณ จากเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า เจริญ คันธวงศ์ ถัดไป
ประจวบ ไชยสาส์น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
(22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533)
อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9