แสวง กุลทองคำ
แสวง กุลทองคำ (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2544)[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตปลัดกระทรวงเกษตร และเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการสร้างโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย ประวัติแสวง กุลทองคำ เกิดวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2454 ณ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของนายพิศและนางไกร กุลทองคำ สมรสกับคุณหญิงสมจิตร์ (โล่ห์นักรบ) มีบุตรธิดา รวม 2 คน แสวงถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 สิริรวมอายุได้ 91 ปี การศึกษาแสวงสำเร็จการศึกษาและได้ประกาศนียบัตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) เมื่อ พ.ศ. 2472 ต่อจากนั้นจึงศึกษาปริญญา M.Sc. Utah State University และ ปริญญา Ph.D.Nevada University เมื่อ พ.ศ. 2494 และ พ.ศ. 2496 ตามลำดับ จากนั้นได้ประกาศนียบัตรวิชาพัฒนาการเศรษฐกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford University) เมื่อ พ.ศ. 2501 และปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีกิตติมศักดิ์ (เศรษฐศาสตร์เกษตร) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2514 การทำงานดร.แสวง กุลทองคำ รับราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ หัวหน้ากองเศรษฐกิจการเกษตร รองปลัดกระทรวงเกษตร[2] และปลัดกระทรวงเกษตร (ชื่อในขณะนั้น) ระหว่างปี พ.ศ. 2512 - 2514 ดร.แสวง กุลทองคำ ขณะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตร เป็นผู้รับเอาพระราชดำริฝนหลวงมาจัดตั้งโครงการค้นคว้าและพัฒนาการทำฝนเทียมขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2512[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงบริหารโครงการฝนหลวง โดยทรงตั้งศูนย์อำนวยการซึ่งต่อมาทรงเรียกว่า "ศูนย์ฝนหลวง" ซึ่ง ดร.แสวง กุลทองคำ ได้ร่วมเป็นกรรมการในศูนย์ดังกล่าว[4] ในปี พ.ศ. 2515 ดร.แสวง กุลทองคำ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร และพ้นจากตำแหน่งเมื่อคราวเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา[5] นอกจากงานราชการแล้ว ดร.แสวง เป็นนายกสมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมถ์ คนแรกของสมาคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้ง[6] ผลงานผลงานเขียนบทความแสวงมีผลงานด้านการเขียนบทความทางด้านการเกษตร และ เศรษฐศาสตร์การเกษตร มากกว่า 20 เรื่อง เช่น - ความมั่นคงของชาติด้านการเกษตร - การเกษตรของประเทศไทย - เศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย - ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้าวไทยในอนาคต ผลงานวิจัยแสวงมีผลงานวิทยานิพนธ์ และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรหลายเรื่อง อาทิ วิธีเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของการปลูกยางพาราในประเทศไทย, งานวิจัยการผสมพันธุ์ข้าว พันธุ์ฝ้าย พันธุ์ปอแก้ว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ริเริ่มให้ขุดบ่อบาดาลนำน้ำมาใช้เพื่อการเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2496 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|