ศาสตราจารย์ สมภพ โหตระกิตย์ (22 มกราคม พ.ศ. 2461[2] – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540) อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
อดีตกรรมการเครื่องหมายการค้า[3]อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล[4][5]
ประวัติ
สมภพ โหตระกิตย์ เป็นบุตรของขุนกิจสุงกากร (กิจ โหตระกิตย์) กับ นางแพร โหตระกิตย์[6] จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 8055) และจบปริญญาด้านกฎหมาย พ.ศ. 2511 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา[7]
สมภพ โหตระกิตย์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 7
การทำงาน
สมภพ โหตระกิตย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรมครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2515 ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร[8] และได้ดำรงตำแหน่งต่อเรื่อยมาจนถึงรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์[9] และพ้นจากตำแหน่งไปหลังมีการเลือกตั้ง
หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[10] ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2520[11] ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[12] ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ร่างกฎหมายจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และดำรงตำแหน่งต่อในคณะรัฐมนตรีถัดมา[13] ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ พ.ศ. 2523[14]
สมภพ โหตระกิตย์ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3[15] และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 7[16] เมื่อ พ.ศ. 2534 นายสมภพ โหตระกิตย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการที่ปรึกษาด้านการเมืองและการต่างประเทศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ "ดิสทัต โหตระกิตย์ พ่อบ้านกมธ.ยกร่าง ลูกไม้ใต้ต้น-มือกฎหมายสายแข็ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
- ↑ "อนุสรณ์จากพระราชทานเพลิงศพ ศ.ดร.สมภพ โหตระกิตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2017-11-29.
- ↑ กรรมการเครื่องหมายการค้า
- ↑ ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๒๘/๒๕๑๙ เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ มาตานุสรณ์ by สมภพ โหตระกิตย์[ลิงก์เสีย]
- ↑ นักร่างกฎหมาย: เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 32 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 33 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๔๔/๒๕๑๙ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 34 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน 260 ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๒, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๘๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ รายนามผู้สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๒ จากเว็บไชต์ thaiscouts
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๘๗ ง หน้า ๒๐๑๖, ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒