Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ขุนวิวรณ์สุขวิทยา (ห่วง โลหะวณิชย์)

ขุนวิวรณ์สุขวิทยา
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน 2498 – 25 กุมภาพันธ์ 2500
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
27 ธันวาคม 2500 – 20 ตุลาคม 2501
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มิถุนายน พ.ศ. 2443
อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
คู่สมรสฉวี โลหะวณิชย์

ขุนวิวรณ์สุขวิทยา (ห่วง โลหะวณิชย์) เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย 2 สมัย เป้นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ และได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ ในฐานะแพทย์ผู้เอื้อเฟื้อต่อสังคมมายาวนาน[1]

ประวัติ

ขุนวิวรณ์สุขวิทยา เดิมชื่อ ห่วง โลหะวณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2443 ที่ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร บิดาชื่อ นายฮุ้น พาณิชย์ มารดาชื่อ นางเคลือบ มีอาชีพเป็นชาวนา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน สมรสกับนางสาวฉวี เปเรย์

ขุนวิวรณ์สุขวิทยา เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดสุนทรสถิตย์ อำเภอบ้านแพ้ว จากนั้นเข้าเรียนในโรงเรียนอมราบำรุงรักษ์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จนจบหลักสูตรประถม แล้วเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร และเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อด้วยเรียนแพทย์ในศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต พ.ศ. 2466 เมื่อทำงานแล้วเข้าเรียนนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ได้รับปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2482

การทำงาน

ขุนวิวรณ์สุขวิทยา เริ่มทำงานเป็นแพทย์หลังจากจบการศึกษาที่กรมสาธารณสุข เป็นแพทย์หลวงประจำท้องที่จังหวัดตาก ใน พ.ศ. 2469-2471 หลังจากนั้นก็ย้ายมาเป็นแพทย์สุขาภิบาลเมืองนครสวรรค์ และแพทย์เทศบาลเมืองนครสวรรค์ ใน พ.ศ. 2471-2480 ย้ายไปเป็นนายแพทย์โท ประจำสุขศาลากาฬสินธุ์ใน พ.ศ. 2481-2482 แล้วย้ายกลับมาดำรงตำแหน่งสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์[2] จนลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2489 ในระหว่างรับราชการ ขุนวิวรณ์สุขวิทยาได้ทำประโยชน์ด้านสาธารณสุขหลายประการ เช่น การป้องกันโรคอหิวาต์ กาฬโรค สร้างโรงพยาบาลสุขาภิบาล เมื่อ พ.ศ. 2475 ซึ่งต่อมาโอนเป็นโรงพยาบาลนครสวรรค์สังกัดกรมการแพทย์ และต่อมาได้สร้างโรงพยาบาลใหม่เสร็จเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า “โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์”

หลังจากลาออกจากราชการ ใน พ.ศ. 2489 เขาได้รับเลือกเป็นเทศมนตรี 2 สมัย เป็นประธานสภาจังหวัดติดต่อกัน 14 ปี ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 2 สมัย เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองสมัย[3][4][5] และเป็นประธานสภาเทศบาลเมืองนครสวรรค์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "บุคคลสำคัญ :: ฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
  2. รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์[ลิงก์เสีย]
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (๑. พลเอก พระประจนปัจจนึก ๒. ขุนคงฤทธิศึกษากร ๓. ขุนวิวรณ์สุขวิทยา)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (พลเอก พระประจนปัจจนึก เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร , ขุนคงฤทธิศึกษากร เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ ๑ , ขุนวิวรณ์สุขวิทยา เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ ๒)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (พลเอก พระประจนปัจจนึก เป็นประธาน ฯ ขุนวิวรณ์สุขวิทยา เป็นรองประธานสภา ฯ คนที่ ๑ นายประสิทธิ์ จุลละเกศ เป็นรองประธาน ฯ คนที่ ๒)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๓๔๘, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖๓, ๒๓ มกราคม ๒๕๐๐
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9