อนันต์ ภักดิ์ประไพ
อนันต์ ภักดิ์ประไพ (15 เมษายน พ.ศ. 2480 – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก 2 สมัย ประวัติอนันต์ ภักดิ์ประไพ เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2480 เป็นบุตรของนายอรุณ กับนางชวนชื่น ภักดิ์ประไพ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนศิริศาสตร์ และจบการศึกษาสาขาวิชาช่างกลโรงงาน จากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ และปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม การทำงานนายอนันต์ เป็นผู้ก่อตั้งกิจการรถเมล์ประเทศไทย ที่เปิดบริการรถเมล์รอบเมืองพิษณุโลก ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ได้รับเลือกตั้งสมัยแรก จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด และได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ในสังกัดพรรคไท นายอนันต์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518[1] และลาออกในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2519 หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514 ไม่นาน นายอนันต์ ร่วมกับนายอุทัย พิมพ์ใจชน ส.ส.จังหวัดชลบุรี ของพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย ส.ส.จังหวัดชัยภูมิ คือ นายบุญเกิด หิรัญคำ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาให้ดำเนินคดีต่อคณะปฏิวัติในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน ถือเป็นท้าทายอำนาจของผู้มีอำนาจอย่างตรงไปตรงมา แต่แล้วศาลได้ตีความ และทำให้ทั้งสามคนตกเป็นจำเลย และสั่งให้จำคุกนายอุทัย เป็นเวลา 10 ปี และนายบุญเกิด กับนายอนันต์ คนละ 7 ปี ซึ่งทั้งหมดได้ถูกปล่อยตัวหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ในสมัยรัฐบาลที่มีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี[2] [3][4] เขาจำคุกระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ 36/2515 และออกจากคุกวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2517 ตามพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2515 พ.ศ. 2517[5] หลังจากวางมือทางการเมือง นายอนันต์ ได้ประกอบธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดพิษณุโลก ถึงแก่อนิจกรรมนายอนันต์ ถูกฆาตกรรมเพื่อชิงทรัพย์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ในโรงแรมของตนเอง[4][6] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|