แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสาขาหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน โดยมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจะเห็นความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ แม่น้ำน่านมีสีค่อนข้างแดง ส่วนแม่น้ำปิงมีสีค่อนข้างเขียว เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อย ๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่[1] จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำในอำเภอเมืองสมุทรปราการและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่บริเวณปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน แม่น้ำทั้งสองรับน้ำมาจากทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาผีปันน้ำ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ 20,125 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก และท่าจีน) และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีน (คลองมะขามเฒ่า) ที่จังหวัดชัยนาท ที่มาของชื่อพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2041 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการขุดลอกคลองสำโรงเนื่องจากคลองตื้นเขิน เรือใหญ่เดินทางไปมาผ่านคลองสำโรงไม่สะดวก และมีการขุดพบรูปเทพารักษ์ 2 องค์ได้แก่ พระยาแสนตาและพระยาบาทสังขกร จึงเรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า บางเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาได้นำชื่อชุมชนบริเวณปากน้ำนี้มาตั้งเป็นชื่อแม่น้ำ[2] ธรณีกาลแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำเก่าในยุคไพลสโตซีน เป็นหนึ่งในแควหลักของแม่น้ำซุนดาเหนือ ร่วมสมัยกับแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำพุมดวง–ตาปี ต่อมาช่วงต้นยุคโฮโลซีน น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็ง ทำให้ขอบเขตแม่น้ำเจ้าพระยาหายไป เนื่องจากพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจมอยู่ใต้อ่าวไทยโบราณ จากนั้นเริ่มมีการทับถมของดินตะกอนใหม่อีกครั้ง จนเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน[3] การขุดลัดแม่น้ำการขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา ประกอบด้วยคลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065[4] รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช, คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ, คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และในสมัยรัตนโกสินทร์มีการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ บริเวณตำบลทรงคะนองและตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยในการระบายน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้า[ต้องการอ้างอิง] ลำน้ำสาขาด้วยความที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายในให้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยลำน้ำสาขาและคลองมีจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ ต้นน้ำต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วย ลำน้ำสาขาฝั่งขวาจังหวัดชัยนาทจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดนนทบุรี
กรุงเทพมหานคร
จังหวัดสมุทรปราการ
ลำน้ำสาขาฝั่งซ้ายจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดปทุมธานี
จังหวัดนนทบุรี
กรุงเทพมหานคร
จังหวัดสมุทรปราการ
ท่าน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมอีกเส้นทางสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้มีการสร้างท่าน้ำจำนวนมากเพื่อรองรับการขนส่งทางน้ำ โดยท่าน้ำในการเดินเรือโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีดังนี้[5]
สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดชัยนาทจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดอ่างทอง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรี
กรุงเทพมหานคร
จังหวัดสมุทรปราการ
การผลิตน้ำประปาแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของการประปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่ภาคกลาง ส่วนเขตจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ รับผิดชอบโดยการประปานครหลวง โดยมีสถานีสูบน้ำดิบสำแล ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกระแชง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี การใช้เส้นทางทางน้ำในการพระราชพิธีทางชลมารคในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2562 กรมเจ้าท่าได้ประกาศกำหนดควบคุมการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการซ้อมรูปขบวนเรือพระราชพิธี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 สัตว์น้ำหายากที่พบ
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ แม่น้ำเจ้าพระยา |