Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

คลองลัดหลวง

คลองลัดหลวงบริเวณวัดกลาง
แผนที่เมื่อ พ.ศ. 2431 แสดงเห็นบริเวณปากลัด ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคลองลัดหลวงและคลองลัดโพธิ์

คลองลัดหลวง เป็นคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของคลองลัดโพธิ์ ประมาณ 2 กิโลเมตร ส่วนที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวาในตำบลบางพึ่ง เป็นแนวตรงไปทางทิศใต้ จนออกแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวาในตำบลบางครุ คลองลัดหลวงมีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร

ประวัติ

คลองขุดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้ดำเนินการขุดคือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพซึ่งเป็นแม่กองสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ไม่ปรากฏหลักฐานปีที่ขุด แต่มีวัตถุประสงค์การขุดเพื่อช่วยย่นระยะทางเดินเรือในลำน้ำเจ้าพระยาตอนปลาย ซึ่งมีความคดโค้งมากและเพราะเกรงว่าแม่น้ำเจ้าพระยาจะกัดเซาะตลิ่งของคลองให้กว้างออกเช่นเดียวกับคลองลัดโพธิ์ ปัจจุบันบริเวณปากคลองมีประตูน้ำเปิดปิดได้เองโดยอัตโนมัติเพื่อควบคุมการไหลของน้ำเพื่อไม่ให้แรงเกินไป[1]

ในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุว่า

ในคราวเมื่อสร้างป้อมเมืองสมุทรปราการ ทรงพระราชดำริว่า ป้อมที่ได้สร้างขึ้นที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ แต่ก่อน ก็ยังค้างอยู่ไม่สำเร็จสมบูรณ์ จึงโปรดให้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น ศักดิพลเสพ เป็นแม่กองทำการสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ที่ยังค้างอยู่ ให้สร้างป้อมขึ้นอีกป้อมขึ้นอีกป้อมหนึ่ง ชื่อ ป้อมเพชรหึง เปลี่ยนให้ขุดคลองลัดหลังเมืองนครเขื่อนขันธ์ คลองหนึ่งมาทะลุออกคลองตาลาว คลองลัดที่ขุดใหม่นี้ เมื่อขุดกว้าง ๖ วา ลึก ๕ ศอก ยาว ๕๐ เส้น กรมหมื่นศักดิพลเสพ ทรงสร้างวัดขึ้นในคลองลัด ที่ขุดใหม่นี้วัดหนึ่ง พระราชทานนามว่า วัดไพชยนต์พลเสพย์

[2]

ในคราวนั้นยังสร้างวัดอีกแห่งริมคลองคือวัดโปรดเกศเชษฐาราม นอกจากนั้นยังมีวัดอื่นที่ตั้งอยู่บริเวณริมคลอง ได้แก่ วัดกลาง วัดพญาปราบปัจจามิตร วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์ วัดแค และวัดโมกข์

แต่เดิมนั้นนครเขื่อนขันธ์เรียกว่า "ปากลัด" เหตุเพราะมีคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาคือคลองลัดโพธิ์อยู่ทางทิศเหนือ และปากคลองลัดหลวงอยู่ทางทิศใต้ ปลายคลองลัดทั้งสองทะลุออกออกแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองข้าง[3] เมืองนครเขื่อนขันธ์ดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างคลองลัดทั้งสองคลอง[4]

อ้างอิง

  1. "คลองขุดในประเทศไทย". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-19. สืบค้นเมื่อ 2022-06-08.
  2. "วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร". สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ.
  3. "ประวัติความเป็นมา". เทศบาลเมืองพระประแดง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-22. สืบค้นเมื่อ 2022-06-08.
  4. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. "จากปากน้ำถึงสมุทรปราการ เมืองหน้าด่านชายทะเล". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-06-08.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9