Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

คลองมหานาค

คลองมหานาค ช่วงสะพานมหาดไทยอุทิศ

คลองมหานาค เป็นคลองขุดสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่แยกมาจากคลองรอบกรุง ในอดีตใช้เป็นสถานที่สำหรับให้ชาวพระนครมาเล่นเพลงสักวากันในช่วงน้ำหลาก ต่อมาได้มีการขุดคลองเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายคลองสายอื่นสำหรับขนส่งกำลังพลและเสบียงช่วงอานัมสยามยุทธ

ประวัติ

คลองมหานาคเป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองสองสายในปี พ.ศ. 2326[1] บ้างก็ว่าในปี 2328[2] ได้แก่คลองรอบกรุงที่สำหรับใช้เป็นแนวป้องกันของเมือง กับอีกคลองหนึ่งที่พระราชทานนามว่าคลองมหานาค ตามอย่างคลองมหานาควัดภูเขาทองในกรุงเก่า มีความเชื่อว่า คลองมหานาคอาจได้ชื่อมาจากพระมหานาค ซึ่งเป็นพระสงฆ์ผู้ริเริ่มขุดคลองแห่งนี้ขึ้นหลังจากสิ้นสุดสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้[3] สำหรับให้ชาวพระนครเล่นเพลงสักวาดั่งกรุงเก่า โดยขุดคลองแยกจากคลองรอบกรุงบริเวณป้อมมหากาฬ (ปัจจุบันคือเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ) ส่วนปลายคลองนั้นอยู่บริเวณวัดพระยายังต่อคลองบางกะปิ[1] การขุดคลองปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาดังนี้[4]

"แล้วเกณฑ์เลกลาวเขมรหัวเมืองให้ขุดคลองคูพระนครด้านตะวันออก ตั้งแต่วัดเชิงเลนขึ้นมาถึงวัดสะแกไปถึงวัดบางลำภู ออกบรรจบแม่น้ำทั้งสองข้าง และวัดสะแกนั้นพระราชทานนามใหม่ว่าวัดสระเกศ [...] แล้วให้ขุดคลองใหญ่เหนือวัดสระเกศ พระราชทานนามว่าคลองมหานาค ไว้เป็นที่สำหรับประชาชนชาวพระนครลงเรือไปประชุมกันเล่นเพลงเล่นสักวาเทศกาลน้ำเหมือนครั้งกรุงเก่า"

ซึ่งปัจจุบันลูกหลานของชาวเขมรและลาวที่ถูกเกณฑ์มาขุดคลองเหล่านี้ ก็ได้รับโปรดเกล้าให้ตั้งถิ่นฐานบริเวณสองฝั่งคลองหนึ่งในนั้นคือชุมชนบ้านครัว ซึ่งเป็นมุสลิมเชื้อสายจามจากกัมพูชาที่ถูกกวาดต้อนมายกครัว จึงเรียกว่าบ้านครัว และยังมีลูกหลานตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน[5][6]

ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองแสนแสบต่อคลองมหานาคบริเวณวัดบรมนิวาสออกไปทางบางกะปิทะลุออกเมืองฉะเชิงเทราสำหรับขนส่งกำลังคนและเสบียงในช่วงอานัมสยามยุทธ[6] และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้ขุดมาบรรจบกับคลองผดุงกรุงเกษม[2] นอกจากนี้ยังมีคลองจุลนาคที่ขุดเชื่อมคลองมหานาคกับคลองเปรมประชากรด้วย ทำให้ผู้คนสัญจรทางน้ำได้อย่างสะดวก

ปัจจุบันคลองมหานาคช่วงต่อกับคลองแสนแสบนั้นประสบปัญหาภาวะน้ำเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็นแรงเนื่องจากขยะที่ทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางจากชุมชนแออัดที่เรียงรายโดยรอบ[7]

เกาะในคลองมหานาค

จากการศึกษาของเอนก นาวิกมูลพบว่าคลองมหานาคเคยมีเกาะขนาดน้อยอยู่สามเกาะ มีปรากฏครั้งแรกในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีความว่า "[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมี] พระโองการให้ขุดคลองรอบเกาะ ให้บ่ายเรือพระที่นั่งได้ เรียกว่าคลองมหานาค"[1] ส่วนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า "คือมีเกาะในระหว่างโรงเรือกับวัดด้านหนึ่ง เกาะด้านตะวันออกที่เรียกว่าเกาะยายชีด้านหนึ่ง…"[1] ในอดีตเมื่อถึงงานประเพณีนมัสการภูเขาทอง ก็จะมีการจัดงานรื่นเริง เช่น การแข่งเรือ ร้องเพลงเรือ เล่นดอกสร้อยสักวา จุดดอกไม้ไฟทั้งบนบกและในน้ำ โดยมีเกาะยายชีเป็นศูนย์กลางผู้คนที่เข้ามาร่วมชมการละเล่น[8] และยังปรากฏใน นิราศบรมบรรพต ของพระพินิจหัตถการ (ชื่น สาริกบุตร) ว่า[1]

มีเกาะอยู่กลางน้ำถึงสามเกาะ ก็ดูเหมาะความสนุกเปนสุขขา
ยังมิได้จัดทำปรำปรา เดี๋ยวนี้มาจัดระเบียบจึงเรียบดี

เอนกสันนิษฐานจากการเปรียบเทียบภาพถ่ายเก่า พบว่าเกาะแห่งแรกอยู่บริเวณเชิงสะพานมหาดไทยอุทิศ เกาะแห่งที่สองอยู่ตรงข้ามตึกการบินไทย ส่วนเกาะอีกเกาะหนึ่งเรียกว่าเกาะยายชีอยู่บริเวณสะพานนริศดำรัส ส่วนเกาะทั้งสามหายไปในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เกาะหายไปได้อย่างไรไม่เป็นที่ปรากฏ[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 เอนก นาวิกมูล (8 มีนาคม 2560). "เกาะในคลองมหานาค หน้าวัดสระเกศ ถ่ายก่อน พ.ศ. ๒๔๓๓". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "คลองขุดในประเทศไทย". สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. สุจิตต์ วงษ์เทศ (25 กุมภาพันธ์ 2560). "มหานาค (วัดภูเขาทอง อยุธยา) สึกจากพระไปอาสาสู้ศึกหงสาวดี". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. สุจิตต์ วงษ์เทศ (10 กันยายน 2559). "ลาวกับเขมร ขุดคลองมหานาค ใกล้ป้อมมหากาฬ กรุงเทพฯ". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2548, หน้า 115-116
  6. 6.0 6.1 ปราณี กล่ำส้ม. ย่านเก่าในกรุงเทพฯ [เล่ม ๑]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ. 2549, หน้า 233-234
  7. "นี่หรือนครแห่งการท่องเที่ยว อเมซิ่งกรุงเทพฯ คนมักง่ายกับเมืองน้ำเน่า!". ไทยรัฐออนไลน์. 2 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน ?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2548, หน้า 163

13°45′20.3″N 100°30′20.84″E / 13.755639°N 100.5057889°E / 13.755639; 100.5057889

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9