Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

คลองบางตะนาวศรี

คลองบางตะนาวศรีช่วงตัดกับถนนพิบูลสงคราม

คลองบางตะนาวศรี เป็นคลองแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาในท้องที่ตำบลสวนใหญ่ ตำบลตลาดขวัญ และตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ประวัติและการตั้งถิ่นฐานริมคลอง

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2302 พระเจ้าเอกทัศโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญจากเมืองตะนาวศรีตั้งบ้านเรือนที่ฝั่งตะวันออกของเมืองนนทบุรี ตั้งเป็นชุมชนเรียกว่า บางตะนาวศรี มีวัดประจำชุมชนคือ วัดนครอินทร์[1] คลองบริเวณนี้ได้ตั้งชื่อตามชุมชนว่า "คลองบางตะนาวศรี" อย่างไรก็ดีคนบ้านตะนาวศรีแต่กำเนิดซึ่งสืบเชื้อสายมาหลายชั่วอายุคน ได้กล่าวว่าตนไม่ได้เป็นคนไทยเชื้อสายมอญ รวมถึงไม่ได้เป็นคนพวกเดียวกับมอญที่ปากเกร็ดและเกาะเกร็ดด้วย[2]

ในช่วงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีช่างปั้นหม้อจากคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวนหนึ่งได้ย้ายเข้ามาทำเครื่องปั้นดินเผาที่บางตะนาวศรี จากรายงานของพระกรุงศรีบุรีรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรี ถึงเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล เมื่อ พ.ศ. 2463 ได้กล่าวว่า "การหัตถกรรมซึ่งเป็นของพื้นเมือง มีการทำเครื่องปั้นดินเผาอย่างหนึ่ง เครื่องปั้นดินเผานั้นชาวบ้านแถวปากคลองบางตะนาวศรีทำหม้อ"[3]

จากหลักฐานเอกสารเรื่อง "เมืองนนทบุรี" ระบุว่า "คลองบางแพรก บางตนาวศรี บางขุนเทียนเป็นปลายตันตามทุ่งนา แต่ในลำคลองมีบ้านเรือนราษฎรมาก แล 2 ฝั่งคลองเป็นสวน เป็นคลองที่น่าเที่ยวในเวลาฤดูน้ำ"[4] ในบริเวณย่านบางตะนาวศรีนิยมปลูกทุเรียนกันมากในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[2]

ในอดีตมีคลองจามจุรีและคลองบางขวางเชื่อมต่อถึงกันได้ โดยคลองจามจุรีเป็นคลองขนานกับแม่น้ำเจ้าพระยาแยกจากคลองบางขวางบริเวณวัดบางขวางตรงเรื่อยมาทางใต้มาเชื่อมกับคลองบางตะนาวศรี โดยในช่วง พ.ศ. 2480 คลองบางตะนาวศรีและคลองบางขวางเริ่มตื้นเขินขึ้นทำให้สัญจรไปมาไม่สะดวก จึงได้มีการขุดลอกคลองตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2480 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2480 ใช้แรงงานขุดลอกทั้งหมด 40 คน ได้ระยะคลองที่ขุดลอก ยาว 704 เมตร กว้าง 2.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร[5]

บริเวณปากคลองเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อปู่อายุนับร้อยปี รูปเคารพของเจ้าพ่อปู่มีลักษณะคล้ายไม้เจว็ดในศาลพระภูมิ แต่มีขนาดใหญ่กว่ากันมาก[6]

อ้างอิง

  1. "บ้านบางตะนาวศรี".
  2. 2.0 2.1 ภควุฒิ ทวียศ. "วิถีชีวิตชุมชนตลาดท่าน้ำนนทบุรี พ.ศ. 2471-2526" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  3. "งานหัตถกรรมพื้นบ้าน อาชีพที่มีชื่อเสียง ของเมืองนนทบุรีในอดีต" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-04-24. สืบค้นเมื่อ 2023-04-24.
  4. "เรื่องเมืองนนทบุรี," 19-21 กรกฎาคม 2458, เอกสารรัชกาลที่ 6 กระทรวงนครบาล, ร. 6 น. 10.5ก/22, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
  5. "เรื่องการขุดลอกคลองบางขวางใหลเชื่อมต่อกับคลองบางตะนาวศรี ในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี," 2481, เอกสารกระทรวงมหาดไทย, มท.5.3.9/167, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
  6. "ท็อปฮิต "ศาล" ผีเมืองหลวง". ศิลปวัฒนธรรม.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9