Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

คลองบางบำหรุ

คลองบางบำหรุ เป็นคลองสายหนึ่งในจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบันมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่คลองพระคุณแม่ (หรือคูน้ำพระคุณพ่อแม่) ตรงแนวแบ่งเขตระหว่างตำบลบางกรวยกับตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ไหลไปทางทิศใต้ ลอดผ่านทางรถไฟสายใต้เข้าท้องที่แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร จากนั้นวกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ลอดผ่านถนนสิรินธรเข้าท้องที่แขวงบางบำหรุ และลอดผ่านถนนบรมราชชนนีเข้าท้องที่แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย ก่อนไหลไปลงคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย ปากคลองเป็นที่ตั้งของวัดนายโรง คลองมีความยาวประมาณ 4 กิโลเมตร และมีความกว้างประมาณ 4–7 เมตร

คลองบางบำหรุเป็นเส้นทางน้ำเก่าแก่ ปรากฏอยู่ในโครงนิราศหลายเรื่อง เช่น กำสรวลสมุทร วรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น[]

ฝ่ายสยงสุโนกไห้ หานาง แม่ฮา
รยมทนนทึงแทงโลม ลิ่นเล้า
มาดลบำรุะคราง ครวญสวาสดิ
ให้บำรุะหน้าเหน้า จอดใจ ฯ
บำรุะบำราษแก้ว กูมา
จักบำรุงใครใคร ช่วยได้
บรับบเร่อมอา บ่ร่าง ละเลอย
โอ้บเร่อมน้องให้ ไฝ่เหนสองเหน ฯ

ยังมีนิราศหลายเรื่องที่กล่าวถึงบางบำหรุระหว่างการเดินทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ ได้แก่ นิราศพระประธม ของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท, นิราศพระประธม ของสุนทรภู่ และ นิราศพระปฐม ของหลวงจักรปาณี (ฤกษ์)[1]

ย่านบางบำหรุเป็นแหล่งสวนมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีผลไม้ขึ้นชื่อคือสับปะรดบางบำหรุ[2] ในช่วงก่อน พ.ศ. 2500 บริเวณปากคลองบางบำหรุมีตลาดน้ำ[3]

เชิงอรรถ

  1. อย่างไรก็ตาม ผู้แต่ง กำสรวลสมุทร ซึ่งเดินทางออกจากกรุงศรีอยุธยามาตามแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม (ในเวลานี้คือคลองอ้อมและคลองบางกรวย) ได้กล่าวถึง "บางบำหรุ" ไว้ก่อนที่จะกล่าวถึงบางเขน ดังนั้น "บางบำหรุ" ในโคลงนิราศนี้จึงอาจไม่ได้หมายถึงคลองบางบำหรุตรงวัดนายโรง แต่อาจหมายถึงทางน้ำสายอื่นที่มีชื่อว่าบางบำหรุเช่นกันในเวลานั้น หรือไม่ก็อาจหมายถึงคลองบางบำหรุสายเดียวกันนี้ โดยในสมัยนั้นอาจเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมช่วงที่เป็นคลองบางกรวยกับช่วงที่เป็นคลองบางกอกน้อยทุกวันนี้ แต่ลำคลองตอนบนได้ตื้นเขินลงในสมัยต่อมา ทั้งนี้ ทางน้ำที่ไหลเป็นแนวตรงกับคลองบางบำหรุไปลงคลองบางกรวยในปัจจุบันมีชื่อว่าคลองผู้การนงค์

อ้างอิง

  1. "บทกวีนิราศ ตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่".
  2. วุฒิพงษ์ ทวีวงศ์และ สิกิต อริฟวิโดโด. "ภูมิทัศน์สวนในบางกอก: การตีความจากแผนที่และภาพถ่ายโบราณ". ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  3. "เศรษฐศาสตร์กับการคมนาคม คลองกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของชาวสวน ในสมัยรัชกาลที่ 5". ฐานเศรษฐกิจ.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9