Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
วัดกัลยาณมิตร
มุมมองหันออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
แผนที่
ชื่อสามัญวัดกัลยาณ์, วัดกัลยาณมิตร
ที่ตั้งเลขที่ 371 ซอยอรุณอมรินทร์ 6 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
ประเภทพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร
นิกายเถรวาท มหานิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้

ประวัติ

เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และเรียกกันต่อมาว่า "หมู่บ้านกุฎีจีน" สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2368 และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร" และทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานพระราชทาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต ด้วยมีพระประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมืองอย่างเช่นวัดพนัญเชิงวรวิหาร

หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 5 วา 3 ศอกคืบ สูง 7 วา 2 ศอกคืบ 10 นิ้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เสด็จก่อพระฤกษ์เมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2380 อยู่ภายในพระวิหารขนาดใหญ่อยู่กลางวัด ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ

พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ป่าเลไลย์) ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระราชทาน เป็น 1 ใน 2 วัดของกรุงเทพมหานครที่มีพระประธานของพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ อีกแห่งคืออุโบสถวัดบางขุนเทียนใน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงพุทธประวัติ และแสดงชีวิตชาวบ้านในสมัยรัชกาลที่ 3 และยังมีหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ 4

หน้าวิหารหลวงเป็นหอระฆังที่เพิ่งสร้างใหม่ เก็บระฆังยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดของไทย [ต้องการอ้างอิง]

งานศิลปกรรม

พระวิหารหลวง

พระวิหารหลวง

เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2380 โดย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นการสร้างทำตามแบบครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่อยู่นอกพระนครสำหรับให้ราษฏรได้สักการะบูชา พระวิหารหลวงจัดเป็นอาคารแบบไทยประเพณี โดยแบบไทยประเพณีคือส่วนหลังคาที่เป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีเครื่องลำยองประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง หน้าบันเป็นไม้เเกะสลักประดับกระจกรูปพรรณพฤกษา ส่วนที่พัฒนาแบบพระราชนิยมคือการใช้เสารับน้ำหนักหลังคาทรงเหลี่ยมทึบลบมุมขนาดใหญ่ ไม่ประดับบัวหัวเสา ไม่มีคันทวย มีเฉลียงรอบอาคาร[1] นับเป็นอาคารเครื่องไม้มุงกระเบื้องที่ใหญ่เเละสูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร มีการสร้างมุขลดทั้งด้านหน้าเเละหลังเพื่อให้อาคารมีสัดส่วนที่สวยงาม ซุ้มประตูเเละหน้าต่างเป็นซุ้มแบบไทยประเพณี เป็นการผสมกันระหว่างซุ้มแบบบรรพเเถลงเเละซุ้มปราสาทยอด บางครั้งเรียกว่า "ซุ้มยอดมงกุฏ" เป็นอีกหนึ่งรูปแบบศิลปกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3[2]

พระพุทธไตรรัตนนายก

พระพุทธไตรรัตนนายก

พระพุทธรูปในพระวิหารหลวงเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 5 วา 3 ศอกคืบ (11.75 เมตร) สูง 7 วา 2 ศอกคืบ 10 นิ้ว (15.45 เมตร) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จก่อพระฤกษ์ด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2380 เมื่อเเรกสร้างคนทั่วไปเรีนกว่า พระโต หรือ หลวงพ่อโต ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนาม "พระพุทธไตรรัตนนายก" เเต่ชาวจีนเรียก ซำปอกง หรือ ซำปอฮุดกง เป็นที่เคารพบูชาของคนจีนอย่างมาก ลักษณะของพระพุทธไตรรัตนนายกเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ พระวรกายเพรียวบาง พระพักตร์ค่อนขข้างกลมกึ่งรูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง เส้นขอบเปลือกพระเนตรพระขนงป้ายเป็นแผ่น พระเนตรเปิดเเละมองตรง พระนาสิกค่อนข้างเล็กเเละโด่ง พระโอษฐ์เล็ก แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย เส้นพระโอษฐ์โค้งเล็กน้อยเกือบเป็นเส้นตรง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่อยู่กึ่งกลางพระวรกาย ลักษณะการแย้มพระโอษฐ์เล็กน้อยเช่นนี้ทำให้สีพระพักตร์คล้ายกับหุ่นละคร หรือเรียกว่า "พระพักตร์อย่างหุ่น"[3]

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ

สร้างขึ้นราว พ.ศ.2478 โดยตั้งอยู่บริเวณที่เป็นบ้านเดิมของเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เป็นอาคารแบบพระราชนิยมไทยผสมจีน โครงสร้างอาคารใช้เสาสี่เหลี่ยมทึบไม่ย่อมุมรับน้ำหนักหลังคา มีเฉลียงรอบอาคาร การใช้เสาที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมทึบที่มีขนาดใหญ่ทำให้สามารถรับน้ำหนักส่วนหลังคาได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ไม่มีคันทวยเเละบัวหัวเสา หน้าบันเป็นงานก่ออิฐถือปูนไม่มีเครื่องลำยอง[4] ซุ้มประตูหน้าต่างทำลวดลายเป็นลายอย่างเทศใบรูปแบบเดียวกัน พื้นกรอบประตูหน้าต่างประดับด้วยกระจกเกรียบสีน้ำเงินปั้นลวดลายอย่างเทศลงรักปิดทอง เป็นลายก้าน ใบ ออกช่อดอกอย่างศิลปกรรมตะวันตก หน้าบันกรอบซุ้มประตูเป็นกรอบวงกลมที่ตรงกลางประดับรูปดอกไม้พื้นประดับกระจกเกรียบสีแดง ซึ่งมีลักษณะลวดลายเหมือนกับกรอบรูปในศิลปะตะวันตก[5]

หน้าบัน

หน้าบันพระอุโบสถ

หน้าบันพระอุโบสถเป็นหน้าบันแบบพระราชนิยมคือ เป็นหน้าบันก่ออิฐถือปูนไม่มีเครื่องลำยอง ลักษณะหน้าบันของพระอุโบสถวัดกัลยาณมิตรมีลักษณะคือ เหมือนจะทำเป็นหน้าบันแบบ 2 ชั้น เเต่ภายในหน้าบันกลับประดับลวดลายต่อเนื่องไม่มีขอบแบ่งชั้นหน้าบันออกจากกัน วัดอื่นที่ทำหน้าบันแบบพระราชนิยมลักษณะเช่นนี้เช่น วัดโปรดเกศเชษฐาราม วัดไพชยนต์พลเสพ สันนิษฐานว่าเป็นลักษณะหน้าบันของวัดแบบพระราชนิยมที่เจ้านายหรือขุนนางเป็นผู้สร้างเเละอุทิศถวายรัชกาลที่ 3 รายละเอียดของหน้าบันมีการเเบ่งเป็นแถบของกรอบหน้าบันส่วนกรอบปิดพื้นด้วยกระเบื้องสีแดง ประดับด้วยกระเบื้องเป็นลายดอกไม้ ใบไม้ ส่วนของด้านในปิดพื้นด้วยกระเบื้องสีเหลืองอ่อน ผูกลวดลายเป็นลายก้านแยก ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องถ้วย ส่วนกลางของหน้าบันแทรกรูปนก 2 ตัวที่หันหน้าเข้าหากันแต่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่สมมาตรกัน[6]

พระประธานในพระอุโบสถ

พระประธานในพระอุโบสถ

พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ เป็น 1 ใน 2 วัดของกรุงเทพมหานครที่มีพระประธานของพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ อีกแห่งคือพระประธานในอุโบสถวัดบางขุนเทียนใน พระประธานในพระอุโบสถวัดกัลยาณมิตรสร้างขึ้นโดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หล่อด้วยสำริด มีความสูงตั้งเเต่พระบาทถึงพระเกตุ 5.65 เมตร มีลักษณะห้อยพระบาทวางพระหัตถ์ไว้บนพระชานุ พระหัตถ์ขวาหงายขึ้นเพื่อรับของถวาย มีประติมากรรมช้างหมอบถวายน้ำเเละลิงถวายรวงผึ้งอยู่ด้านหน้า ลักษณะพระพุทธรูปเป็นแบบที่นิยมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ มีลักษณะพระพัตร์แบบอย่างหุ่น พระโอษฐ์เล็ก สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่อยู่กึ่งกลางพระวรกาย[7]

ศาลาการเปรียญ

ศาลาการเปรียญ

ศาลาการเปรียญ บางตำราเรียกพระวิหารน้อย มีลักษณะอาคารเเละขนาดแบบเดียวกับพระอุโบสถทุกประการคือ เป็นอาคารเเบบพระราชนิยมไทยผสมจีน โครงสร้างอาคารใช้เสาสี่เหลี่ยมทึบไม่ย่อมุมรับน้ำหนักหลังคา มีเฉลียงรอบอาคาร การใช้เสาที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมทึบที่มีขนาดใหญ่ทำให้สามารถรับน้ำหนักส่วนหลังคาได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ไม่มีคันทวยเเละบัวหัวเสา หน้าบันเป็นงานก่ออิฐถือปูนไม่มีเครื่องลำยอง จุดเเต่งต่างของศาลาการเปรียญที่แตกต่างจากพระอุโบสถ คือสีบนกรอบหน้าบันที่จะเป็นสีเหลืองอ่อนเหมือนกันทั้งหน้าบันแต่สีบนกรอบหน้าบันของพระอุโบสถจะมีลักษณะสีแดง ซุ้มประตูเเละซุ้มหน้าต่างเป็นซุ้มที่ตกเเต่งประดับลวดลายอย่างเทศเช่นเดียวกับพระอุโบสถ[8]

หน้าบัน

หน้าบันศาลาการเปรียญ

หน้าบันของศาลาการเปรียญมีลักษณะคล้ายกับหน้าบันพระอุโบสถเกือบทุกประการคือ เหมือนจะทำเป็นหน้าบันแบบ 2 ชั้น เเต่ภายในหน้าบันกลับประดับลวดลายต่อเนื่องไม่มีขอบแบ่งชั้นหน้าบันออกจากกัน จุดแตกต่างของหน้าบันพระอุโบสถเเละศาลาการเปรียญอยู่ตรงที่รายละเอียดของหน้าบันตรงกรอบของหน้าบันศาลาการเปรียญที่จะลงพื้นกระเบื้องสีเหลืองอ่อนเหมือนกันทั้งหน้าบัน แต่สีบนกรอบหน้าบันของพระอุโบสถจะมีลักษณะสีแดง ลวดลายบนกรอบหน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเป็นลายดอกไม้ ใบไม้ ส่วนของด้านใน ผูกลวดลายเป็นลายก้านแยก ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องถ้วย ส่วนกลางของหน้าบันแทรกรูปนก 2 ตัวยืนซ้อนกันและหันหน้าเข้าหากันแต่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่สมมาตรกันคล้ายกับหน้าบันพระอุโบสถ

พระประธานในศาลาการเปรียญ

พระประธานในศาลาการเปรียญ

เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อจากสำริดขนาดใหญ่ ลักษณะทางพุทธศิลป์จัดเป็นศิลปะสุโขทัยที่ได้รับการแปลงพระพักตร์ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวคือ ส่วนองค์พระพุทธรูปเป็นแบบสุโขทัยที่มีพระวรกายบอบบาง พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก สังฆาฏิแผ่นเล็กปลายแยดเป็นสองชายคล้ายเขี้ยวตะขาบ และพระหัตถ์ยาวไม่เสมอกันแบบสุโขทัยหมวดใหญ่[9] พระพักตร์เป็นแบบที่นิยมสร้างใหม่ในรัชกาลที่ 3 คือ พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งไข่ ขมวดพระเกษาเล็ก มีพระรัสมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเปิดเเละมองตรง พระนาสิกค่อนข้างเล็กเเละโด่ง พระโอษฐ์เล็กแย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย เส้นพระโอษฐ์โค้งเล็กน้อยเกือบเป็นเส้นตรง เรียกว่า "พระพักตร์อย่างหุ่น"

ลำดับเจ้าอาวาส

ลำดับ เจ้าอาวาส[10] วาระ (พ.ศ.)
1 พระพิมลธรรม (พร) 2379 – 2385
2 พระญาณรังษี (สิน) 2385 – 2394
3 พระธรรมเจดีย์ (เนียม) 2394 – 2426
4 พระปริยัติบัณฑิต (ครุฑ) 2426 – 2436
5 พระวิเชียรคุณาธาร (โสตถิ์) 2436 – 2437
6 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (เปีย จนฺทสิริ) 2438 – 2464
7 พระวินัยกิจโกศล (ตรี จนฺทสโร) 2464 – 2489
8 พระราชปริยัติ (สุวรรณ โฆสโก) 2492 – 2528
9 พระราชสังวรวิมล (พร ยโสธโร) 2529 – 2542
10 พระพรหมกวี (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ) 2545 – ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, คู่มือนำชม ๓๓ พระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2566), 612
  2. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, คู่มือนำชม ๓๓ พระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2566), 613
  3. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, คู่มือนำชม ๓๓ พระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2566), 614-615
  4. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, คู่มือนำชม ๓๓ พระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2566), 615-616
  5. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, คู่มือนำชม ๓๓ พระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2566), 619
  6. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, คู่มือนำชม ๓๓ พระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2566), 616-618
  7. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, คู่มือนำชม ๓๓ พระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2566), 620-621
  8. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, คู่มือนำชม ๓๓ พระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2566), 623
  9. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, คู่มือนำชม ๓๓ พระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2566), 624
  10. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
  • วัดกัลยาณมิตร นำชมกรุงรัตนโกสินทร์, สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2525, หน้า 251-259.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′24″N 100°29′29″E / 13.739885°N 100.491359°E / 13.739885; 100.491359

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9