Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

วัดอัมพวัน (จังหวัดสิงห์บุรี)

วัดอัมพวัน
แผนที่
ที่ตั้งตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธชโลธร
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดอัมพวัน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี

วัดอัมพวันมีการปฏิบัติธรรมซึงพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)เป็นผู้สร้างเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้ แนวทางการปฏิบัติจะเป็นการฝึกแบบสติปัฏฐาน 4 (พอง-ยุบ)[1]

ที่ตั้งและอาณาเขตของวัด

วัดอัมพวัน ตั้งอยู่เลขที่ 53 หมู่ที่ 4 (เบี่ยงออกจากถนนเอเชีย กิโลเมตรที่ 78 )ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16160 โทร. 036 510 598

ที่ดินของวัดมีเนื้อที่ 31 ไร่ 2 งาน 8 ตารางวา ตามหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนดที่ 8877 เลขที่ 223 โดยมีอาณาเขตดังนี้

  • ทางทิศเหนือ มีความยาว 38 เมตร ติดกับที่ดินเลขที่ 147 ทางสาธารณประโยชน์
  • ทางทิศใต้ มีความยาวยาว 259 เมตร ติดกับที่ดินเลขที่ 145 ที่มีการครอบครองสาธารณประโยชน์
  • ทางทิศตะวันออก มีความยาว 185 เมตร ติดกับทางสาธารณประโยชน์
  • ทางทิศตะวันตก มีความยาว 192 เมตร ติดกับที่ดินเลขที่ 147 ทางสาธารณประโยชน์

ประวัติ

วัดอัมพวันเป็นวัดที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[2] ดังมีหลักฐานที่ปรากฏ เช่น พระพุทธรูปปางนาคปรกหิน 2 องค์ สมัยลพบุรี แบบหูยาน 2 องค์ ตู้พระธรรมสร้าง พ.ศ. 2200 จำนวน 1 ตู้ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ 1 ตู้ พ.ศ. 2310 ศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่าจารึกเป็นภาษาจีนว่าคนจีนได้สร้างอุโบสถวัดอัมพวัน สมัยเหม็งเชี้ยว คนจีนได้นำเรือกำปั่นมาทำการค้ามากับฝรั่งชาติฮอลันดามาค้าขายกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เมืองลพบุรี จอดหน้าวัดอัมพวัน ได้สร้างโบสถ์วัดอัมพวันสมัยเจ้าอาวาสวัดอัมพวันชื่อ พระครูญาณสังวร อายุ 99 ปี สร้างโบสถ์เสร็จแล้ว ฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทาน พระพุทธรูปปางนาคปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คนจีนเอาไว้ในโบสถ์จนถึงการสร้างโบสถ์หลังใหม่(ปัจจุบันนำไปประดิษฐานที่กุฏิหลวงพ่อชั้นล่าง)

โบราณวัตถุที่สำคัญ

  1. พระพุทธรูปนาคปรกหูตุ้ม
  2. พระพุทธรูปนาคปรกหูหยาน
  3. พระพุทธรูปปางสมาธิเพชร
  4. ตู้พระไตรปิฎก ลายรดน้ำ สร้างปีพ.ศ. 2310
  5. ตุ้พระธรรม สร้างปีพ.ศ. 2200

พระพุทธชโลธร พระประธานที่อุโบสถเป็นพระประธานแบบสุโขทัย ปางสะดุ้งมารขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก 9 นิ้ว สูง 5 ศอก ประทับนั่งอยู่บนฐานชุกชีแบบอยุธยาทำด้วยปูนปั้นจำลองแบบมาจากวัดโพธิ์ พระนคร สร้างเมื่อ 8 เมษายน 2513 โดยมีคุณสุมาลย์-คุณทองย้อย ชโลธร เป็นผู้อุปถัมภ์ในการสร้างจึงได้ชื่อสกุลมาเป็นพระนามของพระพุทธรูปนั้น

การบริหาร การปกครอง

วัดอัมพวัน เป็นวัดในเขตการปกครองสงฆ์ของมหานิกาย ภาค 3 หนกลาง ปัจจุบัน เจ้าอาวาสชื่อ “พระครูปลัดสิทธิวรวัฒน์”

  • รายชื่อเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเท่าที่มีหลักฐาน ดังนี้

พ.ศ. 2382 - 2397 คือ พระครูพรหมนครบวรราชมุนี

พ.ศ. 2398 - 2412 คือ พระครูปาน

พ.ศ. 2412 - 2427 คือ พระอธิการเทศ

พ.ศ. 2428 - 2442 คือ พระอธิการเยื้อน

พ.ศ. 2443 - 2556 คือ พระใบฎีกาแย้ม

พ.ศ. 2456 - 2465 คือ พระอธิการเลี่ยม

พ.ศ. 2466 - 2476 คือ เจ้าอธิการสัว

พ.ศ. 2476 - 2480 คือ พระอธิการล้วน

พ.ศ. 2481 - 2499 คือ พระอธิการหล่ำ เหมโก

พ.ศ. 2500 - 2559 คือ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

พฤษภาคม พ.ศ. 2559 - เมษายน พ.ศ. 2560 คือ พระครูปัญญาประสิทธิคุณ

พ.ศ. 2560 ถึง ปัจจุบัน คือ พระครูปลัดสิทธิวรวัฒน์

สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญ

  • พระเจดีย์ธรรมสิงหบุราจริยานุสรณ์

เริ่มดำเนิการก่อสร้างหลังจากหลวงพ่อจรัญได้ละสังขารในปีพ.ศ. 2559 ได้แรงบันดาลใจจากวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา (ซึ่งหลวงพ่อจรัญเคยไปตามนิมิตได้พบใบลานทองคำที่จารึกบทถวายพรพระหรือพุทธชัยมงคลคาถาซึ่งสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงจารึกและบรรจุไว้ในเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลแห่งนี้) สำหรับพระเจดีย์ธรรมสิงหบุราจริยานุสรณ์นี้ มีเจดีย์ใหญ่อยู่ตรงกลางแวดล้อมด้วยเจดีย์เล็กอีก 8 ทิศ เจดีย์เป็นสีขาว มีส่วนยอดหุ้มทองคำ เจดีย์ประกอบด้วยกัน 4 ชั้น ชั้น G : ลานจอดรถ ความจุประมาณ 140 คัน ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่อเนกประสงค์ที่พระภิกษุสงฆ์และพุทธบริษัทสามารถใช้ปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ ชั้นที่ 2 เพื่อบรรจุพระสรีระสังขารของพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโมรวมทั้งอัฐบริขารต่างๆของหลวงพ่อ ส่วนชั้น 3 (ชั้นบนสุด) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนที่ฐานโดยรอบชั้นล่างของพระเจดีย์ยังสามารถใช้เพื่อการเวียนเทียนประทักษิณ

กิจกรรมและวันสำคัญของวัด

  • 1 มกราคม วันทำบุญผ้าป่าข้าวสาร
  • 14 มกราคม วันทำบุญแผ่นดิน
  • 25 มกราคม วันละสังขารหลวงพ่อจรัญ
  • 27 มกราคม วันทำบุญบำเพ็ญกุศลให้แม่ใหญ่(อุบาสิกาสุ่ม ทองยิ่ง)
  • 5 กุมภาพันธ์ วันทำบุญบำเพ็ญกุศลให้ย่าเจิม จรรยารักษ์(โยมแม่)
  • 15 เมษายน วันกตัญญู
  • 15 สิงหาคม วันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อจรัญ
  • 14 ตุลาคม วันคล้ายวันประสบอุบัติเหตุ
  • 31 ธันวาคม วันชำระหนี้สงฆ์ สวดมนต์ข้ามปี

ศูนย์ปฏิบัติธรรม

เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) ได้เป็นผู้ก่อตั้งเพื่อโดยมีปณิธานว่า"ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันนี่ เป็นของคนไทย เอาไว้ช่วยเหลือประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในชาติบ้านเมืองของเรา" โดยศูนย์ฯมีพื้นที่เกือบ 300 ไร่ มีศาลาปฏิบัติธรรม อาคารที่พัก วิหาร หอฉัน โรงทาน ห้องน้ำ ห้องครัว ไว้รองรับผู้ปฏิบัติธรรมทั้งแบบทั่วไปและหมู่คณะ

อ้างอิง

  1. "วัดอัมพวัน". สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-08. สืบค้นเมื่อ 2021-08-08.
  2. "วัดอัมพวัน". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.

แหล่งข้อมูล

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9