หมู่บ้านโปรตุเกส บ้างเรียก บ้านพุทธเกศ [ 1] หรือ บ้านดิน ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่อยู่ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2054 โดยอาฟงซู ดึ อัลบูแกร์กึ ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกสประจำเอเชีย ได้ส่งดูวาร์ตึ ฟือร์นังดึช เป็นทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายและเป็นทหารอาสาในกองทัพกรุงศรีอยุธยา สร้างโบสถ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ศาสนาและเป็นศูนย์กลางของชุมชน
ปัจจุบัน ซากสิ่งก่อสร้างคือโบราณสถานซานเปโตรหรือเรียกในสมัยอยุธยาว่าโบสถ์เซนต์ดอมินิก เป็นโบสถ์ในคณะดอมินิกัน นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในแผ่นดินไทยเมื่อ พ.ศ. 2083 ตั้งอยู่ในบริเวณเกือบกึ่งกลางหมู่บ้านโปรตุเกส มีเนื้อที่ประมาณ 2,400 ตารางเมตร ยาวตามแนวทิศตะวันออกไปตะวันตกหันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
โบราณสถานซานเปโตรประกอบไปด้วย ส่วนหน้า เป็นสุสานของชาวคาทอลิก คณะโดมินิกัน; ส่วนกลาง ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและฝังศพบาทหลวง ; ส่วนในด้านหลังเและด้านข้าง เป็นที่พักอาศัย มีการค้นพบโบราณวัตถุ โครงกระดูกมนุษย์ กล้องยาสูบ เหรียญกษาปณ์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับกำไลแก้ว และเครื่องประกอบพิธีทางศาสนา เช่น ไม้กางเขน เหรียญรูปเคารพในศาสนา ลูกประคำ[ 2]
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
ปรีดี พิศภูมิวิถี. “จดหมายรุย ดือ อาเราชู (Rui de Araújo) และบันทึกคำสั่ง อัลฟงซู ดือ อัลบูแกร์เกอ (Afonso de Albuquerque) ถึงอันโตนิโย มิรันดา ดือ อาเซเวดู (António Miranda de Azevedo) ในการเริ่มต้นความสัมพันธ์สยามกับโปรตุเกสในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16.” ใน วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ), 100 เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ 1 . น. 187-223. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2552.
พิทยะ ศรีวัฒนสาร. “ชุมชนโปรตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2059-2310.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
Suthachai Yimprasert. “Portuguese Lançados in Asia in the Sixteenth and Seventeenth Centuries.” PhD diss., Department of Hispanic, Portuguese and Latin American Studies, Faculty of Arts, University of Bristol, 1998.
Suthachai Yimprasert. “The Portuguese in Siam and Pegu.” Asian Review 13 (1999-2000): 36-59.
Van Roy, Edward. “The Portuguese in Siam: A Quinquacentenial Retrospect.” Asian Review 20 (2007): 125-164.
อ้างอิง
↑ จิราภรณ์ มาตังคะ. "การใช้ภาษาโปรตุเกสและภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา". วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม (23 ธันวาคม 2562): 76
↑ https://hilight.kapook.com/view/5425
ในเกาะเมือง นอกเกาะเมือง ส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดินแดนแทรกทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย
ยุคปัจจุบัน
ไชนาทาวน์
เจแปนทาวน์
โคเรียทาวน์
ลิตเติลอินเดีย
เมียนมาทาวน์
เวียดนามทาวน์
ยุคประวัติศาสตร์