Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

คลองคูเมืองเดิม

คลองคูเมืองเดิม
คลองหลอดมองมุ่งหน้าสะพานผ่านพิภพลีลา
ตำแหน่งกรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
ข้อมูลจำเพาะ
ประตูกั้นน้ำ2
ประวัติ
ชื่อทั่วไปคลองหลอด
วันที่อนุมัติพ.ศ. 2314
เริ่มก่อสร้างพ.ศ. 2314
ข้อมูลภูมิศาสตร์
ทิศตะวันตกเฉียงใต้
จุดเริ่มต้นแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงชนะสงคราม และแขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร
จุดสิ้นสุดแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และแขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์
สาขาคลองหลอดวัดราชนัดดา
คลองหลอดวัดราชบพิธ
สาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา
เชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนคลองคูเมืองเดิม
ขึ้นเมื่อ29 เมษายน พ.ศ. 2519
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000038

คลองคูเมืองเดิม บ้างเรียก คลองหลอด เป็นคลองขุดรอบพระนครชั้นใน (ชั้นแรก) ของเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นคูเมืองที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรี หลังการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงย้ายราชธานีไปยังกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดคูเมืองขึ้นใหม่ ส่วนคลองคูเมืองเดิมได้กลายสภาพเป็นเส้นทางคมนาคมของประชาชนในพระนครแทน

คลองคูเมืองเดิมบริเวณริมถนนอัษฎางค์ หน้าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม มองเห็นสะพานปีกุน

ประวัติ

เป็นคลองขุดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรีซึ่งกินอาณาเขตเลยมาทางด้านฝั่งพระนคร โดยโปรดฯ ให้ขุดคูเมืองออกแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านเหนือที่ท่าช้างวังหน้า ด้านใต้ที่ปากคลองตลาด ดินจากการขุดคลองโปรดให้พูนขึ้นเป็นเชิงเทิน ตั้งค่ายไม้ทองหลางทั้งต้นตลองแนวคลองเพือป้องกันข้าศึก[1] เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โปรดให้ขุดคูเมืองใหม่เพื่อขยายอาณาเขตราชธานี คลองคูเมืองเดิมจึงกลายเป็นเส้นทางคมนาคมของราษฎร ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นคูเมืองอีกต่อไป[1]

ประชาชนเรียกชื่อคลองนี้ตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ปากคลองด้านเหนือผ่านโรงไหมหลวง เรียก "คลองโรงไหมหลวง" ปากคลองด้านใต้เป็นตลาดที่คึกคักทั้งบนบกและในน้ำ จึงเรียก "ปากคลองตลาด" ส่วนตอนกลางระหว่างคลองหลอดวัดราชนัดดา (คลองหลอดข้างวัดบุรณศิริมาตยาราม) กับคลองหลอดวัดราชบพิธ ได้มีประกาศของสุขาภิบาล ร.ศ. 127 ให้เรียกว่า "คลองหลอด" ซึ่งหมายถึงคลองที่อยู่ระหว่างคลองหลอดทั้งสอง แต่ภายหลังคนทั่วไปมักเรียกคลองนี้ตลอดสายว่า "คลองหลอด" ซึ่งผิดจากข้อเท็จจริง

เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี รัฐบาลจึงมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ให้เรียกชื่อคลองให้ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า "คลองคูเมืองเดิม"

ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยราชการในพระองค์ หน่วยราชการอื่น ๆ และประชาชนจิตอาสาร่วมกันทำความสะอาด พัฒนา และปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายต่าง ๆ รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมมีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาก รวมทั้งมีปัญหาคนเร่ร่อนและโสเภณีทำให้สภาพแลดูไม่เป็นระเบียบ[2] จึงมีการพัฒนาโดยมีการขุดลอกคลอง และผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าคลอง ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น ส่วนด้านภูมิทัศน์ได้มีการปรับปรุงทางเท้า ติดตั้งไฟส่องสว่าง[3] รวมทั้งตั้งพรรณไม้ใหญ่บางชนิดออกเพราะรากไม้นั้นจะทำลายแนวเขื่อน และทำการฟื้นฟูต้นขนุนซึ่งเป็นพรรณไม้ที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[4] ส่วนปัญหาคนเร่ร่อนได้ทำการช่วยเหลือนำส่งไปยังศูนย์คัดกรองช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส (บ้านอิ่มใจ)[5]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล (14 กุมภาพันธ์ 2545). "ประวัติคลองคูเมืองเดิม". สนุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "สภากทม.เร่งปูแผนจัดการ 'ขอทาน-คนไร้ที่พึ่ง-ค้าประเวณี' ย่านคลองหลอด". มติชน. 5 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ฟื้นคลองคูเมืองเดิม ฟื้นคืนเวนิสตะวันออก". บ้านเมือง. 4 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ตัด 'ต้นโพธิ์' ปลุก 'ต้นขนุน' ลุยฟื้นอัตลักษณ์คลองหลอด". เดลินิวส์. 20 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "จัดระเบียบ 'คลองหลอด'". ข่าวสด. 12 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′40″N 100°29′47″E / 13.744395°N 100.496417°E / 13.744395; 100.496417

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9